ปัญหาของคนทำ Content Marketing ส่วนใหญ่คือการที่ทำ ๆ ไปนั้นหมดมุขที่จะทำ หรือไม่รู้ว่าจะสร้าง Content อะไรขึ้นมาจับกลุ่มผู้บริโภคต่อไป ทำให้ต้องทำ Content บางอย่างออกมาแก้ขัดมาก่อน หรืออีกปัญหาหนึ่งคือการที่ต้องมาแก้ปัญหาผู้บริโภคที่กำลังต้องการปัญหาบางอย่าง เลยต้องหาข้อมูลมามาสร้างเนื้อหานั้น ซึ่งบางทีอาจจะไม่จำเป็นต้องสร้างใหม่เลยด้วยซ้ำ
จริง ๆ แล้วคนทำ Content นั้นทำ Content มากมายและวิธีการหนึ่งที่คนทำ content ที่ต่างประเทศทำกันในการที่จะสร้าง Content ใหม่ หรือหา Content ที่จะมาตอบความต้องการของผู้บริโภคในขณะนั้นคือ การที่เอา Content เก่า กลับมาปัดฝุ่น อัพเดท และตกแต่งใหม่ขึ้นมา เพราะหลาย ๆ ครั้งการทำ Content นั้นสิ่งที่โพสไป เมื่อเวลาผ่านไปเนือ้หานั้นก็จะไม่ได้ถูกทำให้เห็นและผู้บริโภคหลาย ๆ คนก็จะลืมว่าเคยได้อ่านเนื้อหานั้นแล้ว หรือผู้บริโภคหลาย ๆ คนก็ยังไม่เคยอ่านเนื้อหาเหล่านั้นเลยก็มี และมีหลาย ๆ ครั้งที่ Content เก่าที่เคยทำไปเหล่านั้นก็ดันมาตรงจังหวะที่เกิดกระแส หรือเหตุการณ์นั้นพอดี ที่ทำให้คนทำ Content นั้นสามารถเอา Content ที่ทำไปเหล่านั้นกลับมาใช้ใหม่ได้ ซึ่งวันนี้เราจะมารู้วิธีเตรียมตัวในการ Reuse Content เก่ากันขึ้นมา
1. สร้างฐานข้อมูล Content ขึ้นมา
สิ่งหนึ่งที่สำคัญคือการจำให้ได้ว่า Content ที่ทำไปนั้นมีอะไรบ้าง เกี่ยวกับเรื่องอะไร และทำไปเมื่อไหร่ เพื่อให้สามารถค้นหาได้อย่างง่ายดาย และสามารถใช้ให้ถูกเวลาด้วย สิ่งที่ต้องเก็บข้อมูลเอาไว้เพื่อการใช้งานซ้ำคือ เก็บวันที่โพส เนื้อหาที่ทำนั้นเป็นรูปแบบอะไร เนื้อหาที่ทำพูดเรื่องอะไรหรือเกี่ยวข้องกับเรื่องอะไร หัวเรื่อง วัตถุประสงค์ของชิ้นงาน และชิ้นงานนั้นไปปล่อยที่ไหน ทั้งนี้ข้อมูลเหล่านี้สามารถนำมาทำการตัดสินใจต่อไปว่าแต่ละเนื้อหาจะถูกนำกลับมาใช้ใหม่อย่างไร
เช่นการเปลี่ยน Format ของเนื้อหานั้นจาก วิดีโอ เป็น Text หรือเปลี่ยนเป็น animation ใหม่ หรือนำมาตัดสินใจเรื่องการโพสว่าถ้าโพสไปแล้ว ก็ควรไม่นำกลับมาโพสใหม่ หรือเปลี่ยนวัตถุประสงค์ว่า ถ้าใช้เพื่อให้ความรู้ไปแล้ว ก็ลองเปลี่ยนมาเพื่อการขายบ้าง ทั้งนี้ทำให้เนื้อหาต้นฉบับที่ทำนั้น สามารถเปลี่ยนแปลงได้หลายอย่างออกไป
2. ลองดูว่า Content ที่จะ Reuse นั้นจะเข้าไปใช้ตอนไหน
