รู้จัก 5 Framework ช่วยแก้ปัญหาทางธุรกิจได้ดีเพิ่มมากขึ้น

  • 2
  •  
  •  
  •  
  •  

 

การทำธุรกิจนั้นนั้นต้องเผชิญปัญหามากมายในการทำงาน และมีปัญหามากมายที่ต้องวางแผน แก้ไข และปรับปรุงกระบวนการทำธุรกิจที่ดี จำเป็นต้องมีเครื่องมือในการช่วยคิดและช่วยทำงาน เพื่อจัดระเบียบความคิดต่าง ๆ และทำให้ปัญหาทางธุรกิจนั้นชัดเจนมากขึ้น จนสามารถวางแผนการแก้ปัญหาได้ ซึ่งเครื่องมือที่จะช่วยแก้ปัญหานี้ได้ บริษัทที่ปรึกษาต่างๆ ได้ออกแบบสิ่งที่เรียกว่า analytical framework ขึ้นมาในหลากหลายรูปแบบ เพื่อที่จะช่วยทำให้เข้าใจปัญหาทางธุรกิจและออกแบบวิธีการแก้ไขทางธุรกิจได้

analytical framework ถูกสร้างมาขึ้นเพื่อย่อยปัญหาต่าง ๆ ทางธุรกิจขึ้นมา โดยปัญหาทางธุรกิจส่วนใหญ่จะมีความคล้ายกันอย่างมาก และสามารถใช้แนวคิดของ analytical framework ในการจัดการได้ขึ้นมา ด้วยการใช้ analytical framework นี้สามารถช่วยย่นระยะเวลาในการตีความปัญหาต่าง ๆ ขึ้นมาและย่นระยะเวลาในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้ดีขึ้นมากขึ้น ซึ่งในปัจจุบันมี 5 analytical framework ที่นิยมใช้งานกันได้แก่

 

 

PEST Analysis : เป็นการวิเคราะห์ว่าจะมีเทรนด์ในอนาคตที่สำคัญ ๆ ที่จะมากระทบกับการทำธุรกิจได้ไหม โดย PEST Analysis จะแบ่งปัจจัยภาพนอกใหญ่ ๆ ที่จะมีผลต่อธุรกิจออกมาเป็น 4 แบบได้แก่

1. Political ว่าการเมืองจะมีผลต่อการทำธุรกิจมากน้อยแค่ไหน ไม่ว่าเชิงภาษี กฏหมายและนโยบาย

2. Economic ว่าผลทางเศรษฐกิจจะมีผลต่อธุรกิจมากน้อยแค่ไหน เช่น เงินเฟ้อ ดอกเบี้ย และอื่น ๆ

3. Social ว่าสังคมมีผลต่อธุรกิจไหม เช่น การเปลี่ยนแปลงทางสังคม ไลฟ์สไตล์ การศึกษา แนวคิด

4. Technology ว่ามีเทคโนโลยีที่จะมีผลต่อการทำธุรกิจหรือมีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมหรือไม่

 

 

Costs vs Benefits Analysis : เป็นการวิเคราะห์ว่า เราควรจะทำหรือไม่ทำธุรกิจกันแน่ โดยเป็นเครื่องมือที่ตรงไปตรงมาว่า ถ้าผลประโยชน์ดีกว่าต้นทุน ก็ตัดสินใจทำ และสามารถเพิ่มปัจจัยในการตัดสินใจเข้าไปได้ตามความต้องการอีกด้วย เช่น ผลประโยชน์อาจจะแบ่งเป็น ด้านการเงิน กับด้านอื่น ๆ หรือถ้า Cost ก็แบ่งแบบเดียวกันได้เช่นกัน และเทียบกันว่าอันไหนคุ้มค่ากว่ากัน

 

 

6 Forces Model : เป็นเครื่องมือที่มาช่วยเข้าใจว่า อะไรที่เป็นอุปสรรค หรือคู่แข่งของคุณและคุณจะจัดการอย่างไรได้โดยสามารถใช้ 6 Forces Model ในการมาทำการประเมิน ตำแหน่งทางธุรกิจของคุณ โดยอิงจากการมีอิทธิพลของปัจจัยนั้น ๆ ที่มีต่อความเสี่ยงของทางธุรกิจคุณ โดยแบ่งได้เป็น

1. Power of buyers คือพลังของผู้ซื้อว่ามีอิทธิพลต่อทางธุรกิจมากแค่ไหน เช่นต่อรองการลดราคา

2. Power of suppliers คือพลังของผู้ส่งวัตถุดิบ ว่ามีผลต่อเรื่องราคา ระยะเวลาการผลิต มากแต่ไหน

3. New entrants คือผู้เล่นหน้าใหม่ที่จะเข้ามา ว่ามีคู่แข่งรายใหม่ที่จะเป็นคู่แข่งคุณได้ไหม

4. Risk of substitutes คือความเสี่ยงที่จะถูกทดแทน ว่าคุณมีสินค้าและบริการที่จะมาแทนที่คุณได้ไหม

5. Competition คือมีผู้เล่นรายอื่น ๆ ในตลาดที่เป็นคู่แข่งขันคุณที่ลูกค้าพร้อมจะเลือกไหม

6. Complimentary products คือจุดเด่นของผลิตภัณฑ์และบริการของธุรกิจของคุณ

 

McKinsey 7S : เป็นเครื่องมือที่มาช่วยเช็คว่าจะมีอุปสรรคมากน้อยแค่ไหน และตรงกับธุรกิจไหม โดย

1. Strategy: สินค้าที่ขายคืออะไร ราคาเป็นอย่างไร ใครคือผู้ซื้อและช่องทางการตลาดคือช่องทางไหน

2. Structure : องค์กรมีโครงสร้างอย่างไร เรามีทีมงานอย่างไร

3. Systems : มีเครื่องมืออะไรในการใช้งานภายใน

4. Shared Values : อะไรคือ core principle และวัฒนธรรมองค์กรของธุรกิจ

5. Staff: ต้องมีพนักงานแบบไหนเพื่อให้สำเร็จ

6. Skills : ต้องมีทักษะและความรู้อะไรบ้าง

7. Style : มีวิธีบริการและจัดการองค์กรอย่างไร

ในธุรกิจที่สำเร็จ ทั้ง 7 ข้อนี้ต้องไปในแนวทางเดียวกัน

 

 

SWOT Analysis เป็นการวิเคราะห์สถานการณ์ในปัจจุบันของธุรกิจว่าเป็นอย่างไรบ้าง ซึ่งหลายธุรกิจใช้กันเป็นประจำอยู่แล้วโดยแบ่งเป็น

Strength กับ Weakness ว่ามีจุดแข่งและจุดอ่อนทางธุรกิจหรือการตลาดอย่างไร

Opportunity และ Threat ว่ามีโอกาสทางธุรกิจและการตลาดอยู่ที่ไหน และมีอุปสรรคหรือภัยคุกคามต่อธุรกิจอย่างไรบ้างขึ้นมา


  • 2
  •  
  •  
  •  
  •  
Molek
Head of Strategic Marketing ใน Integrated Service Agency ที่หนึ่ง ผู้หลงใหลในหลาย ๆ ที่มีความอยากรู้และเรียนรู้ในเรื่อง Startup, นวัตกรรม, การตลาด จากมุมมองหลาย ๆ ด้านและวัฒนธรรมของแบรนด์ต่าง ๆ