ในยุคที่ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงข้อมูลอย่างมหาศาลอย่างรวดเร็ว ธุรกิจต้องตระหนักถึงการกระทำที่จริงใจและถูกต้องมีจริยธรรม เช่น นำข้อมูลของผู้บริโภคนำไปใช้โดยปราศจากคำยินยอม การใช้ influencer อย่างหนักหน่วงจนทำให้แบรนด์นั้นเสียความน่าเชื่อถือและดูไม่จริงใจต่อผู้บริโภค
ปัญหาทางสังคมและสิ่งแวดล้อมนั้นเป็นสิ่งที่ผู้คนตระหนักมากกว่าเมื่อก่อน และยังเป็นประเด็นที่อ่อนไหวอย่างมากในยุคปัจจุบันโดยเฉพาะในยุคโควิด 19 ที่เป็นตัวจุดประกายค่านิยมเหล่านี้ ที่มีความเห็นอกเห็นใจ ใส่ใจ และ เปิดกว้าง มากกว่าในอดีต
อย่างที่เห็นได้ในประเด็นที่ผ่านๆมา เช่น อย่างความเท่าเทียมทางเพศ, ความหลากหลายทางเชื้อชาติ และประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม การที่ผู้บริโภคมีความจริงจังต่อค่านิยมเหล่านี้มากกว่าเมื่อก่อน จะส่งผลให้เมื่อเขาไม่เชื่อใจหรือแคลงใจในแบรนด์ต่างๆ
หากแบรนด์ที่ทำตัวไม่เหมาะสม จะเป็นเชื้อไฟนำไปสู่การเคลื่อนไหวของผู้บริโภคในการต่อต้านแบรนด์นั้น ซึ่งแบรนด์ต้องมีความละเอียดถี่ถ้วนในการรับมือ เพราะผู้บริโภคสามารถส่งผลลัพธ์ไปสู่การถูกบอยคอตและสูญเสียลูกค้าซึ่งเป็นสิ่งที่สร้างความอันตรายต่อแบรนด์เป็นอย่างมาก
สิ่งที่ธุรกิจควรทำพร้อมกรณีศึกษา
การจะก้าวมาเป็นแบรนด์ที่มีจุดยืนที่ชัดเจน ธุรกิจต้องสามารถรักษาสัญญาที่ให้ไว้โดยสามารถแสดงออกและลงมือทำจริง ผ่านวิสัยทัศน์ ค่านิยม เป้าหมาย การสื่อสาร และกิจกรรมต่างๆขององค์กร
เสริมแกร่งจุดยืนและค่านิยมของแบรนด์ด้วยลงมือทำจริง
แบรนด์เงินติดล้อ ที่ทำธุรกิจ Micro Finance มีความตั้งใจอยากให้ลูกค้าหลุดพ้นจากความเป็นหนี้ที่ไม่มีที่สิ้นสุด ซึ่งเป็น pain point ของกลุ่มเป้าหมายมาก รวมถึงการให้บริการที่เป็นธรรมอย่างจับต้องได้ แบรนด์จึงมีการทำกิจกรรมหลายอย่างเพื่อสร้าง Brand Do ไม่ใช่แค่ Brand Say เช่น
ปั้นแบรนด์ผ่านเรื่องราวที่น่าประทับใจ
แบรนด์ต้องมีเรื่องราวที่ลึกซึ้งและน่าเชื่อถือที่สามารถทำให้เป็นจริงได้จะช่วยปั้นให้แบรนด์มีมูลค่าสูงขึ้นและแข็งแกร่งกว่าเดิม
กรณีศึกษา
เรื่องราวที่น่าสนใจของแบรนด์ Freitag มาจากการใช้วัสดุเหลือใช้ แบรนด์ Freitag มีที่มาจากพี่น้องชาวสวิสสองคนที่ปราถนาจะเปลี่ยนของเหลือให้เป็นสินค้าแฟชั่น กระเป๋าแฟชั่นของทางแบรนด์นั้นทำมาจากผ้าใบกันน้ำ เข็มขัดนิรภัยรถ ท่อจักรยาน ที่ใช้มาอย่างน้อยสามปี หากไม่ถึงสามปียังไม่ถือว่าเข้าเกณฑ์ เพราะแนวคิดนี้เองที่ทำให้แบรนด์ได้รับความนิยมอย่างมากโดยเฉพาะคนเจนเนอเรชั่น millennial
เคสตัวอย่าง แพลทฟอร์มที่มีชื่อว่า Freitag’s S.W.A.P เป็นแพลทฟอร์มช็อปปิ้งโดยไม่ต้องจ่ายตังโดยการใช้ระบบจับคู่เหมือนทินเดอร์ที่ให้คนมีกระเป๋า Freitag ได้แลกกระเป๋ากันและกัน ระบบนี้ส่งเสริมให้ลดการสร้างขยะและยังยืดอายุการใช้งานของกระเป๋าซึ่งแนวคิดของระบบนี้ยังสอดคล้องกับแนวคิดหลักของตัวแบรนด์อีกด้วย
กิจกรรมฟื้นชีวิตให้แบรนด์
การสร้างแบรนด์ขึ้นใหม่และยังคงรักษาไว้ซึ่งภาพลักษณ์ที่ดีเพื่อทำให้ลูกค้ายังรักและรู้สึกดีอยู่
กรณีศึกษา
นันยางมีความคิดที่อยากจะเปลี่ยนสินค้าที่ทดแทนกันได้ไม่มีความแตกต่างกันระหว่างแบรนด์อย่างรองเท้าแตะไปเป็นสินค้าที่น่าหลงไหลและทันสมัย เห็นได้จากตัวอย่างดังต่อไปนี้
KHYA รองเท้าแตะที่ทำมาจากขยะจากท้องทะเลตัวสินค้ามีจุดมุ่งหมายที่จะทำให้ผู้คนตระหนักถึงมลภาวะในท้องทะเลและประเทศไทยเองก็เป็นประเทศที่มีขยะในท้องทะเลเยอะเป็นอันดับ 6 ของโลก
ถุงไวนิลนันยาง กระเป๋า Freitag แบบฉบับคนไทยที่ทำมาจากไวนิลและวัสสดุเหลือใช้จากกระบวนการผลิตรองเท้า สินค้ามีจุดมุ่งหมายคือการสร้างมูลค่าจากวัสดุเหลือใช้
Key Take Away:
- แบรนด์ที่ดี ไม่ได้เกิดมาเป็นฮีโร่ที่หล่ออยู่คนเดียว แต่หมายถึงการช่วยลูกค้าคุณให้มีชีวิตที่ดีขึ้น หรือ ตอบความฝันและเป้าหมายชีวิตของลูกค้าได้ต่างหาก
- หาวิธีปั้น good guy ที่เหมาะกับของ สไตล์ brand คุณ
- ไม่ใช่แค่พูด แต่ต้องทำจริงด้วย หมดยุคที่แบรนด์สื่อสารแต่ไม่ได้ลงมือทำจริง ในการสร้างคุณค่าใหม่ๆให้ผู้ใช้ สังคม หรือ โลกใบนี้
เรียบเรียงและศึกษาข้อมูลโดย Hummingbirds Consulting