เมื่อได้ฐานข้อมูล Content มาเรียบร้อยแล้วสิ่งที่ควรทำต่อไปคือการมองว่าเนื้อหาที่จะใช้ใหม่อีกรอบนั้นควรจะเข้าไปอยู่จุดไหนของ Consumer Journey หลายๆครั้ง Content ที่ทำออกมามีไว้เพื่อสร้างกระแสหรือสร้าง Engagement โดยไม่ได้คิดถึงการเอาไปอยู่ใน Consumer Journey แต่ละจุดว่าจะตอบสนองอย่างไรหรือจะเปลี่ยนให้เป็นลูกค้าอย่างไรทั้งนี้ไม่จำเป็นว่าเนื้อหานั้นจะต้องอยู่จุดใดจุดหนึ่งเพียงอย่างเดียวแต่สามารถสร้างสรรค์เนื้อหานั้นใหม่ขึ้นมาเพื่อให้เหมาะกับ Consumer Journey แต่ละจุดก็ได้
เช่นการทำเนื้อหาที่ช่วยให้รับรู้ข้อมูล ช่วยในการเปรียบเทียบข้อมูล หรือช่วยในการเลือกและสุดท้ายเปลี่ยนไปสู่การซื้อได้ ทั้งหมดนี้ก็อาจจะมาจากเนื้อหาเดียวกันหมด เพียงแต่เน้นการใช้งานในแต่ละจุดให้ต่างออกไป
3. ใช้ ACE Model ในการทำงาน
สิ่งหนึ่งที่ตัดสินใจได้แล้วว่าจะใช้เนื้อหาอะไร เพื่ออะไรใหม่อีกครั้ง ทีนี้ก็ถึงตอนที่ต้องเอา Content นั้นมาตกแต่งใหม่ สิ่งหนึ่งที่ทำได้การใช้ ACE Model มาช่วยในการทำงาน
ACE Model ย่อจาก Adjust คือการปรับปรุง Content นั้นให้ดีขึ้นเช่นการใช้ภาษาหรืออื่น ๆ , Combine คือการเอา Content มายุบรวมกันเป็น Content ใหม่ และ Expand คือ Content ที่มาอัพเดทเนื้อหาใหม่ ทั้งนี้ลองดูว่าเนื้อหาที่จะกลับมาใช้ใหม่นั้นต้องทำอะไรบ้างเพื่อให้เหมาะสมกับเวลาที่จะต้องการโพส หรือความต้องการใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นมาของผู้บริโภค
4. ลองหารูปแบบการสร้างเนื้อหาและการกระจายเนื้อหาใหม่
อย่างในข้อต้น ๆ ที่ได้กล่าวไปว่า Content ที่ทำนั้นอาจจะทำมาในรูปแบบหนึ่ง แต่ยังไม่เคยเอามาแปรรูปเป็นเนื้อหาในรูปแบบอื่นเลย ซึ่งทำให้อาจจะเกิดโอกาสใหม่ ๆ กับเนื้อหารูปแบบใหม่นี้ เช่นเปลี่ยนจากบทความเป็นวิดีโอ เปลี่ยนจากวิดีโอ เป็น animation เล่าให้สนุกขึ้นมา ด้วยวิธีการเหล่านี้ทำให้ Content ที่มีต้นตอจากเรื่องเดียวกันนั้นสามารถสร้างเป็นเนื้อหาที่หลากหลายได้ใหม่ หรือจะสร้างเป็นซีรีย์ของเนื้อหาก็ยังได้
นอกจากนี้ลองดูมีวิธีกระจายเนื้อหาอย่างอื่นที่น่าสนใจ หรือโอกาสใหม่ ๆ ที่เนื้อหาจะเห็นในสายตาคนอื่นไหม เช่นการกระจายไปยัง influencer ต่าง ๆ หรือการไป republish ในเครื่อข่ายเว็บต่าง ๆ ขึ้นมา เพื่อให้เกิดโอกาสการเห้นใหม่ ๆ มากที่สุดขึ้นมา ซึ่งในเมืองนอกจะเห็นวิธีการนี้คือการตีพิมพ์ลงในเว็บไซต์ตัวเอง บล็อก LinkedIn Medium และอื่น ๆ มากมาย เพื่อเข้าถึงกลุ่มคนอ่านมาที่สุด โดยไม่ต้องรอให้คนอ่านนั้นมาอ่านเจอ