สมองของมนุษย์นั้นมีความซับซ้อนอย่างมากซึ่งทำให้แต่ละคนนั้นมีบุคลิกลักษณะของตัวเองขึ้นมาแต่แม้ว่าททุกคนดูเหมือนจะแตกต่างกันที่ลักษณะต่างๆนักวิทยาศาสตร์ด้านจิตวิทยาก็สามารถมองหารูปแบบที่ควบคุมคุณลักษณะต่างๆของคนออกมาได้และทำให้เข้าใจได้ว่าจิตวิทยาอะไรที่เป็นตัวกำหนดการตัดสินใจต่างๆขึ้นมาด้วยเหตุนี้การเข้าใจจิตวิทยานั้นจึงมีส่วนสำคัญอย่างมากในการที่จะทำให้เข้าถึงจิตใจกลุ่มเป้าหมาย
เมื่อพูดถึงกระบวนการดึงดูดต่างๆในทางการตลาดสิ่งหนึ่งที่นักการตลาดต้องทำความรู้จักไว้คือ Psychological Triggers หรือกลไกกระตุ้นในทางจิตวิทยาซึ่งหมายถึงการนำเสนอตัวเลือกให้น่าสนใจส่งตรงไปยังส่วนตัดสินใจได้เลยกลไกนี้เกิดขึ้นคือเมื่อมีสิ่งเร้าเข้ามากระตุ้นหรือได้รับรู้สิ่งเร้าต่างๆก็จะเกิดผลในทางอารมณ์ของคนทันที โดยส่วนมากสิ่งเร้าเหล่านี้จะถูกผูกกับเรื่องราวที่สะเทือนใจในอดีตแต่ในทางการตลาดนักการตลาดอาจจะหาสิ่งเร้าที่กลุ่มเป้าหมายผูกพันมาสร้างสภาวะที่สะเทือนอารมณ์ไปยังความทรงจำได้
ซึ่งในบทความนี้จะพาไปรู้จัก 4 กลไกทางจิตวิทยาที่จะมาช่วยให้กลยุทธ์ทางการตลาดนั้นได้ผลมากขึ้นและเปลี่ยนคนที่สนใจให้กลายมาเป็นลูกค้าได้ทันที
1. Curiosity คือกลไกในความอยากรู้ของมนุษย์โดยทั่วไปแล้วมนุษย์มีความอยากรู้อยากเห็นอยู่แล้วถ้าในประเทศไทยก็มีสิ่งที่เรียกว่าไทยมุงอยู่ซึ่งนี้เป็นปรากฏการณ์ในความอยากรู้อยากเห็นของมนุษย์ที่จะรู้ในสิ่งที่สงสัยหรือสิ่งที่ไม่รู้ให้ได้และเมื่อได้ข้อมูลที่กระตุ้นในความอยากรู้แค่นิดเดียวก็สามารถเปิดประตูในการเสาะหาข้อมูลต่างๆจนได้ข้อมูลที่ต้องการได้ทันทีวิธีการที่จะนำความใคร่รู้มาใช้กับการตลาดในการดึงดูดกลุ่มเป้าหมายให้สนใจในการอ่าน Content ต่างๆหรือแม้กระทั่งการซื้อสิ่งสินค้าคือการสร้างหัวข้อที่ทำให้เกิดความสงสัยหรือความอยากรู้และข้อความระวังคือควรให้ข้อมูลนั้นตามความคาดหวังไม่ใช่เป็น Clickbait ที่ล่อลวงคนเข้ามาแล้วไม่ได้ข้อมูลอะไรเลย
2. Sense of urgency คือกลไกในการตอบสนองในเรื่องเร่งด่วนต่าง ๆ ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่มนุษย์จะซื้อสินค้าหรือเข้าไปต่อคิวในการเอาสินค้า เพราะเพียงว่าจะไม่มีขายอีกต่อไปแล้ว และกลัวที่จะพลาดโอกาสที่จะมีสินค้าหรือของนี้อีกต่อไป ซึ่งกลไกทางจิตวิทยานี้คือการสร้างความรู้สึกว่า ถ้าคุณไม่คว้าโอกาสครั้งนี้ไว้ คุณจะไม่มีโอกาสนี้อีกต่อไปเลย ซึ่งจะไปกระตุ้นการรู้สึกการเอาตัวรอดของสัญชาติญาณมนุษย์ทันที สิ่งที่นักการตลาดเอามาใช้ได้คือ การใช้ว่า จำนวนจำกัด, พลาดแล้วพลาดเลย หรือ Limited Deal สิ่งที่นักการตลาดควรระวังในการใช้หลักการจิตวิทยาข้อนี้คือ การทำดีล หรือการใช้ Sense of urgency นั้นต้องมีของที่จำกัด หรือเป็นดีลที่จะไม่มีอีกแล้ว เพราะถ้าทำแล้ว ดันมีของขายในราคาเดิมอีก สิ่งที่เกิดขึ้นคือ คนจะไม่เชื่อถือในการประกาศนี้อีกต่อไป คุณค่าของสินค้าและแบรนด์เสียหาย เพราะผู้บริโภคจะรู้สึกว่า ถูกหลอกลวง
3. Avoid สิ่งหนึ่งที่ทำให้มนุษย์นั้นเอาตัวรอดมาได้คือการที่มนุษย์เก่งในการหลีกเลี่ยงอันตรายต่างๆและหาอะไรที่เป็นความสุขแทนมนุษย์หลีกเลี่ยงความจำปวดต่างๆที่เกิดขึ้นและจะยอมเจ็บปวดก็ต่อเมื่อได้รางวัลที่คุ้มค่าความเจ็บปวดนั้นๆขึ้นมานักการตลาดสามารถใช้กลไกในการหลีกเลี่ยงในการเจ็บปวดหรือหลีกเลี่ยงความยุ่งยากนี้โดยการให้รางวัลที่คุ้มค่าต่อการลงแรงหรือความเบื่อหน่ายนั้นขึ้นมาเช่นซื้อสินค้านี้ได้แถม XXXX หรืออยากเที่ยวแต่ไม่มีเงินลองดูวิธีที่จะทำให้คุณมีเงินเก็บไปเที่ยวได้มากขึ้นมาอีก
4. Social Proof มนุษย์นั้นมองหาข้อเปรียบเทียบตลอดเวลาและดูว่าตัวเองนั้นได้อะไรที่คุ้มค่าหรือไม่หรือคุ้มกับสิ่งที่เสียไปรึเปล่านั้นเป็นสาเหตุว่าทำไมหลายๆคนต้องดูรีวิวก่อนซื้อสินค้าหรือบริโภคสินค้านั้นก็เพราะว่ากลัวที่จะเสียเงินไม่คุ้มค่ากับสิ่งที่ได้มาและมนุษย์เชื่อถือในจำนวนคนที่เคยผ่านประสบการณ์มายิ่งคนบอกว่าใช้ดีเยอะก็ยิ่งเชื่อถือดังนั้นสิ่งที่นักการตลาดควรทำคือการสร้างจำนวนตัวเลขของผู้คนที่เคยใช้สินค้ามาบอกว่ามีพึงพอใจจำนวนเยอะมากแค่ไหนและมี Testimonials เพื่อยืนยันในคำพูดเหล่านั้นด้วยก็ดียิ่งมีคนเก่งๆคนดังๆหรือผู้เชี่ยวชาญที่น่าเชื่อถือก็สามารถยืนยันประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์และบริการได้อย่างดีทำให้สามารถเปลี่ยนใจคนที่สนใจให้กลายมาเป็นลูกค้าได้เลย
สิ่งหนึ่งที่ต้องเป็นข้อระวังในการใช้จิตวิทยาในการชักจูงกลุ่มเป้าหมายในทางการตลาดนั้นคือการที่นักการตลาดต้องเคารพและเข้าใจในกลุ่มเป้าหมายว่าเมื่อใช้จิตวิทยากระตุ้นแล้วต้องได้ผลที่เป็นรางวัลตอบแทนที่คุ้มค่าต่อการถูกชักจูงหรือได้ตามความคาดหวังของกลุ่มเป้าหมายเพราะไม่อย่างนั้นจะถูกโจมตีกลับได้อย่างง่ายดาย