ช่วงนี้กระแสของ Straming TV Content ในประเทศไทยนั้นมีความดุเดือดขึ้นมาอย่างทันทีเมื่อเจ้าตลาด Streaming TV Content ระดับโลกอย่าง Netflix ประกาศกลยุทธ์ Netflix Everywhere ทำให้หลาย ๆ ประเทศทั่วโลกนั้นสามารถรับชม Netflix ได้ในตอนนี้ ทำให้ตลาด Streaming TV อย่างบ้านเรานั้นเกิดการแข่งขันที่ดุเดือดขึ้นมาทันที
การเกิดขึ้นของ Streaming TV Content นั้นทำให้พฤติกรรมของผู้บริโภคต่อการดูสื่อโทรทัศน์นั้นเปลี่ยนไปอย่างมากมาย ดังเช่นเรื่องการ cutting the cord ที่ได้มาเล่าไปแล้วก่อนหน้าที่เกิดขึ้นในอเมริกาเองที่ Streaming TV Content นั้นทำให้การรับชม TV และ Cable TV ลดลงอย่างมหาศาลตาม นอกจากเรื่องการ Cutting the cord นี้ Streaming TV Content ยังทำให้เกิดปรากฏการณ์ใหม่ในการเล่า Content ผ่านการ Streaming นี้เองด้วย
จากบทความใน New York Times ได้ออกมาวิเคราะห์เรื่องการทำ Content ของ Netflix ที่เอง ที่เป็นยุทธศาสตร์หนึ่งในการไม่ให้เจ้าของ Content นั้นมีอำนาจหรือเรียกร้องมากเกินไป ทำให้ Netflix เองต้องเสียค่าลิขสิทธ์มากมายไปกับการซื้อ Content เหล่านี้มาเพื่อฉายบน Netflix เมื่อถึงจุดหนึ่ง Netflix จึงคิดว่าการทำให้ Product ตัวเองยืนยาวนั้นคือการมี Content ของตัวเองขึ้นมา และทำให้ Content นั้นถูกโฉลกและกับรูปแบบของ Streaming TV ที่เป็น On Demand ของคนดูว่าจะเลือกดูอะไรก็ได้และดูเมื่อไหร่ ที่ไหนก็ได้ขึ้นมา ซึ่งนี้เองเป็นสิ่งที่ทำให้เรื่องการเล่าเรื่องของ Series TV ของ Streaming TV เปลี่ยนไป
ในอดีตนั้น TV จะมีตารางการออกอากาศที่เป๊ะ ๆ และมีเวลาออกอากาศจำกัด แต่ละตอนห่างกัน 1 อาทิตย์ ทำให้การรับชมนั้นจำกัดในแต่ละตอน ซึ่งเมื่ออยู่ใน TV นั้นทางผู้ผลิตมองว่า Series หรือ Content ที่ทุกคนจะดูนั้นจะเป็น Content ที่ต้องสร้างความประทับใจและการจดจำให้เกิดขึ้นก่อนนอนในแต่ละตอนที่ดู และยังต้องมีการบรรยายหรือทบทวน สร้างความน่าสนใจเพื่อให้คนมาติดตามดูตอนต่อไป ทำให้การเล่าเรื่องของ Storytelling ใน Series นั้นจะมีรูปแบบที่เรียกว่ามีองค์เหมือนการละคร ที่มี 4 หรือ 5 องค์ (4-5 Act) แต่ละองค์ของตอนนั้นจะถูกจัดวางอย่างเหมาะสม เพราะมีโฆษณาต่าง ๆ นั้นคั่นอีกต่างหาก ทำให้คนนั้นสามารถมีความสุขในแต่ละตอนได้ และแต่ละตอนก็จะสร้าง Talk ขึ้นมาในรูปแบบหนึ่งที่คนจะกล่าวขวัญกันต่อไป ซึ่งเมื่อใกล้ ๆ จบของการที่จะคั่นโฆษณาหรือจบตอนนั้น เพื่อให้ผู้ชมสามารถรับชมต่อไป ผู้ทำ Series มักจะตัด Highlight ที่น่าสนใจมาเพื่อกระตุ้นให้ผู้ชมรอดูตอนต่อไป หรือตัดจบในตอนที่กำลังสำคัญเพื่อให้ผู้ชมนั้นติดตามต่อ เช่นกันเมื่อถึงเวลาตอนต่อไปทางผู้ทำละครจะทำการย้อนความเดิมเพื่อเล่าถึงตอนที่ผ่านมาว่าเป็นอย่างไร เพื่อเตือนความจำ เพราะแต่ละตอนนั้นห่างกัน 1 อาทิตย์
