5 โมเดลธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงโลก

  • 42
  •  
  •  
  •  
  •  

อย่างที่เราทราบดี โลกของธุรกิจในปัจจุบัน ได้พัฒนาไปไกลและมีความ ซับซ้อนมากขึ้น การดำเนินธุรกิจมีหลากหลายรูปแบบไม่จำกัด โมเดลธุรกิจใหม่ๆ ได้รับการพัฒนาขึ้นอยู่เสมอ เราลองมาดูโมเดลธุรกิจที่น่าสนใจ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการพัฒนาธุรกิจในก้าวทันกับโลกยุคนนี้กัน

 

  1. Asymmetric business models

 

โมเดลธุรกิจประเภท Asymmetric นี้ เป็นธุรกิจที่องค์กรไม่ได้ทำเงินกับผู้ใช้บริการโดยตรง แต่สร้างรายได้จากการนำข้อมูลที่เก็บได้จาก user มาผนวกกับเทคโนโลยี เพื่อนำข้อมูลนั้นมาใช้ให้เป็นประโยชน์

องค์กรที่ทำเงินมากที่สุดจากวิธีนี้ คือ 2 องค์กรที่เรียกได้ว่าเป็นที่รู้จักดีที่สุดในโลก อย่าง Google และ Facebook นั่นเอง ทั้งคู่สร้างรายได้มหาศาล จากการนำข้อมูลของผู้บริโภค มาใช้เพื่อการขายโฆษณาให้กับธุรกิจอื่นๆ

Google และ Facebook มีข้อมูลผู้บริโภคอยู่ในมืออย่างไม่จำกัด ซึ่งมาจากการ offer online products อย่าง Google search engine ที่ให้ผู้บริโภคนับพันๆ ล้านคนทั่วโลก ได้ใช้อย่างฟรีๆ และในขณะเดียวกัน ก็ทำเงินจากการขายข้อมูลของ user นั้นๆ

ทั้ง 2 บริการนี้ user ทั่วโลกต่าง rely on มาก จนเลือกที่จะมองข้ามการที่ข้อมูลของตนเองนั้นถูกเก็บและนำไป monetize เพื่อผลประโยชน์ทางธุรกิจขององค์กร

 

Key Learning สำหรับโมเดลนี้:

  • มีการเก็บข้อมูลแบบมหาศาลได้จริง โดยสร้างประสบการณ์และคุณค่าอื่นๆให้ Users เพื่อแลกกันกับข้อมูลเหล่านี้ ดังนั้นการสร้างคุณค่าและประสบการณ์ คือเรื่องใหญ่ ก่อนที่ได้จะข้อมูลมาจริง (ใครทำ innovation อย่าคิดแค่เก็บข้อมูล แต่ให้คิดก่อน ว่ามีอะไรจะให้ users มาแลกกัน)
  • ข้อมูลเหล่านี้ต้องที่มีประโยชน์กับกลุ่มเป้าหมายอีกกลุ่ม มากพอที่เขาจะยอมจ่ายได้

 

  1. Blockchain-based business models

เมื่อพูดคำว่า blockchain เราอาจจะนึกถึง Bitcoin ในฐานะสกุลเงินที่ใช้ระบบ blockchain ในการดำเนินการ แต่จริงๆ แล้ว ในโลกยังมีธุรกิจอีกมากมาย ที่ใช้เทคโนโลยี blockchain มาเป็นแกนหลักในการดำเนินธุรกิจ

ด้วยระบบ blockchain องค์กรต่างๆ สามารถเปลี่ยนการดำเนินงานทางธุรกิจให้เป็นแบบ decentralized มากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ระบบการทำงานเปลี่ยนไป เช่นเปลี่ยนรูปแบบของการทำธุรกรรม หรือการเข้าถึงข้อมูลของ user

ธุรกิจดนตรี เป็น 1 ธุรกิจที่ในอดีต ศิลปินต่างพบกับ common pain คือการต้องออกอัลบั้มผ่านค่ายเพลงยักษ์ใหญ่ ทำให้พวกเขาต้องตกอยู่ภายใต้อำนาจของบริษัทเหล่านี้ และพบกับความวุ่นวายในเรื่องการจัดสรรรายได้ ลิขสิทธิ์เพลง และอื่นๆ

การมาของเทคโนโลยี Blockchain สามารถช่วยปิดจุดบอดต่างๆ เหล่านี้ได้ โดยการตัด หรือลดความสำคัญของตัวกลางอย่างค่ายเพลงออก และให้ศิลปินได้สื่อสารกับผู้บริโภคโดยตรง

