ประเทศไทยตอนนี้กลุ่มอุตสาหกรรมที่มาแรงนั้นคงหนีไม่พ้นเรื่อง Startups ต่าง ๆ เราจึงเห็น Startups เกิดใหม่มากมายในยุคนี้ รวมทั้งคนรุ่นใหม่ที่อยากจะเป็น Startups อีกด้วยเพราะได้ทำตามฝันและมีคนมาลงทุนหรือสามารถเติบโตกลายเป็นบริษัทใหญ่ได้เพียงชั่วข้ามคืน และในยุคนี้นี่เองที่มี Startups อย่างหนึ่งที่น่าสนใจอย่างมากคือ Startups ด้าน Fintech หรือ Financial Technology ที่เข้ามาในตลาดอย่างมากมายและสามารถสร้างผลกระทบอันมากมายให้ระบบอุตสาหกรรม Finance เดิมอย่างมาก ซึ่งเป็นเรื่องน่าสนใจที่น่าเรียนรู้ในสำหรับนักการตลาด
Fintech เป็น Startups ที่น่าสนใจที่เกิดขึ้นมาจนมีผลกระทบต่อภาคธนาคารและการเงินอย่างเดิมอย่างมาก สาเหตุที่ทำให้ Fintech นั้นเกิดขึ้นได้บางส่วนคือการบริการและระบบของธนาคารที่ยังไม่สามารถตามทันโลกเดิมได้ และมีช่องว่างหรือโอกาสที่เหล่าคนในภาคการเงินและธนาคารเดิมไม่ได้สนใจ จนทำให้คนรุ่นใหม่ที่เห็นโอกาสนั้นเข้ามาทำการตลาดหรือฉวยเอาโอกาสนั้นสร้างเป็น Fintech ขึ้นมาจนเติบโต นอกจากนี้ยังเป็นการปรับใช้เทคโนโลยีที่เกิดขึ้นใหม่ ๆ มาตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค ที่ภาคการเงินและธนาคารไม่สามารถปรับตัวหรือเปลี่ยนแปลงอย่างทันทีได้ ทำให้เกิดบริการต่าง ๆ ทางด้านการเงินอย่างมากมายขึ้นผ่าน Fintech ใหม่ ๆ ซึ่งในต่างประเทศเอง Fintech เหล่านี้มีตั้งแต่การทำ Mobile Transaction, P2P platform และ Digital Bank หรือ Micro-Funding, Crowndfunding ขึ้นมา ทำให้สามารถแย่งลูกค้าและส่วนแบ่งการตลาดออกจากภาคธนาคารเดิมได้อย่างมาก หลาย ๆ Fintech ในต่างประเทศนั้นทำ Mobile App ที่สามารถสร้างประสบการณ์ผู้ใช้ได้อย่างดี สามารถทำให้ผู้ใช้ Customise App นั้นและมีความเป็น Personalised ได้ด้วย นอกจากนี้ยังสามารถใช้ระบบเข้า App ด้วยการใช้เสียงหรือตรวจสอบเสียงในการทำธุรกรรมต่าง ๆ ได้อีก การมาถึงของ Fintech นี้ทำให้มีความน่าสนใจที่จะเรียนรู้อย่างมากว่า ทำไมโลกของ Fintech ถึงได้เติบโตอย่างรวดเร็วและมีผลกระทบต่อธุรกิจเดิมอย่างมากในยุคนี้ ซึ่งมีนักวิเคราะห์ได้วิเคราะห์ออกมาเป็น 3 ข้อด้วยกัน คือ
1. ทำให้บริการหรือสินค้าสามารถเข้าถึงได้ง่าย
การที่ระบบเข้าถึงง่ายเป็นสิ่งที่สามารถเจอได้หมดในกลุ่มบริการของ Fintech เพราะบริการของ Fintech นั้งต่อมุ่งความสนใจไปไปในการทำเครื่องมือตัวเองนั้นสามารถใช้งานได้ง่ายและเข้าถึงคนที่มีความต้องการทุกกลุ่มและทุกวัย มากกว่าบริการของภาคการเงินและการธนาคารในปัจจุบันที่มีความยุ่งยากซับซัอน เช่นกลุ่มบริการของ Mobile Wallets ที่สามารถให้คนที่ใช้สามารถใช้จ่ายได้อย่างสะดวก สบาย และสามารถเก็บแต้มการใช้จ่ายต่าง ๆ พร้อมกันไปด้วยได้อีกต่างหาก พร้อมให้ร้านค้ามาสร้างกระบวนการจ่ายเงินในนี้จากลูกค้าที่ใช้ App เดียวกันได้ด้วยทำให้สะดวกทั้งร้านค้าและผู้จ่ายเงินอีกตั้งหาก หรือกระบวนการสร้างการจ่ายเงินที่ง่ายขึ้นเช่นที่เราให้เห็นในปัจจุบันอย่าง NFC หรือ Apple pay ก็เป็นตัวอย่างนึงในตอนนี้ นักการตลาดต้องปรับตัวในการสร้างบริการและการใช้งานของตัวเองให้สามารถใช้งานได้ง่ายขึ้น เข้าถึงได้ง่ายขึ้นและเข้าใจความต้องการของผู้บริโภคในการใช้งาน
