เรื่องที่ท้าทายอีกเรื่องหนึ่งของมนุษย์เราคงหนีไม่พ้นเกษตรกรรม การเกษตรนั้นถือเป็นต้นกำเนิดของหนึ่งในปัจจัยสี่ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์เลยทีเดียว แต่อย่างไรก็ตามขั้นตอนการผลิตพืชผลที่ดีนั้นไม่ได้ราบรื่นอย่างที่หลายคนคิด ทั้งด้วยปัจจัยของสภาพภูมิอากาศ, ภูมิประเทศและโรคภัยต่าง ๆ ล้วนเป็นเหตุในคุณภาพของพืชผลนั้น ๆ เช่นกัน
ด้วยเหตุนี้ การสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ จึงได้ถือกำเนิดขึ้นเพื่อลดข้อจำกัดด้านต่างๆ และพัฒนาการ ทำงานของเหล่าเกษตรกรให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ด้วยความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีได้อำนวยความสะดวกให้แก่เกษตรกรอย่างมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา อาทิ ระบบอินเตอร์เน็ต,โทรศัพท์มือถือ, การคมนาคมและระบบวิเคราะห์ข้อมูล ส่งผลให้การสื่อ สารระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย หรือบริษัทคู่ค้าเป็นไปอย่างราบรื่น ความเติบโตของตลาดและผลผลิตก็มีสูง
หนึ่งในเทคโนโลยีที่ถูกพูดถึงมากที่สุดคือ บล็อกเชน ด้วยศักยภาพที่แปลกใหม่ของเทคโนโลยี ส่งผลให้หลายอุตสาหกรรมที่นำไปประยุกต์ใช้เห็นถึงความก้าวหน้าและประสิทธิภาพในการทำงาน บล็อกเชนจึงถูกนำมาพัฒนาเกษตรกรรมในหลายประเทศด้วยกัน
หลักการทำงานของบล็อกเชน
บล็อกเชนเป็นเทคโนโลยีตัวนึงที่มีความน่าเชื่อถือของข้อมูลสูงมาก เมื่อข้อมูลถูกบันทึกไว้ในบล็อกของบล็อกเชนไปเรียบร้อยจะเป็นเรื่องยากที่จะเข้าไปเปลี่ยนแปลง หรือแม้กระทั่งเวลาที่ต้องการจะเพิ่มข้อมูลเข้าไป ทุกคนในเครือข่ายเองก็จะมีสำเนาของข้อมูลนั้นๆ ด้วย
รวมไปถึงในระบบบล็อกเชนผู้คนสามารถใช้ระบบ Algorithm เพื่อตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้น ซึ่งข้อมูลที่ถูกเพิ่มเข้าไปจะถูกยืนยันความถูกต้องหรือไม่ขึ้นอยู่กับคนอื่นๆ ในเครือข่ายตรวจสอบข้อมูลแล้วพบว่าประวัติการทำธุรกรรมนั้นถูกต้องทั้งหมดเท่านั้น
รวมไปถึง Feature ที่น่าสนใจอย่าง Smart contract หรือ “สัญญาอัจฉริยะ” ในระบบบล็อกเชนที่จะคอยตรวจเช็คเงื่อนไขต่างๆ ให้ตรงกับที่ตั้งค่าไว้ในระบบโดยอัตโนมัติตามที่ระบุไว้ใน Smart contract ซึ่งหากมีการนำ Feature ส่วนนี้มาปรับใช้กับอุตสาหกรรมการเกษตร จะสามารถช่วยลดต้นทุนด้านเวลาและการบริหารจัดการทรัพยากรไปได้ค่อนข้างมาก รวมไปถึงการพัฒนาระบบ supply chain ของอุตสาหกรรมเพื่อสร้างมาตรฐานและตรวขสอบคุณภาพของระบบได้อย่างละเอียด ตั้งแต่การเลือกเมล็ดพันธุ์ไปจนถึงการจ่ายเงินของลูกค้า
บล็อกเชนช่วยได้จริงหรือ?
