ในบรรดาร้านค้าปลีกในต่างประเทศที่มีการแข่งขันอย่างมาก มีร้านค้าปลีกหนึ่งที่มีอัตราการโตอย่างรวดเร็วอย่างมากทั้งในสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ โดยมีกว่า 2,200 สาขาในสหรัฐอเมริกา และโตกว่า 100 สาขาเพิ่มขึ้นในปีละปี ทำให้เข้าใกล้ในการเขย่าบัลลังค์ของร้านค้าปลีกที่เป็นเจ้าตลาดที่สหรัฐอเมริกา ไม่ว่าจะเป็น Walmart หรือ Costco นั้นคือร้าน AldI ที่เป็นร้านค้าปลีกจากประเทศเยอรมันนี ที่ขายสินค้าราคาถูกที่ครองตลาดในฝั่งยุโรปในตอนนี้
ร้านค้าปลีก Aldi นั้นมีการรีวิวประสบการณ์การซื้อที่ไม่เหมือนใคร ซึ่งแบรนด์ร้านค้าปลีกอาจจะอยู่ไม่รอดจากการสร้างประสบการณ์แบบนี้ ไม่ว่าจะเป็น ขายสินค้าแบรนด์ตัวเองที่ดูคล้ายกับแบรนด์เจ้าตลาด หรือชั้นวางสินค้าที่วางสินค้าที่อยู่ในกล่องลูกฟูกไปเลย แม้ว่า Aldi จะนำเสนอและขายสินค้าแบบนี้ แต่ก็ได้รับความนิยมและผู้บริโภคต่างชอบอย่างมากในการซื้อ ซึ่งเหตุผลที่ทำให้ร้าน Aldi นั้นได้รับความนิยมนั้นก็คือ การใช้จิตวิทยาและพฤติกรรมศาสตร์ในการจับจิตวิทยาของผู้บริโภคขึ้นมา
แน่นอนการขายสินค้าราคาถูกอย่างมาก หรือสินค้าลดราคาทำให้เข้าไปจับจิตวิทยาผู้บริโภคให้สนใจสินค้าที่ซื้อได้ โดยไม่ต้องเปรียบเทียบกับคุณภาพที่ได้รับ แต่นอกจากนี้ยังมีเหตุผลอื่น ๆ ทางจิตวิทยาอีกมากมายคือ
1. Simplicity : สิ่งที่ Aldi นำเสนอนั้นคือความเรียบง่ายอย่างมาก ซึ่งนับว่าเป็นหลักการทางจิตวิทยาที่มีผลมากที่สุดที่ Aldu ใช้ โดยหลักการของทฤษฏี Simplicity บอกคือ ผู้บริโภคนั้นอยากได้ประสบการณ์ที่เรียบง่ายอย่างมากโดยมีการวัดจากบริษัท Siegel+Gale พบว่าบริษัทที่นำเสนอเรื่องความง่ายนั้น มักจะมีผลประกอบการที่ดีกว่าบริษัทโดยทั่วไป 686% ซึ่ง Aldi นำเสนอความเรียบง่ายผ่าน
1.1 ราคาตรงไปมา : โดยเป็นราคาที่นำเสนอว่า ราคาที่คุณเห็นคือราคาที่ซื้อ ซึ่ง Aldi ไม่มี reward cards, loyalty programs หรือคูปองลดราคา ทำให้ผู้บริโภคไม่ต้องมานั่งคิดราคาไปมาเพื่อที่จะซื้อในการเอาสินค้าลดราคา
1.2 ไม่ต้องเลือกแบรนด์ : ในห้างทั่วไปแบรนด์ใหญ่จะต้องสู้กันเองในการแย่งชิงพื้นที่ที่ดีที่สุดในการขายออกมา แต่ Aldi นั้นเหมือน Trader Joes ที่ในร้านส่วนใหญ่นั้นขายแต่สินค้าของตัวเองออกมา ทำให้ผู้บริโภคไม่ต้องคิดมากในการเลือกแบรนด์หรือเปรียบเทียบสินค้าแต่ละแบรนด์เข้าด้วย ซึ่งแบรนด์ที่ขายใน Aldi คือ House Brand ของ Aldi เอง แต่ผลิตโดยแบรนด์ชื่อดังทำให้ Aldi สามารถคุมราคาขายได้ดีมาก และมีค่าทางการตลาดนั้นถูกกว่าอย่างมาก