ในตอนนี้เมื่อมี Streaming TV Content เข้ามา ทำให้การรับชมนั้นเปลี่ยนไป เพราะ Streaming TV นี้ถือว่าคนที่จะดู Content คือคนที่สามารถดูในเวลาที่ว่างหรืออยากดู และอยากได้ประสบการณ์ต่าง ๆ ที่จะเล่าเรื่องได้อย่างต่อเนื่องหรือรับชมได้นาน ๆ เหมือนในสมัยก่อนที่มีการเช่าซีรีย์และดูต่อเนื่องกันเป็น 10 ชั่วโมง ซึ่งนี้ทำให้วิธีการเล่าของ Netflix จะเหมือนการทำภาพยนตร์ยาว 1 เรื่องที่ตัดเป็นตอน ๆ ให้รับชมติดต่อกัน โดยการเล่าเรื่องในแต่ละตอนไม่ได้อิงการทำเหมือนการละครในอดีต แต่เป็นวิธีที่เรียกได้ว่า ทำให้ผู้ชมนั้นรู้สึกอินกับเนื้อเรื่องหรือตัวละครที่กำลังเล่านั้นต่อเนื่องเรื่อย ๆ ทำให้ผู้บริโภคที่ดูนั้นสามารถอินกับเหตุการณ์ได้อย่างต่อเนื่องไป จนถอนตัวไม่ขึ้น ซึ่งการดู Series ที่ทำมาเพื่อ Streaming TV นี้ใน 3 ตอนแรกผู้ชมจะรู้สึกไม่มีอะไร เพราะเป็นการเล่าเรื่องตัวละครและการพัฒนาของตัวละครไปสู่เหตุการณ์ต่าง ๆ แต่เมื่อเข้าสู่ตอนที่ 4 หรือ 4 ไป 5 เนื้อเรื่องจะเริ่มเข้มข้นขึ้นจนไม่สามารถเลิกดูได้
วิธีการแบบนี้ของ Streamign TV ได้มาจากไหนกัน Netflix ได้อาศัยข้อมูลในการรับชม Series ของสมาชิก Netflix เองจากการที่ได้รับรู้ได้ว่าผู้ชมนั้นจะทำการดูต่อ Series เรื่องนั้นหลังจากดูไปได้ 3 ถึง 4 ตอน และจะตัดสินใจว่าจะดูต่อหรือไม่ ซึ่งแตกต่างจากการที่คนดู Sereies TV ทั่วไปที่จะตัดสินจากตอนใน 1 ตอนว่าจะดูต่อหรือไม่ดูต่อ ซึ่งแสดงถึงคนดู Streaming TV นั้นมีความอดทนในการดูและติดตามเนื้อเรื่องมากกว่า TV ทั่วไป ทำให้สามารถสร้างการเล่าเรื่องที่จะทำให้ผู้ชมดูอย่างต่อเนื่องได้ไม่เหมือนการเล่าเรื่องแบบใน Series TV ทั่วไปได้ขึ้นมาได้
ด้วยเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปจากการรับชมสื่อเอง จากการที่ต้องรอ มาเป็นสู่การที่ดูเมื่อไหร่ก็ได้ ยาวเท่าไหร่ก็ได้ หรือนานเท่าไหร่ก็ได้ หยุด และกลับไปดูส่วนที่ไม่เข้าใจก็ได้ พร้อมกับมีข้อมูลรับชม Support ว่าคนชอบอะไร ไม่ชอบอะไร ทำให้การสร้างสรรค์การเล่าเรื่องในตอนนี้สามารถมีวิธีการใหม่ ๆ เกิดขึ้นมาได้ โดยไม่ต้องยึดติดในเรื่องการเล่าเรื่องแบบเก่า พร้อมทั้งสามารถสร้างเนื้อหาที่โดนใจผู้บริโภคที่เข้าใจมากที่สุดได้เองอีกด้วย
Copyright © MarketingOops.com