หลายคนอาจจะเคยได้ยินว่าบล็อกเชนสามารถแสดงขั้นตอนการทำธุรกรรมการเงินได้อย่างโปร่งใส และความจริงแล้วบล็อกเชนสามารถจัดเก็บรายละเอียดได้ในเกือบทุกอุตสาหกรรม รวมไปถึงภาคเกษตรกรรมเองก็เป็นหนึ่งในนั้นเช่นกัน
โดยทั่วไปแล้วบล็อกเชนมักถูกนำมาพัฒนาในส่วนของระบบการขนส่ง เพราะสามารถอำนวยความสะดวกให้เป็นไปได้อย่างรวดเร็วและปลอดภัย เนื่องจากบริษัทสามารถตรวจสอบความผิดปกติหรือนำสินค้ากลับมาแก้ไขได้ผ่านข้อมูลที่ถูกบันทึกไว้ในระบบบล็อกเชนภายในไม่กี่ชัวโมง
นาย Frank Yiannas จากบริษัท Walmart เคยกล่าวว่า “การพัฒนาระบบติดตามหรือจัดเก็บข้อมูลช่วยย่น เวลาการขนส่งสินค้า จากแต่ก่อนที่อาจใช้เวลาเป็นอาทิตย์ในการนำสินค้าเสียกลับมาจากร้าน บล็อกเชน จะทำให้เรารู้ถึงข้อผิดพลาดและนำสินค้ากลับมาก่อนที่ลูกค้าจะบริโภคไป ”
นอกจากนี้ หลายบริษัทที่ทำการซื้อขายหรือลงทุนในสินค้าพืชผลมีความคิดเห็นว่า การที่พวกเขา ได้รู้รายละเอียดของสินค้า “อย่างละเอียด” ก่อนการซื้อขายน่าจะเป็นการดีในการตัดสินใจ โดยรายละเอียดข้อมูลเหล่านั้นควรมีการระบุปริมาณสารอาหารในพืชแต่ละผล, ลักษณะการเก็บเกี่ยวพืชและศักยภาพของพืชผลแต่ละไร่ว่าจะทำ, การคาดเดาล่วงหน้าถึงรายได้ได้มากน้อยเพียงใด สิ่งเหล่านี้ล้วนสามารถเพิ่มความน่าเชื่อถือให้แก่บริษัทที่เป็นผู้ผลิตและสร้างความ ไว้ใจให้กับผู้ลงทุนได้
รวมไปถึงการจัดสรรและเข้าถึงงบประมาณ ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่บล็อกเชนสามารถเข้ามาพัฒนาได้ เนื่องจากในปัจจุบัน เกษตรกรจำนวนหนึ่งไม่สามารถเข้าถึงธนาคารหรือกู้ยืมเงินจากนักลงทุนได้มากนัก เพราะขาดหลักฐานที่แสดงความน่าเชื่อถือและหลักฐานที่ชัดเจนของบริษัทตนในปีอดีตที่ผ่านๆ มา
ส่งผลให้เกษตรกรรายย่อยบางกลุ่มต้องกู้ยืมเงินนอกระบบและเป็นหนี้มหาศาล ยังไม่นับรวมจุดบอดของพวกเงินอุดหนุนจากรัฐบาล หรือหน่วยงานต่างๆ ที่ค่อนข้างขาดความโปร่งใสในการตรวจสอบ เช่น การจัดสรรงบประมาณจำนวน 4.9 พันล้านเหรียญแก่เกษตรกรในปี 2560 ที่ประเทศอินเดีย ที่ประชาชนภายนอกไม่สามารถรับรู้ได้เลยว่าเกษตรกรเหล่านั้นได้รับเงินจริงหรือไม่
แต่หากมีการนำระบบของบล็อคเชนมาปรับใช้เข้าเป็นส่วนหนึ่งของระบบเหล่านี้ พวกเขาสามารถตรวจสอบความโปร่งใสของเงินงบประมาณ รวมถึงสามารถกระจายข้อมูลที่ถูกต้องได้มากยิ่งขึ้น หรือจะพัฒนาและสร้าง Investment tokens เพื่อลงทุนหรือระดมทุนได้ในอนาคต
