การใช้งานจิตวิทยาช่วยบริษัท Apple อย่างไร

  • 292
  •  
  •  
  •  
  •  

 

ในปี 1977 Apple นั้นจะล้มละลายใน 90 วัน แต่ Steve Jobs นั้นสามารถช่วยบริษัทเอาไว้ได้ ด้วยการใช้จิตวิทยา และเป็นการพิสูจน์ว่า Steve Jobs เป็นผู้เชี่ยวชาญที่เข้าใจจิตวิทยาผู้บริโภคตัวจริงขึ้นมา โดย Steve Jobs นั้นถูกไล่ออกตั้งแต่ปี 1985 โดยบอร์ดบริหารของ Apple และกลับมาเป็น CEO ในปี 1997 ในช่วงเวลา 12 ปี ที่ถูกไล่ออกนั้น Steve Jobs ก่อตั้งและดูแลบริษัทอย่าง Pixar และ NeXT และเชื่อว่าวันหนึ่งตัวเองจะกลับไปอยู่ Apple เหมือนเดิม

และเมื่อวันนั้นมาถึง Steve Jobs ต้องกลับมากู้วิกฤตบริษัท สิ่งที่เขาทำเป็นสิ่งแรกคือคุยกับ หัวทีม Product เพื่อทำความเข้าใจว่า Apple นั้นกำลังขายอะไรอยู่ สิ่งที่ Steve Jobs เจอนั้นคือความเละเทะของการวาง Positioning ของการขายสินค้าและสินค้าที่ทำขาย เพราะมีสินค้าที่มากเกินไป และขายกับกลุ่มเป้าหมายที่มากเกินไป โดยนั้นยุคนั้น Apple มีสินค้าคอมพิวเตอร์มากกว่า 12 แบบ ที่จะจับกลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ และเอาใจร้านขายคอมพิวเตอร์

 

 

โดยการมีสินค้ายิ่งมีตัวเลือกให้เลือกเยอะ ก็จะทำให้กลุ่มผู้บริโภคจะไม่เลือกเลย ซึ่งหลังจาก Steve Jobs ค้นพบเรื่องนี้ได้สั่งให้หยุดการผลิตผลิตภัณฑ์ในตอนนั้น และเขียนตาราง 4 ช่องขึ้นมา และเอาสินค้าใส่ช่องอย่างละสินค้าละชิ้นเท่านั้น ซึ่งทำให้มี 4 สินค้าเท่านั้น แถวแรกเป็น Desktop จะมี 2 ช่อง ช่องสินค้า consumer Steve Jobs ใส่ iMac ช่องสินค้า Pro Steve Jobs ใส่Power Mac ในแถวที่ 2 เป็น Portable ช่องสินค้า consumer Steve Jobs ใส่ iBook ช่องสินค้า Pro Steve Jobs ใส่ Powerbook สิ่งที่ Steve Jobs ทำ คือการเปลี่ยนแปลงการทำงานของ Apple ในการผลิตสินค้าให้มีความเรียบง่ายขึ้นมา

หลังจากการเปลี่ยนแปลงนี้ ทำให้บริษัท Apple จากการขาดทุนเป็นพัน ๆ ล้านดอลลาร์ กลายมามีกำไรทันที 309 ล้านดอลลาร์ภายมใน 2 ปี ซึ่งนี้คือจิตวิทยาในเรื่องความเรียบง่ายที่ Steve Jobs นำมาใช้กับ Apple

 

Power of Simplicity

ในทฤษฏีของ Simplicity ระบุว่า ผู้บริโภคนั้นมีความต้องการที่จะได้รับประสบการณ์ที่เรียบง่ายมากกว่า และมักเลือกการตลาดหรือสินค้าที่ทำให้ตัดสินใจน้อย คิดน้อยที่สุดออกมาก (minimize cognitive load) ซึ่งเป็นกระบวนการที่สมองไม่อยากได้ข้อมูลเยอะ ๆ ในการตัดสินใจ เลยชอบอะไรที่สามารถเข้าใจได้ทันทีโดยไม่ต้องรับข้อมูล โดยกระบวนการสร้างประสบการณ์แบบเรียบง่ายนี้มีผลกับธุรกิจต่าง ๆ เป็นอย่างมาก มีการสร้างมาตรฐานว่าที่เรียกว่า Simplicity Index โดย Siegel+Gale โดยวัดว่าแบรนด์ไหนที่มีความเรียบง่ายมากที่สุดออกมา โดยแบ่งดัชนี้ออกมา 3 แบบ คือ ความเรียบง่ายที่ทำให้เกิดความรักในสินค้า, ความเรียบง่ายที่ทำให้บริษัทโต และความเรียบง่ายที่ทำให้ยอดขายโต

ความเรียบง่ายต่าง ๆ ทำให้สามารถสร้างโฆษณาหรือการสื่อสารทางการตลาดที่น่าสนใจออกมาได้ ไม่ว่าจะเป็น Ads ของ McDonald ที่ทำให้คนบอกเห็นและสามารถเข้าใจได้ทันที และผูกกับแบรนด์ได้ทันที ทำให้ไม่ต้องคิดเยอะ และจำจดภาพลักษณ์ได้เลย และด้วยความเรียบง่ายของโฆษณา ทำให้กลุ่มเป้าหมาย รู้ว่าต้องโฟกัสหรือสนใจอะไรในโฆษณาอีกด้วย

ด้วยการที่ Steve Jobs เปลี่ยนแปลงการทำงานของทีมในปี 1997 นอกจากจะช่วยให้ผู้บริโภคตัดสินใจได้ง่ายขึ้นแล้วในการทำงาน สิ่งที่ Steve Jobs ทำยังส่งผลต่อทีมทำงานอีกด้วย เพราะทำให้ทีมที่ทำงานนั้นรู้ว่าจะต้องโฟกัสการทำงานกับสินค้าอะไรและมีสินค้าแค่ไม่กี่แบบในการโฟกัส ทำให้ประหยัดเงินในการทำการตลาดเพราะไม่ต้องโปรโมทสินค้าที่หลากหลาย และโฟกัสในการสื่อสารที่เฉพาะในแต่ละกลุ่มความต้องการได้เลย และทำให้จ้างคนหรือลดต้นทุนต่าง ๆ ได้ด้วย

ซึ่งในหลักการนี้ก็เห็นได้จากสายการบิน Emirates ที่มีเครื่องบิน 2 รุ่น ทำให้เกิดการลดต้นทุนในการที่จะมีอะไหล่ในการซ่อมเพราะไม่ต้องสำรองอะไหล่สำหรับเครื่องบินที่หลากหลายรุ่น และการฝึกอบรบนักบินกับทีมงานก็ง่ายเพราะมีเครื่องบินแค่ 2 รุ่นในการเรียนอีกด้วย

ด้วยการใช้ความเรียบง่ายนี้นักการตลาดลองหันกลับมาดูธุรกิจตัวเองก็ได้ว่า มีความซับซ้อนเกินไปในการสื่อสาร หรือความเข้าใจหรือไม่ ถ้ายากไป ลองปรับให้เรียบง่ายลง เพื่อที่จะสร้างลูกค้าให้มากขึ้นได้


  • 292
  •  
  •  
  •  
  •  
Molek
Head of Strategic Marketing ใน Integrated Service Agency ที่หนึ่ง ผู้หลงใหลในหลาย ๆ ที่มีความอยากรู้และเรียนรู้ในเรื่อง Startup, นวัตกรรม, การตลาด จากมุมมองหลาย ๆ ด้านและวัฒนธรรมของแบรนด์ต่าง ๆ