ใช้ 5 Trick นี้ในการเขียน Copy ให้โดนใจ

  • 138
  •  
  •  
  •  
  •  

 

การทำการตลาดในยุคนี้คือการที่ต้องสร้างแรงจูงใจให้กลุ่มเป้าหมายนั้นมาสนใจให้ได้มากที่สุด ซึ่งเกิดจาก นักการตลาดนั้นวางกลยุทธ์เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมาซื้อ และคนทำโฆษณานั้นสร้างแรงจูงใจผ่านการโฆษณา โดยเฉพาะในยุคนี้ที่ส่วนใหญ่ใช้ Social Media ในการทำการตลาด การทำ Copy Writing ให้จูงใจนั้นกลายเป็นเรื่องที่สำคัญที่จะสร้างความน่าสนใจให้ดึงดูดกลุ่มเป้าหมายเข้ามา

การใช้จิตวิทยาที่จะสอดแทรกเข้าไปในการทำการตลาดไม่ว่าจะเข้าไปอยู่ในกลยุทธ์เอง หรือการที่คนทำโฆษณาใช้จิตวิทยาให้ดึงดูดคนเข้ามา ยิ่งตอนนี้ที่ทำ Digital Advertising หรือ Digital Marketing กันอย่างมาก การทำ Copy Writing มีส่วนสำคัญอย่างมาก เพราะจะทำเกิดการดึงดูดคนเข้ามาอ่านและเกิดการโน้มน้าวให้กดเข้ามาดูสินค้าและบริการจนสามารถสั่งซื้อได้จำเป็นต้องมีความเข้าใจจิตวิทยาของผู้บริโภคเพื่อที่จะทำให้ Copy นั้น ๆ เข้าไปสู่ตรงหัวใจและจิตใต้สำนึกของกลุ่มเป้าหมายได้ทันที กระตุ้นการสั่งการของสมองให้สนใจข้อความนั้น ๆ แบบไม่รู้ตัวได้ทันที ทั้งนี้นี่ 5 จิตวิทยาที่คนทำ Copy ควรใช้ในการสร้างข้อความให้โดนใจ

1. ใช้หลักฐานมัดให้แน่น

การที่จะทำให้คนนั้นเชื่อ หรือสามารถไว้ใจได้ สิ่งหนึ่งที่สามารถทำได้คือการเอาหลักฐานเชิงประจักษ์ให้คนได้รับรู้กันการที่แบรนด์นั้นสามารถแสดงไอเดียที่มาจากข้อเท็จจริง หรือตัวอย่างที่ทำได้จริง จะทำให้กลุ่มเป้าหมายนั้นมีแนวโน้มที่จะเชื่อใจหรือเข้าใจได้ตามที่คุณอยากอธิบายและอยากเล่าให้ฟัง การที่เอาข้อเท็จจริง ตัวอย่างจริงมาเล่านั้น เป็นการเปิดความบริสุทธ์ใจและความซื่อสัตย์ของแบรนด์ ซึ่งทำให้กลุ่มเป้าหมายนั้นมีแนวโน้มที่จะเชื่อใจคุณมากขึ้นไปอีก

2. ใช้ความขาดแคลนและความเร่งรีบ

ในหลักการ Persuasion นั้นการใช้ความขาดแคลนนั้นเป็นตัวอย่างที่ดีอย่างมากในการสร้าง Demand ขึ้นมา ไม่ว่าจะเกิดจากการไม่ตั้งใจที่สินค้าขาดแคลนผลิตไม่ทันเช่น การผลิตภัณฑ์อาหารที่ทำไม่ทัน หรือเครื่องสำอางค์ที่ทำไม่ทัน เพราะมีความต้องการสูงมาทันทีทันใด อาจจะเกิดจากการรีวิว คนดังใช้ หรือการบอกต่อ ๆ กัน กับการตั้งใจที่ทำให้เกิดการขาดแคลน เพราะ Status ของสินค้านั้น ๆ เอง ไม่ว่าจะเป็นนาฬิกาหรูที่มีความต้องการสูงตลอดเวลา แบรนด์เนมต่าง ๆ ที่มีจำนวนจำกัดทำให้ราคาขายต่อนั้นมีราคาสูงตามเพราะจำนวนการผลิตน้อยกว่าความต้องการจริง ๆ ขึ้นมา