ยิ่งไปกว่านั้น บล็อกเชนยังสามารถแก้ปัญหาด้านธุรกรรมการเงินของบริษัทขนาดย่อมได้ โดยบริษัทแรกที่นำบล็อกเชนมาประยุกต์ใช้และได้รับการรับรองจาก UK Financial Conduct Authority เป็นที่เรียบร้อยแล้ว นั่นคือ BitPesa ซึ่งก่อตั้งโดย Elizabeth Rossiello โดยพนักงานของบริษัทสามารถไ้ด้รับเงินเดือนภายในหนึ่งวันไม่ว่าจะเป็นการโอนเงินในต่างประเทศหรือในประเทศก็ตาม นอกจากนี้บริษัทยังรับเงินลูกค้าท้องถิ่นได้ถึงเจ็ดสกุลในประเทศแอฟริกาจากได้ รวมถึง BitPesa ยังสามารถชาร์จเงินค่าธรรมเนียมจากธุรกรรมแบบปกติ ซึ่งช่วยเพิ่มกำไรสำหรับเกษตรกรและทุกคนที่เกี่ยวข้อง
อีกหนึ่งความท้าทายสำหรับอุตสาหกรรมเกษตรกรรมคือการหาวัตถุดิบที่มีคุณภาพในปริมาณที่ เหมาะสม เกษตรกรไม่สามารถรู้ได้อย่างแน่ชัดว่าใครคือลูกค้ารายใหญ่หรือสินค้าประเภทใดที่ลูกค้ามองหาอยู่
โดยปกติแล้วคนกลางมักเป็นคนที่ควบคุมเปอร์เซ็นของกำไร แต่หลังจากที่ตลาดดิจิทัลได้ถือ กำเนิดขึ้น ผู้ซื้อผู้ขายและนักลงทุนสามารถติดต่อและเลือกสินค้ากันได้โดยตรง ตัวอย่างเช่น บริษัทผลิตไวน์อย่าง VinX ที่สามารถรับเงินทุนได้โดยตรงจากลูกค้าและลดความซับซ้อนจากการคำนวน เงินทุนและรายได้
เกษตรกรรมในยุค 4.0
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าแนวคิดการนำ Blockchain มาใช้จัดการข้อมูลในอุตสาหกรรมอาหารช่วยลด ความยุ่งเหยิงได้จริง แต่การใช้ระบบใหม่จำเป็นที่จะต้องศึกษากันทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค เพื่อที่จะไม่โดน ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเอาเปรียบและมีการเปิดเผยข้อมูลสู่สาธารณะชนได้
Blockchain ไม่ได้เป็นเพียงเทคโนโลยีเดียวเท่านั้นที่เปลี่ยนแปลงวิธีการดำเนินการ ของสิ่งต่าง ๆ เมื่อพูดถึงข้อมูลห่วงโซ่อุปทานทางการเกษตร สิ่งที่ทำให้หลายโครงการมีความ โดดเด่นคือการรวมบล็อกเชนเข้ากับเทคโนโลยีอื่น ๆ เพื่อลบโอกาสความผิดพลาดของมนุษย์
ผู้คนมากมายมีความพร้อมอย่างมากต่อความก้าวหน้าที่จะเกิดขึ้นดดยบล็อกเชนนี้ นักวิจารณ์ยืนยัน ว่าการใช้บล็อกเชนติดตามขั้นตอนการผลิตและเป็นส่วนหนึ่งในเกษตรกรรมจะช่วยลดความเสี่ยง ต่อสารเคมีต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับพืชผักและผู้บริโภคได้
เขียนโดย จิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา
Expertise: Blockchain & FinTech
อ่านบทความ Exclusive เพิ่มเติมได้ที่นี่