2. การลองในสิ่งใหม่ และให้ความรู้ผู้บริโภค
httpv://www.youtube.com/watch?v=Um63OQz3bjo
ในการทำการตลาดนั้น นักการตลาดเมื่อเจอเทคโนโลยีที่น่าสนใจจะมีความสงสัยในเทคโนโลยีนั้นมันจะเกิดในตลาดหรือไม่ และรอคอยให้มันเกิดในตลาดจึงค่อยเข้าไปใช้งานหรือนำมาใช้งาน ทำให้เกิดปรากฏการณ์คนตกขบวนรถไฟดังเช่นการมาถึงของ Web 2.0 หรือ Social media ที่มีหลายแบรนด์หายไปจากการตลาดเพราะลังเลที่จะเข้ามาทำตลาดในนี้ และกลายเป็นเรื่องที่เรียนรู้กันในหมู่นักการตลาดรุ่นใหม่ว่าอย่ารอคอยให้เทคโนโลยีเกิดและต้องลองไปก่อน ซึ่งในกลุ่ม Fintech หรือ Startups ต่าง ๆ นั้นต่างสามารถกระโจนเข้าไปได้อย่างทันที ดังเช่นเรื่อง Bitcoins ที่กลายเป็นเงินสกุลใหม่ของโลกอย่างทันที แต่ภาคการเงินและการธนาคารกว่าจะเข้าใจและรับรองได้นั้นต่างใช้เวลานาน (ซึ่งเมืองไทยเองก็ตามสกุลเงินนี้ไม่ทันและยังไม่ให้การรับรองเลย) สิ่งที่เกิดขึ้นของการเข้าไปทำตลาดที่ช้าของภาคการเงินและการธนาคารของ Bitcoins คือทำให้สูญเสียโอกาสและกำไรมหาศาลออกไป แถมนักลงทุนหลาย ๆ เจ้าก็เข้าไปลงทุนใน Bitcoins แทนการลงทุนในภาคการเงินอีกด้วย การทำงานของ Bitcoins นั้นสามารถโอนเงินสกุลนี้ข้ามไปมาได้ โดยไม่ต้องมีธนาคารเป็นตัวกลาง ซึ่งการที่สามารถใช้ Bitcoins นี้ได้ทำให้การทำธุรกรรมต่าง ๆ นั้นสะดวกขึ้น จึงมี VC นั้นใช้ Bitcoins ในการโยกย้ายเงินลงทุนมากมายโดยไม่กลัวว่ามูลค่ามันจะเสีย ภาคการเงินการธนาคารเล็งเห็นโอกาสในเรื่องนี้จึงพยายามผลักดันและให้ความรู้เรื่อง Bitcoins แก่ผู้บริโภคให้ลองใช้เพื่อที่จะสามารถตามอนาคตได้ทัน
3. การเป็นผู้เชี่ยวชาญที่เฉพาะเจาะจง
จากการที่คนอยากจะหาใช้บริการนั้นต้องไปที่ธนาคาร หรือหาผู้เชี่ยวชาญทางการเงิน แต่ในยุคนี้ Fintech นั้นเรื่องราวเหล่านี้มาให้ที่บ้านของแต่ละคนได้ทันที รวมทั้งเป็นบริการเฉพาะเจาะจงไปเลยในแต่ละ Fintech เช่นการทำ Mobile Lending แบบ P2P หรือบริการต่าง ๆ แยกตามความเฉพาะเจาะจงที่ตามความต้องการที่ไม่เหมือนกัน ทำให้คนสามารถเลือกสิ่งที่ต้องการได้เหมาะสมกับตัวเอง ข้อดีคือ Fintech นั้น ๆ คือการที่สามารถ Focus สินค้าและบริการตัวเองไปให้สุดได้ และกลายเป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องบริการหรือสินค้าของตัวเอง ซึ่งกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่จะเกิดขึ้นมานั้นมีพฤติกรรมด้านการเงินที่เปลี่ยนไป โดยไม่ได้หาอะไรที่ครบวงจรในที่เดียวเหมือนอย่างเก่า แต่หาที่บริการต่าง ๆ ที่ดีที่สุดที่อาจจะแยกจากกันได้ได้ เพื่อให้ได้สิ่งที่ดีที่สุดให้ตัวเอง
จากทั้งหมดนี้นักการตลาดนั้นสามารถมองเห็นได้ชัดว่าแม้ว่า Disruption เป็นสิ่งจำเป็นของการอยู่รอดในยุคนี้ แต่การที่จะอยู่รอดได้อย่างที่สุดนั้นคือการลงทุนในการสร้างความแตกต่าง การลงมือทำ การสร้างแบรนด์และการสร้างความไว้ใจในผู้บริโภค
Copyright © MarketingOops.com