นักการตลาดหลาย ๆ คนมีปัญหาทางการตลาดของแบรนด์มากมายที่ต้องจัดการ และหลาย ๆ ก็หวังที่จะพึ่งคนภายนอกอย่าง Agency เข้ามาจัดการหรือช่วยแก้ปัญหาเหล่านั้นเพื่อให้การตลาดตัวเองนั้นสำเร็จ ซึ่งเมื่อจ้างมาแล้วบางทีปัญหานั้นก็ไม่สามารถสำเร็จได้ เพราะต้นตอของปัญหาไม่ได้อยู่ที่เอา Agency มาจัดการ แต่เป็นการที่ภายในแบรนด์นั้นต้องจัดการปัญหาหรือคนภายในร่วมมือในการแก้ไขปัญหานั้นด้วย
นักการตลาดนั้นมีปัญหาทางการตลาดมากมายที่ต้องการจะแก้ไข หลาย ๆ ครั้งการแก้ไขนี้ก็ไม่สามารถทำกันเองได้ จึงหวังพึ่ง Agency ที่คิดว่าจะเป็นผู้เชี่ยวชาญที่จะมาช่วยแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ขึ้นมา และทำให้การตลาดของตัวเองประสบความสำเร็จขึ้นมาได้ ซึ่งเมื่อ Agency เข้ามาทำงานนั้นทางนักการตลาดของแบรนด์นั้นจะทำการโยนโจทย์มาให้ทั้งหมด หรือโยนให้ Agency ไปคิดมาทั้งหมด ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ Agency นั้นไม่ใช่เจ้าของแบรนด์ และไม่มีความรู้ในเรื่องสินค้าและบริการของแบรนด์นั้นดีเท่ากับเจ้าของแบรนด์ หรือนักการตลาดเอง ทำให้การทำงานนั้นจะเป็นมุมมองเท่าที่ Agency เห็นหรือรับทราบแล้วต้องการให้เกิดการแก้ไขให้ดีขึ้น ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค ซึ่งเมื่อนำมาเสนอนักการตลาด หลาย ๆ ครั้งการนำเสนอนั้นกลับกลายเป็นว่าทำมาผิด เพราะไม่ได้เข้าใจแบรนด์สินค้าและบริการเท่ากับนักการตลาดนั้นเอง หรือไม่ได้มีข้อมูลที่สำคัญต่าง ๆ ที่นักการตลาดนั้นไม่ได้ให้เอาไว้เพื่อนำมาเป็นส่วนประกอบในการคิดงาน ทำให้งานที่ได้ออกมานั้นไม่ตรงโจทย์ที่นักการตลาดอยากได้สักที
หรืออีกปัญหาคือการที่นักการตลาดนั้นมีข้อขัดแย้งกันในที่ประชุมในความเห็นในการทำการตลาดของแบรนด์ หรือการแก้ไขระบบ Digital ต่าง ๆ แล้วหวังที่จะให้ Agency นั้นกลายมาเป็นกาวใจ หรือทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานความขัดแย้งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นมา ทั้ง ๆ ที่ Agency นั้นเป็นคนภายนอกไม่สามารถที่จะเข้าไปแก้ไข หรือสั่งการให้เกิดการประสานงานตรงนั้นได้เลย ซึ่งจริง ๆ แล้วคราวเป็นหน้าที่ของนักการตลาดในแบรนด์ที่ทำงานร่วมกับ Agency นั้นในการแก้ไขปัญหาและหาข้อสรุปมาเพื่อให้ Agency ทำงานมากกว่า หรือสุดท้ายคือการที่นักการตลาดนั้นไม่รู้อะไรเลย แล้วหวังว่าจะให้ Agency นั้นหาข้อสรุปมาให้ในการทำงานแบบ ซึ่งเมื่อทำงานไป ก็ไม่สามารถตอบโจทย์อะไรได้ เพราะนักการตลาดนั้นไม่รู้ว่าอะไรคือที่ต้องการ และ Agency ก็ต้องมานำเสนอเรื่อย ๆ จนกว่าจะถูกต้อง