แพลตฟอร์มอย่างเช่น Mycelia ได้นำข้อได้เปรียบของเทคโนโลยีใหม่นี้ มาสร้าง music ecosystem ที่เปลี่ยนรูปแบบของวงการเพลงไปจากเดิม โดยที่ศิลปินสามารถอัพโหลดผลงานเพลงเข้าสู่ platform ได้โดยตรง และผู้บริโภคสามารถเลือกซื้อเพลง และชำระเงินตรงไปที่ศิลปินเจ้าของผลงานได้เลย

 

Key Learning สำหรับโมเดลนี้:

  • ต้องการเชื่อมต่อกับคนมหาศาลแบบไม่ต้องผ่านตัวกลาง
  • มีการเชื่อมต่อและติดตาม user ต่างๆได้ ปิดจุดบอดด้านลิขสิทธิ์

 

  1. Freemium model

Freemium คือรูปแบบการให้บริการที่องค์กรเสนอแก่ลูกค้า โดยแบ่งเป็น 2 ระดับ คือ free และ premium

ในระดับของ free นั้น ลูกค้าจะมีโอกาสได้ทดลองใช้ผลิตภัณฑ์อย่างเต็มที่ โดยไม่มีข้อจำกัดด้านเวลาการใช้งาน เพียงแต่อาจจะมี feature การใช้งานบางอย่างที่ถูกตัดออกไป ซึ่งถ้าจะใช้งาน feature เหล่านี้ ลูกค้าจะต้อง upgrade เป็นแบบ premium แทน

ซึ่งโมเดลแบบนี้ ทำให้ทุกฝ่ายต่าง win-win กันทั้งนั้น ลูกค้าได้ใช้งานฟรี หรือคนที่ต้องการ ก็มีให้เลือกอัพเกรดให้ถึงระดับที่ตัวเองอยากใช้

ฝั่งองค์กร ก็ได้ผลตอบแทน จากผู้ที่ใช้งานฟรี = ได้ spread the brand from free publicity และสร้าง lead จากการเข้าถึงลูกค้าเยอะๆ หรือได้ revenue จาก premium

 

Spotify

 

เป็น 1 ตัวอย่างของธุรกิจแบบ freemium ที่ใกล้ตัวพวกเราทุกคน ด้วยการเสนอบริการ music streaming ที่รวบรวมเพลงไว้นับล้านเพลง Spotify จึงมีผู้ใช้บริการมากถึง 200 กว่าล้านคน และตัวเลขนี้กำลังขยายมากขึ้นในทุกๆ ปี ในจำนวน 200 กว่าล้านคนนี้ มีถึง 100 ล้านคน ที่เป็น paid user คิดเป็นอัตรา conversion ที่สูงถึง 46% เลยทีเดียว ทำให้ Spotify สร้าง revenue อย่างมหาศาลในแต่ละปี

 

Key Learning สำหรับโมเดลนี้:

  • เหมาะกับสินค้าและบริการที่ต้องมีประสบการณ์ก่อน ผู้บริโภคจะได้เข้าใจว่าสิ่งนี้คืออะไร และ ติดใจอยากใช้จริงในที่สุด (ถ้าไม่ลองใช้จะจินตนาการคุณค่าไม่ออก)
  • ดังนั้นเทคนิคนี้ จึงเหมาะกับการให้ทดลองใช้ฟรีใน Functions ที่เป็นจุดขาย ดึงดูดลูกค้า แต่จำกัดปริมาณการใช้งานไว้ เพื่อให้สมัคร จึงสำคัญมากที่ Freemium ในตอนแรกต้องสร้างประสบการณ์ที่ดีจริง ให้มากพอให้ไปต่อเพื่อสมัครแบบจ่ายเงินได้

 

  1. Peer-to-peer business model

โมเดลธุรกิจแบบ peer-to-peer นั้น มีหลักการก็คือเป็นการซื้อขายระหว่างคน 2 คน โดยทั่วไป จะหมายถึงการซื้อขายแบบผู้บริโภคถึงผู้บริโภค (C2C) และโดยส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นโดยมี platform เป็นตัวกลางเพื่อให้ผู้บริโภคทั้งสองฝ่าย ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายได้มาเจอกัน