นอกจากนี้ยังสามารถใช้ความด่วนในการกระตุ้นให้เกิดการอยากได้ขึ้นมาด้วย เป็นการสร้าง Sense of urgency ขึ้นมาเพื่อสร้างสิ่งที่เรียกว่า FOMO (Fear of Missing Out) ในการกลัวที่จะพลาดโอกาสต่าง ๆ เช่นการบอกว่าจำนวนจำกัด หรือช่วงนี้เท่านั้น จะสามารถกระตุ้นการกระทำทันทีได้ ไม่ว่าจะเป็นการซื้อหรือการลงทะเบียนขึ้นมา

3. Storytelling

สมองของมนุษย์นั้นเชื่อเรื่องเล่าอย่างมาก เรื่องราวการเล่านั้นสามารถทำให้ข้อความหรือสารที่ต้องการเล่านั้นเข้าไปสู่สมองได้ทันที ด้วยความที่เรื่องเล่านั้นมีความเกี่ยวข้อง เกี่ยวพัน และอยู่ที่ในความทรงจำ หรือทำให้รู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งของความทรงจำ และทำให้จดจำได้ง่ายมากขึ้น จะสามารถกระตุ้นอารมณ์กลุ่มเป้าหมาย และทำให้กลุ่มเป้าหมายนั้นรู้สึกเข้าใจได้ว่า สินค้าและบริการของคุณนั้นช่วยแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างไร เมื่อกลุ่มเป้าหมายมีอารมณ์ผูกพันกับเรื่องราวของคุณแล้ว จะสามารถให้เกิดการจดจำและทำการซื้อสินค้าและบริการของคุณได้ง่ายมากขึ้น

4. ประโยชน์มากกว่าคุณสมบัติ

การเล่าเรื่องหรือการสื่อสารที่จะทำให้คนเข้าใจได้อย่างทันที ไม่ใช่การอัดข้อมูลคุณสมบัติของสินค้าและบริการ แต่เป็นการบอกเล่าว่า เมื่อซื้อหรือใช้สินค้าและบริการแล้ว กลุ่มเป้าหมายจะได้ประโยชน์อะไรขึ้นมา การเล่าประโยชน์นั้นสามารถดึงดูดใจกลุ่มเป้าหมายได้มากกว่า และเข้าใจได้ทันทีว่าสินค้าและบริการนั้นจะเข้ามาตอบโจทย์ตรงไหนในชีวิต เช่นการขายมือถือแทนที่จะบอกว่าเลนส์คมชัดแค่ไหน ก็บอกไปเลยว่าถ่ายรูปสวย

5. ใช้คำว่า “เรา” และ “คุณ”

การใช้คำว่า เรา” และ คุณ” จะสามารถช่วยสร้างสายสัมพันธ์ระหว่างคนอ่านและคนที่ทำ Copy ขึ้นมาได้อย่างดี  เมื่อยิ่งใช้คำว่า “คุณ” มากแค่ไหนคนจะสนใจมากขึ้นมาทันทีเพราะเกี่ยวข้องกับตัวเอง และการใช้คำว่า “เรา” จะเป็นการบอกว่าทำรวมกัน หรือเป็นส่วนหนึ่งที่มีเป้าหมายร่วมกันนั้นเอง


  • 138
  •  
  •  
  •  
  •  
Molek
Head of Strategic Marketing ใน Integrated Service Agency ที่หนึ่ง ผู้หลงใหลในหลาย ๆ ที่มีความอยากรู้และเรียนรู้ในเรื่อง Startup, นวัตกรรม, การตลาด จากมุมมองหลาย ๆ ด้านและวัฒนธรรมของแบรนด์ต่าง ๆ