ประสบการณ์ที่ผมเคยเจอนั้น คือการที่ผู้บริหารหรือนักการตลาดเอง ต้องการทำแบรนด์ใหม่ แต่มีชื่อแบรนด์ที่ไม่รู้ว่ามาจากไหน และหวังจะให้ผมที่เข้ามาทำงานนั้นสามารถสร้างแบรนด์จากชื่อที่มีมา หรือสร้าง Positioning ของแบรนด์ พร้อมกับ Brand Story นั้นได้ ซึ่งเป็นเรื่องยากมากที่จะทำได้ เพราะแม้แต่ตัวผู้บริหาร หรือนักการตลาดที่อยู่กับแบรนด์นี้เอง หรือสร้างแบรนด์นี้ให้เกิดขึ้นมา ยังไม่รู้เลยว่าทำไมถึงเลือกชื่อนี้ หรือ ไม่รู้ว่าสินค้าตัวเองจะอยู่ Positioning ไหน แบรนด์ตัวเองจะเป็นอะไรในผู้บริโภค หรือขายใคร แล้วเข้าใจว่าคนที่เข้ามาทำงานแก้ปัญหาในภายหลังนั้นจะสามารถเข้ามาแก้ปัญหาเหล่านี้ได้นั้นเป็นเรื่องยากมาก และใช้เวลาอย่างมากที่จะทำการค้นหาข้อมูลเพื่อสร้างเป็นคำตอบต่าง ๆ ออกมาให้ถูกใจผู้บริหารหรือนักการตลาดที่บอกมา นอกจากนี้ผมยังเคยเจอประสบการณ์ที่ต้องเข้าไปเป็นคนประสานงานในการทำงานร่วมระหว่างแผนกขององค์กรลูกค้า ซึ่งปัญหาคือทั้ง 2 แผนกนั้นทำงานไม่ถูกกัน และจะมีท่าทีในการทำงานต่างเล่นการเมืองขึ้นมา หรืออีกฝ่ายต่างมีเงื่อนไขต่าง ๆ มากมาย ที่ทำให้งานนั้นไม่สามารถเดินหน้าไปต่อได้ สุดท้ายทำให้งานนั้นไม่สามารถจะบรรลุผลได้ หรืออีกตัวอย่างที่เคยเจอคือประเภทที่ลูกค้านั้นมีสินค้าหรือบริการที่ไม่ได้น่าสนใจ และคิดเข้าข้างตัวเองว่าสินค้าและบริการตัวเองหน้าสนใจ แล้วบังคับให้ Agency ที่ทำงานนั้นต้องทำให้คนสนใจเข้ามาซื้อสินค้าและบริการนี้ขึ้นมา ซึ่งนี้ย้อนไปยังหลักการ 4Ps เลยว่า ถ้า Product มันไม่ดี ไม่ได้ตอบโจทย์ผู้บริโภคแล้วมันจะขายได้อย่างไร ทำให้ Agency นั้นมาทำงานต่อยากมาก ทั้งนี้ปัญหาหลาย ๆ ต้องอย่ามองว่า Agency นั้นคือกระสุนเงินที่จะมาทำให้ทุกคำตอบของลูกค้าหรือแบรนด์นั้นสามารถแก้ไขปัญหาได้ แต่นักการตลาดในแบรนด์หรือผู้บริหารเองก็ต้องช่วย Agency ในการที่จะทำให้การทำงานนั้นง่ายขึ้นและมีประสิทธิภาพง่ายขึ้นในการแก้ไขปัญหาของตัวเองก่อน ไม่ว่าจะเป็นการมีข้อมูลที่แน่นอนเพื่อให้ Agency ทำงานต่อง่ายขึ้น หรือการจัดการปัญหาภายใน การสรุปงานภายในเพื่อให้การทำงานของ Agency นั้นจะทำให้มีประสิทธิภาพสูงสุดของแบรนด์ขึ้นมา
นักการตลาดและผู้บริหารแบรนด์ต้องมองว่า Agency นั้นคือคนนอกที่เข้ามาช่วยปรึกษาในการทำงานและช่วยแก้ไขปัญหาที่ปลายทางเท่านั้น ตราบใดที่ปัญหาต้นตอยังไม่สามารถแก้ไขได้ ก็จะยังเป็นปัญหาสืบเนื่องต่อไปไม่ว่าจะมีกี่ Agency เข้ามาทำงานให้ก็ตาม