จะดีกว่านี้หรือไม่ถ้าเรารู้จักใช้จิตวิทยาในการทำการตลาด ยิ่งอยู่ในยุคที่ธุรกิจหันมาทำการตลาดออนไลน์ การประยุกต์จิตวิทยาเพื่อทำคอนเทนต์ให้กลุ่มลูกค้าเป้าหมายหันมาสนใจแบรนด์ของเรา จึงเป็นเรื่องที่ต้องทำ
และนี่คือ 5 วิธีง่ายๆ ที่จะทำให้โซเชียลมีเดียของแบรนด์มียอดไลค์เยอะ คอมเมนต์ถล่มทลาย แชร์กระจายในชั่วพริบตา
1. มีรีวิวจากผู้ใช้งาน เพื่อยอดคนเข้าชมเว็บไซต์ได้อีก 50%
เราต้องคอยกระตุ้นเชิญชวนให้สาวกของแบรนด์ได้เขียนและแชร์รีวิวสินค้าหรือตัวแบรนด์ และให้ทุกคนได้เห็นรีวิวบนโซเชียลมีเดียได้ง่ายๆ
เพราะ Social Proof (หรือพูดง่ายๆคือปากที่สาม) เป็นเครื่องมือจิตวิทยาที่ทรงพลังสุดๆในการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างแบรนด์กับผู้บริโภค ไม่ว่าจะเป็นรีวิวสินค้าและบริการ ถ้าเจอรีวิวดีๆ กลุ่มลูกค้าเป้าหมายก็มีแนวโน้มที่จะซื้อสินค้าของเรา หรืออย่างน้อยก็ติดตามช่องทางการสื่อสารและเสพคอนเทนต์ของแบรนด์
ซึ่ง YotPo ได้ศึกษาขั้นตอนในการตัดสินใจของผู้บริโภคใน 500 เว็บไซต์ที่ต่างกัน ก็พบว่ารีวิวจากคนในโซเชียลมีเดีย ทำให้ยอดคนดูเว็บไซต์เพิ่มขึ้นเฉลี่ยอีก 50% ในอีก 3 เดือนต่อมา
แล้วรีวิวจากผู้ใช้งานสินค้าและบริการมันสำคัญขนาดนั้นเลยหรือ?
เพราะถ้าว่ากันตามจิตวิทยาแล้ว รีวิวมีพลังของ “Social Proof” ที่ทำให้คนทำตามๆคนอื่นกัน ถ้าการกระทำนั้นไม่ได้ผิดอะไร คนที่ทำตามคนอื่นมันจะคิดไปเองว่าการการกระทำหรือความเห็นของคนอื่นนั้นเป็นเรื่องปรกติที่ใครๆก็ทำกันทั้งนั้น
ฉะนั้นถ้ากลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้เห็นรีวิวดีๆ ชมแบรนด์ของเรา ก็อยากแชร์คอนเทนต์ ติดตามแฟนเพจ จบด้วยซื้อของของเรา จะว่าไป การติดตามโชเชียลมีเดีย ก็นับว่าเป็นการให้คำมั่นกลายๆว่าต่อไปจะซื้อของจากแบรนด์นั้น
เพราะเวลาที่ใครเห็นด้วยกับเรา ความเห็นของเราก็จะฟังดูน่าเชื่อถือมากขึ้น แต่ถ้าไม่เห็นด้วย ความเห็นเราก็จะดูอ่อนลงทันที
แต่ถ้าอยากให้น่าเชื่อถือมากขึ้น การมีรีวิวต่อว่าสินค้าและบริการของเราบ้างก็ทำให้แบรนด์น่าเชื่อถือมากขึ้นเช่นกัน เพราะไม่มีสินค้าและบริการที่ไหนเพอร์เฟค 100% หรอก ฉะนั้นลืมเรื่องเรทติ้ง 5 ดาวไปได้เลย มันไม่มีอยู่จริงหรอก
2. ต้องสร้างบุคลิกของแบรนด์ เพิ่มผู้ติดตามเป็นล้าน