1.3 ร้านเปลื่อยทำให้คนไม่คิดมาก : ปกติห้างต่างๆ จะต้องมีการจัดวางสินค้าและตกแต่งชั้นสินค้า แต่ที่ Aldi นั้นสินค้ายังอยู่ในลังลูกฟู ให้หยิบสินค้าออกจากลังลูกฟูกเอง โดยไม่มีการวางเรียงให้สวยงามในชั้นใหม่ ไม่มีการวางสินค้าโปรโมชั่นตรงกลาง หรือวางสินค้ามีดีลตอนท้ายของแต่ละโซน และที่สำคัญมีตัวเลือกที่จำกัดและมีปริมาณที่จำกัด ทำให้ประสบการณ์ที่ไม่เหมือนห้างไหนทำให้คนไม่ต้องมาคิดมาก และสามารถเลือกสินค้าที่จะซื้อได้ง่ายมากขึ้นทันทีโดยไม่มี cognitive load
1.4 cognitive load ต่ำ : ด้วยที่ไม่ต้องตัดสินใจเยอะ ทำให้สมองไม่ต้องทำงานเยอะในการตีความ คำนวน และทำให้การตัดสินใจได้อย่างง่ายดายทันที เพราะการคิดเยอะทำให้ซื้อยากขึ้น
2. ทำตัวเลือกให้ง่าย : ในร้านอื่น ๆ จะมีพื้นที่เท่านั้นที่ขายดีกว่าพื้นที่อื่น แต่ที่ Aldi ยอดขายของ Aldi ต่อพื้นที่นั้นขายดีกว่าคู่แข่งอย่างมาก เพราะด้วยการทำ สินค้าที่มีตัวเลือกที่ง่าย ทำให้สินค้านั้นขายง่ายอย่างมาก เพราะตัวเลือกนั้นน้อยมาก เช่นในห้างอื่น มุมสลัดนั้นจะมีน้ำสลัดกว่า 300 แบบ แต่ที่ Aldi มีแค่ 20 แบบเท่านั้น ทำให้ไม่ต้องเลือกมาก หรือจำนวนสินค้า SKU ใน Aldi มีแค่ 1650 SKUs เมื่อเทียบกับแบรนด์คู่แข่งที่ค้าปลีกที่มีมากกว่า 30,000 SKUs ที่ทำให้คนเสียเวลาในการเลือกจนไม่เลือกอะไรเลย
3. ทำให้ขาดแคลน : สิ่งหนึ่งที่ Aldi ทำให้คนต้องการสินค้าอย่างตลอดเวลานั้นคือการสร้างความรู้สึกว่า สินค้านั้นมีความต้องการอยู่ตลอดเวลาหรือทำให้คนต้องมาเอาสินค้านี้ที่ Aldi เท่านั้น ตัวอย่างคือ นม ด้วยชาวตะวันตกดื่มนมเป็นประจำและซื้อนมเป็นประจำ ทำให้ Aldi เรียกนมว่า Loss Leader คือเป็นสินค้าที่ยอมขายขาดทุน เพื่อเรียกลูกค้าเข้าร้าน เพราะไม่ว่าอย่างไร ผู้บริโภคจะหาซื้อนมที่ถูกที่สุด และมาที่ Aldi เพื่อซื้อนมเท่านั้น นอกจากนี้ยังทำให้ดูขาดแคลนโดยการจำกัดจำนวนการซื้อไว้ด้วยทำให้ผู้คนคิดว่านมนั้นขาดแคลนและอาจจะซื้อยากในราคานี้ ทำให้การจำกัดจำนวนการซื้อไม่ว่าที่ตัวเลขอะไรก็ตาม จะทำให้ผู้บริโภคซื้อสินค้าที่จำนวนมากทีสุดที่จะซื้อได้ทันที