Platform ประเภทนี้มีวิธีการทำเงินได้หลากหลาย เช่นค่าคอมมิชชั่นจากการขาย ค่าการวางสินค้า ค่าโฆษณา เป็นต้น ธุรกิจที่ใช้โมเดลประเภทนี้เราต่างคุ้นเคยกันดี และอาจจะใช้อยู่ทุกวัน เช่น Shopee, Lazada หรือ Grab เป็นต้น

Etsy ก็เป็นอีก 1 peer-to-peer platform ที่น่าสนใจ เพราะถึงแม้จะเป็น marketplace เหมือนกับอีกหลายๆ platform แต่ Etsy นำเสนอความ unique คือ เป็น platform ที่เน้นผลงานด้าน arts & crafts โดยให้ศิลปิน และผู้ซื้อที่นิยมชมชอบในศิลปะ ได้มาเจอกัน และแลกเปลี่ยนซื้อขายผลงานกัน

 

Key Learning สำหรับโมเดลนี้:

  • ตัวกลางแบบเดิมๆที่ไม่ได้สร้างคุณค่าใหม่ใน value chain จะอยู่ไม่ได้ในโลกปัจจุบัน
  • อย่างไรก็ตาม การทำโมเดลนี้ ต้องแก้ pain point แบบเดิมๆได้จริงก่อน และให้คุณค่าใหม่ใน platform เพราะต่อให้เป็นเทคโนโลยีหรือแพลตฟอร์มใหม่ แต่ไม่ได้คุณค่าอะไรในมุม users อันนี้ก็ไม่ประสบความสำเร็จในตลาด

 

  1. The crowd economy

The crowd economy คือระบบ ecosystem ที่กลุ่มคนที่มีความสนใจเดียวกัน มา participate กัน เพื่อจุดประสงค์ในการแสวงหาผลประโยชน์ร่วมกัน

ซึ่งรูปแบบ business model นี้ ได้เปลี่ยนแปลงโลกของธุรกิจ และทำให้องค์กรสามารถเติบโตขึ้นได้อย่างรวดเร็ว

ตัวอย่างง่ายๆ ที่ใกล้ตัว เช่น AirBnB ซึ่งในปัจจุบันได้กลายเป็น เครือข่ายโรงแรมที่ใหญ่ที่สุดในโลก ทั้งๆ ที่ AirBnB ไม่มีห้องของตัวเองแม้แต่ห้องเดียว แต่ AirBnB ได้ใช้ “asset” ของกลุ่มคนทั้งโลก จนในปัจจุบัน AirBnB มีห้องพักมากกว่า 7 ล้านห้อง มากกว่าที่โรงแรมไหนๆ เคยมีมาก่อน

 

Key Learning สำหรับโมเดลนี้:

  • จงมองหา Unmet needs ที่ซ่อนอยู่ในตัวของ Demand และ โมเดลนี้ถึงจะชนะได้จริง
  • เหมาะกับธุรกิจที่ ทางเลือกเดิมๆไม่สามารถให้ Value นี้ได้ เพื่อให้ Platform สร้าง value ใหม่ให้ตลาด

 

ทั้งหมดนี้คือ Business Model ใหม่ๆ หลายรูปแบบ ขอให้แนวทางว่าการใช้โมเดลเหล่านี้ ไม่ควรใช้แค่ตามกระแส หรือแค่การหยิบเทคโนโลยีมาใช้ แต่โมเดลที่ดีนั้นต้องตอบคำถามต่อไปนี้ให้ได้ด้วย

  • คุณดีกว่าหรือเหนือกว่าทางเลือกเดิมๆ อย่างไร ? = win competitors
  • คุณแก้ปัญหาลูกค้า หรือ เติมUnmet needs ได้หรือไม่ ? = win customer  

 

 

 

 

เขียนโดย บังอร สุวรรณมงคล
ผู้ก่อตั้งบริษัท Hummingbirds ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาด้านการวางแผนการตลาดเชิงกลยุทธ์โดยผ่านงานวิจัยการตลาด

อ่านบทความ Exclusive Insider เพิ่มเติมได้ที่นี่

Copyright © MarketingOops.com


  • 42
  •  
  •  
  •  
  •  
Bangorn Suwanmonkol
คุณบังอรหลงใหลในการวางแผนการตลาดเชิงกลยุทธ์ เพราะเชื่อว่า Strategy สำคัญกว่า Tactic ปัจจุบันคุณบังอร เป็นผู้ก่อตั้งบริษัท Hummingbirds ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาด้านการวางแผนการตลาดเชิงกลยุทธ์ โดยผ่านงานวิจัยการตลาด