การที่แบรนด์ของคุณต้องมีมาสคอท หรืออย่างน้อยต้องมี “บุคลิก” ก็เพราะคนจะนึกถึงแบรนด์ได้ง่ายว่าถ้ารู้สึกว่าแบรนด์นั้นเป็นคนที่มีตัวตนจริงๆ ถ้าแบรนด์ทำตัวดีมีคนชอบ ลูกค้าก็มีแนวโน้มที่จะไลค์ คอมเมนต์ แชร์คอนเทนต์ของแบรนด์และซื้อของจากแบรนด์ซึ่งกลายเป็นคนที่ลูกค้าคนนั้นชอบ
Starbuck ที่ใช้นางเงือกเป็นตัวแทนของแบรนด์
ส่วนการสร้างบุคลิกให้แบรนด์ก็ไม่ได้ยาก ขอให้ใช้ภาพทีมงานของเราบนโพสต์ โดยเฉพาะ Cover Pic ของ Facebook อย่าเสียพื้นที่ตรงนี้ไปกับการขายของเด็ดขาด ชื่อแอดมินที่ดูแลเพจควรจะมีชื่อแบรนด์นำหน้าชื่อของแอดมินคนนั้น ถ้าจะใหห้ดีมีมาสคอทสำหรับแบรนด์ด้วย และที่สำคัญที่เจ้าหน้าที่ได้มีโอกาสคุยกับลุกค้าตัวต่อตัวด้วยชื่อจริงตัวจริง แสดงความจริงใจกันไปเลย
3. ใช้อารมณ์ขันสร้างความสัมพันธ์กับผู้ติดตามโชเชียลมีเดีย
แล้วจะทำอย่างไรให้คอนเทนต์ตลกล่ะ? ถ้าเราไม่ใช่พวกตลกมืออาชีพ ก็ไม่ต้องพยายามตลกก็ได้ แต่ของให้คอนเทนต์ของเราซื่อสัตย์ ตรงไปตรงมา พูดถึงเรื่องจริงที่เกิดขึ้น อย่าจริงจังเกินไปนัก สนุกบ้างก็ได้ และให้แฟนเพจมีส่วนร่วมบ้างก็ดี
เพราะเรารู้กันว่า ถ้าเราทำให้ใครขำ สมองคนนั้นจะหลั่งสารเอนโดรฟิน ทำให้คนนั้นมีความสุขและเปลี่ยนมุมมองที่มีต่อโลกรอบตัว ต่อให้เจอเรื่องแย่แค่ไหนก็ตาม ถ้าคนนนั้นกำลังอารมร์เสีย หงุดหงิดไม่ว่าจากเรื่องอะไรก็ตาม ถ้าคอนเทนต์ของเราทำให้เขายิ้มได้ หัวเราะได้ เขาก็จะมีความสุขและผ่านเหตุการณ์ที่ทำให้เขาอารมณ์เสียได้ และนั่นยิ่งทำให้เขากดไลค์ กดแชร์คอนเทนต์ของเรามากขึ้นไปอีก
เหตุผลทางจิตวิทยาก็เข้าใจได้ไม่ยาก ถ้าเราทำอะไรดีๆ (เช่นกดไลค์) สมองของเราก็จะเกิดความลำเอียงต่อเนื่องมากขึ้น (Consistency Bias) การกดไลค์ของเราจะเชื่อมตัวเราเข้าหาแบรนด์ และเราก็มีแนวโน้มที่จะกดไลค์มากขึ้นเรื่อยๆกับแบรนด์เช่นกัน
เพจนัดเป็ดที่ใช้มุขทำโฆษณาไอโฟนราคาถูกที่ DTAC จำหน่าย
4. ใช้เทคนิค “Reciprocity” ดัน Engagement เพิ่มยอดขาย 3 เท่า
การให้ของฟรี แล้วเดี๋ยวลูกค้ามาไลค์ คอมเมนต์ แชร์และซื้อของเราเองนั้นจะได้ผลถ้าเราจัดแคมเปญหรือกิจกรรมให้แฟนเพจแย่งชิงรางวัลแข่งกัน เรามักจะเห็นแบรนด์ชอบพูดว่า ถ้าไลค์ คอมเมนต์ใต้โพสต์นี้ หรือแชร์โพสต์นี้ออกไป ก็จะได้รางวัลตามที่สุ่มหรือถูกใจทีมงาน นั่นเป็นเทคนิคจิตวิทยาง่ายๆอย่าง Reciprocity นั่นเอง
