ไปให้ไกลกว่า Demographic ด้วยการใช้ Psychographics และการทำ Emotional Segmentation

  • 22
  •  
  •  
  •  
  •  

 

การทำ Segmentation แบบ Demographic ของลูกค้านั้นไม่เพียงพอในปัจจุบันแล้ว แน่นอนว่าการรู้เรื่อง อายุ รายได้ และที่อยู่อาศัยของกลุ่มเป้าหมายจะช่วยให้นักการตลาดนั้นเข้าใจในเรื่องพื้นฐานข้อมูลของกลุ่มเป้าหมายว่าเป็นกลุ่มใด แต่ข้อมูลเหล่านี้ไม่ได้จับแก่นแท้ของกลุ่มเป้าหมายจริง ๆ ว่าคิดอย่างไร มีความต้องการอย่างไร ใช้หลักการอะไรในการมาตัดสินใจที่จะซื้อหรือไม่ซื้อสินค้าของคุณ ซึ่งตรงนี้เอง การที่แบ่งกลุ่มตามจิตวิทยาเข้ามาตอบโจทย์ตรงนี้ เพราะด้วยการแบ่งกลุ่มตามจิตวิทยา จะสามารถกลายเป็นเครื่องมือที่ทรงพลังในอย่างมากในการเข้าใจ อะไรที่ขับเคลื่อนทางอารมณ์ที่มีผลต่อการตัดสินใจของกลุ่มเป้าหมายขึ้นมาได้

การเข้าใจจิตวิทยา นั้นเป็นการเปิดเผยเหตุผลเบื้องหลังการซื้อ

ข้อมูลประชากรจะบอกเราแค่ใครเช่น อายุ เพศ รายได้ เป็นต้น แต่ข้อมูลจิตวิทยาจะลึกลงไปถึงทำไมเช่น ค่านิยมความสนใจ ไลฟ์สไตล์ และบุคลิกภาพของคน มันเกี่ยวกับการเข้าใจว่าอะไรที่เป็นแรงจูงใจ อะไรที่กลุ่มเป้าหมายต้องการ หรือปรารถนา และอะไรคือตัวกระตุ้นทางอารมณ์ที่มีผลต่อการเลือกของพวกกลุ่มเป้าหมาย

ลองนึกภาพว่าแบรนด์ของนักการตลาดนั้นเป็นบริษัทขายอุปกรณ์กลางแจ้ง ข้อมูล Demographics อาจบอกคุณว่ากลุ่มเป้าหมายของแบรนด์อยู่ในช่วงอายุ รายได้ หรืออยู่ในพื้นที่ใด พื้นที่หนึ่ง แต่ด้วยข้อมูลจิตวิทยาสามารถเปิดเผยข้อมูลที่มีค่ามากมาย เช่น:

1. Value-driven customers : ซึ่งมีความเชื่อเรื่องสิ่งแวดล้อม และอาจเป็นนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่ให้ความสำคัญกับอุปกรณ์ที่ทำจากวัสดุที่ยั่งยืน ตัวกระตุ้นทางอารมณ์ของพวกเขาคือการซื้อสินค้าที่สอดคล้องกับความเชื่อเกี่ยวกับการปกป้องโลกรักษาสิ่งแวดล้อม

2. กลุ่มเป้าหมายที่ชอบการผจญภัย : อาจให้ความสำคัญกับคุณสมบัติของอุปกรณ์สำหรับกีฬาผจญภัย ตัวกระตุ้นทางอารมณ์ของกลุ่มเป้าหมายคือการรับรู้ถึงความตื่นเต้นและความสำเร็จจากการผลักดันขีดจำกัดของตัวเอง

3. กลุ่มเป้าหมายที่มีครอบครัว : อาจชอบอุปกรณ์ที่ช่วยให้ใช้เวลาคุณภาพกับคนที่รัก ตัวกระตุ้นทางอารมณ์ของกลุ่มเป้าหมายนี้คือการสร้างความทรงจำที่ยาวนานและสร้างความสัมพันธ์กับครอบครัว

 

 

การเข้าใจจิตวิทยาเหล่านี้ช่วยให้แบรนด์นั้นสามารถสร้าง Content หรือ Copy Ads ของแบรนด์ที่ตอบสนองต่อความต้องการทางอารมณ์ที่เฉพาะเจาะจง โดยใช้ตัวอย่างข้างต้น นี่คือวิธีที่แบรนด์สามารถสร้างข้อความของเพื่อให้มี Effective สูงสุดขึ้นมาได้

1. Value-driven customers : ต้องพูดถึงค่านิยมหรือความเชื่อของคนกลุ่มนี้ เช่น การแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของแบรนด์ในการปฏิบัติที่ยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

2. กลุ่มเป้าหมายที่ชอบการผจญภัย : สำหรับลูกค้าที่ชอบการผจญภัย ให้เน้นถึงจิตวิญญาณแห่งการผจญภัยและความสามารถของอุปกรณ์ของคุณ เช่นแบรนด์ Rolex ที่ชอบพูดถึงการผจญภัยในรูปแบบต่าง ๆ หรือแบรนด์ Patagonia ที่พูดถึงการผจญภัย

3. กลุ่มเป้าหมายที่มีครอบครัว : สำหรับลูกค้าที่มีครอบครัว ให้เน้นถึงบทบาทของอุปกรณ์ในการสร้างความทรงจำที่ยาวนาน สร้างประสบการณ์ที่ดี และเสริมสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัวขึ้นมา

นักการตลาดนั้นสามารถเริ่มใช้การแบ่งทางจิตวิทยาด้วยการเริ่มต้นด้วยการสร้างโปรไฟล์ลูกค้าขึ้นมา โดยสามารถเริ่มต้นด้วยการสำรวจหรือแบบสอบถาม ถามกลุ่มเป้าหมายที่แบรนด์ต้องการให้บริการเกี่ยวกับค่านิยม ความสนใจ และไลฟ์สไตล์ของพวกกลุ่มเป้าหมาย การเก็บ Data จาก social media ขึ้นมาเพื่อเข้าใจภาษาที่กลุ่มเป้าหมายใช้และหัวข้อที่พวกกลุ่มเป้าหมายสนใจ สิ่งที่กลุ่มเป้าหมายหลงใหลและกลุ่มเป้าหมายมีความผิดหวังอะไรบ้าง

นำสิ่งที่ได้มาเรียนรู้มาสร้างโปรไฟล์กลุ่มเป้าหมายในอุดมคติออกมา รวมถึงรายละเอียดทั้งข้อมูลประชากรและจิตวิทยา ซึ่งจะช่วยให้คุณเห็นภาพกลุ่มเป้าหมายของแบรนด์ได้ดีขึ้น

Demographics นั้นเป็นจุดเริ่มต้น แต่ psychographics เป็นกุญแจที่แท้จริงในการเข้าใจกลุ่มเป้าหมาย ด้วยการใช้ psychographics  และการแบ่งกลุ่มตามอารมณ์ แบรนด์สามารถสร้างข้อความของแบรนด์ที่พูดตรงไปยังจิตใจและจิตวิทยาของกลุ่มเป้าหมายได้ทันที


  • 22
  •  
  •  
  •  
  •  
Molek
Head of Strategic Marketing ใน Integrated Service Agency ที่หนึ่ง ผู้หลงใหลในหลาย ๆ ที่มีความอยากรู้และเรียนรู้ในเรื่อง Startup, นวัตกรรม, การตลาด จากมุมมองหลาย ๆ ด้านและวัฒนธรรมของแบรนด์ต่าง ๆ