แนวคิด Reciprocity ก้ไม่ได้ใหม่อะไรมากมาย มันคือการที่ใครทำดีกับเราแล้ว ลึกๆเราอยากตอบแทน ถึงแม้จะเป็นเรื่องเล็กๆน้อยๆก็ตาม จริงๆแล้วมันเป็นพฤติกรรมที่พัฒนามาทำให้เรามีชีวิตรอดในสมัยที่เราล่าสัตว์แล้วเราแบ่งอาหารกันในแต่ละครั้ง ไม่เช่นนั้นอาจถูกกีดกันออกจากเผ่าและอดตายในที่สุด
แต่ในยุคสังคมออนไลน์ เราคงไม่ถึงกับต้องล่าสัตว์หาของกินมาให้ผู้บริโภคหรอก ขอแค่ให้ของฟรีกับแฟนๆที่น่ารัก เขียนจดหมายขอบคุณที่คอยกดไลค์ คอยคอมเมนต์อยู่บ่อยๆ คอยคอมเมนต์ แชร์คอนเทนต์ของแฟนๆและแทคไป และเซอร์ไพรส์แฟนๆด้วยของชำร่วยเก๋ๆไม่ว่าจะเป็นเสื้อ หรือหมวก ก็ได้
เพจ Aremakeup ทำแคมเปญแจกลิปสติก เพื่อแลกกับการกดไลค์ กดแชร์ และติดดาว (See First)
5. อยากได้แชร์เยอะๆ ก็ต้องพึ่งผู้มีอิทธิพลออนไลน์ให้ช่วยแชร์
จะให้ผู้มีอิทธิพลออนไลน์ช่วยโปรโมทแบรนด์ของเรา ก่อนอื่นเราต้องเลือกคนที่ “ใช่” ก่อน ซึ่งต้องเป็นที่เกี่ยวกับวงการธุรกิจของเรา หรือตลาดของเรา คนนั้นต้องมีคนมีไลค์ คอมเมนต์ แชร์เยอะพอสมควร มีลิสต์อีเมลของแฟนๆ มีบล็อกหรือเว็บไซต์
รถ BR-V ให้เพจอีเจี๊ยบ เลียบด่วนที่มีคนติดตามกว่า 2 ล้านช่วยโปรโมทสินค้าและแบรนด์
ซึ่งเราต้องให้ผู้มีอิทธิพลให้ถูกกับเป้าหมายธุรกิจและกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่ใช่ด้วย ถึงจะทำให้ยอดผู้ชมเว็บไซต์มากขึ้นได้ การจ้างผู้มีอิทธิผลช่วยแชร์คอนเทนต์ของเราจะสร้างผลทางจิตวิทยาที่เรียกกันว่า “Halo Effect” หรือทำให้คนเกิดความลำเอียงขึ้นมา ทำให้เราตัดสินความเห็นของคนๆหนึ่งจากความประทับใจ ที่เรามีต่อเขา ถ้าเราชอบ เราชื่นชมเขา เราก็มีแนวโน้มใส่ใจสิ่งที่เขาพูดมากขึ้น
การใช้ผู้มีอิทธิพลออนไลน์ช่วยแชร์คอนเทนต์ของเรายังสร้างผลทางจิตวิทยาที่เรียกว่า “Implicit Egotism” ด้วย เพราะจิตใต้สำนึกลึกๆของเราแล้ว เราจะตอบสนองที่ทางบวกกับอะไรก็ตามที่ทำให้เรานึกถึงตัวเอง ถึงแม้ว่าจะดูไม่มีเหตุผลเลยก็ตาม
เรามักจะให้ค่ากับความเห็นของคนอื่นที่คล้ายกับเรา เรามีแนวโน้มที่จะเปรียบเทียบตัวเองกับผู้มีอิทธิพลที่เราติดตามและทำตามด้วย
แหล่งที่มา
https://blog.hootsuite.com/social-media-psychology/