หลาย ๆ คนนั้นคงได้ยินเรื่องที่ร้านค้าที่มีหน้าร้านจะตายลง หรือห้างใหญ่ ๆ ที่ยอดขายตกลงเพราะ e-Commerce ในต่างประเทศ อย่างเช่น Walmart ที่ต้องปิดตัวสาขาลงไป ทั้งนี้ในความจริงแล้วไม่ใช่ทุกห่างจะปิดตัวลง หลาย ๆ ห้างก็ยังอยู่ต่อสร้างยอดขายได้ แต่แค่ต้องมีการปรับตัวที่มากขึ้นในยุคที่ดิจิทัลนั้นกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต
พฤติกรรมของผู้บริโภคนั้นมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมายมาตั้งแต่ในช่วงการมาถึงดิจิทัลและการมี e-Commerce ขึ้นมา ในการซื้อของก่อนที่จะมีดิจิทัลนั้นผู้บริโภคทำการซื้อสินค้าจากห้างและร้านค้าโดยตรง จากนั้นก็มีการพัฒนาเป็นการสั่งซื้อแต่ก็ยังเป็นการสั่งซื้อสินค้าตรงจากร้านค้าและห้างให้มาส่งที่บ้านอยู่ดี จนเมื่อมีอินเทอร์เนตเข้ามาสู่สังคม ผู้บริโภคเปลี่ยนจากการซื้อของผ่านหน้าร้านหรือโทรเข้าไปมาเป็นการซื้อของผ่านอินเทอร์เนตแทน จากตรงจุดนี้จึงเริ่มมีห้างและร้านค้าแบบใหม่ขึ้นมาที่ไม่มีหน้าร้าน แต่เป็นขายออนไลน์ล้วน ๆ และผู้คนก็นิยมมากกว่า เพราะมีบริการส่งฟรี ราคาถูกกว่า ทำให้จุดนี้เองที่ทำให้ห้างและร้านค้าต่าง ๆ ที่แบกต้นทุนเริ่มทนไม่ไหวและกิจการต้องปิดตัวลงไปหลายที่
พฤติกรรมของผู้บริโภคนั้นไม่ได้หยุดการเปลี่ยนแปลงในการซื้อของออนไลน์ แต่เกิดการเปลี่ยนแปลงอีกครั้งเพราะในปัจจุบัน ด้วยเครื่องมือที่มีหลากหลาย และประสบการณ์จากการใช้งาน e-Commerce ต่าง ๆ ผู้บริโภคในปัจจุบันนั้นจะมีพฤติกรรมที่จะมีการค้นหาสินค้าออนไลน์ และไปเดินดูสินค้าจริงเพิ่มเติมเพื่อให้เห็นว่าจะเหมาะกับตัวเองไหม หลังจากนั้นจึงกลับไปซื้อสินค้าผ่านออนไลน์ และให้มาส่งที่บ้านหรือไปรับที่ห้างและจุดที่ต้องการ (ซึ่งนี้เป็นรูปแบบของการทำ Omnichannel แบบหนึ่ง) ความต้องการที่เปลี่ยนไปของผู้บริโภคทำให้แม้แต่ e-Commerce นั้นต้องหันมาสร้างหน้าร้านบางส่วนเพื่อตอบสนองผู้บริโภคที่ต้องการมาดูสินค้า อย่างเช่น Amazon เมื่อแม้แต่ e-Commerce ยังต้องมาทำหน้าร้านของตัวเอง ทำให้ร้านค้าและห้างที่เข้าใจนั้นก็ปรับตัวเปลี่ยนห้างและร้านค้าของตัวเองให้เหมาะกับผู้บริโภคมากขึ้นไปอีก นั้นคือการเปลี่ยนทั้งร้านและห้างนั้นให้ผู้บริโภคมามีประสบการณ์ในการมาดูสินค้า และมีปฎิสัมพันธ์ต่าง ๆ ได้ (เป็นโชว์รูม ขนาดยักษ์)
ทั้งนี้ในยุคใหม่นี้ห้างและร้านค้าที่มีหน้าร้านนั้นต้องหันมาสร้างประสบการณ์ในการมาดูสินค้าได้ดีที่สุด ในต่างประเทศเองนั้นมองว่า ห้างนั้นต้องกลายเป็นเหมือนสนามเด็กเล่นของผู้ใหญ่ที่สามารถให้มาลองสินค้า เล่นกับสินค้า สัมผัส และมีปฏิสัมพันธ์กับสินค้าต่าง ๆ หรือบรรยากาศในหน้าร้านนั้นได้ หลังจากนั้นจึงต้องสร้างประสบการณ์ให้ผู้บริโภคนั้นสามารถซื้อถ้าอยากื้อได้ทันที หรือสามารถกลับไปซื้อออนไลน์ได้ หรือผสมผสานของทั้งคู่ได้ ในตอนนี้ห้างหลาย ๆ ที่ในต่างประเทศก็ผสมผสานเรื่องการทำ Immersive Expirience กับ Brand Storytelling เข้าไป อย่างเช่นห้างของ Samsung ใน Newyork ที่กลายเป็นสถานที่ที่ผู้บริโภคจะได้มารับประสบการณ์ของผลิตภัณฑ์ซัมซุงผ่านการเล่นต่าง ๆ หรือแม้แต่ตอนนี้กับ Pop up store ของ Google ใน Newyork เช่นกันที่ให้ผู้บริโภคมาดูการทำงานสินค้า มามีประสบการณ์กับสินค้าก่อนที่จะไปสั่งสินค้าออนไลน์
เคล็ดลับในยุคนี้ที่จะทำให้ห้างและหน้าร้านนั้นสามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้นั้นต้องมี 4 ลักษณะที่สำคัญดังนี้ที่จะเข้าถึงผู้บริโภคยุคใหม่ได้
- Experience การสร้างประสบการณ์ให้ลูกค้าที่ดีที่สุด ให้สามารถมีประสบการณ์ร่วมหรืออิ่มเอิ่มกับการอยู่ในหน้าร้านต่าง ๆ จนรู้สึกพอใจที่จะซื้อสินค้าหรือกลับไปซื้อสินค้าได้
- Social การสร้างระบบปฏิสัมพันธ์ให้ผู้บริโภคนั้นสามารถมามีปฏิสัมพันธ์ที่หน้าร้าน และแชร์ประสบการณ์เหล่านั้นออกไปสู่ออนไลน์หรือรับประสบการณ์ออนไลน์ที่เชื่อมมาสู่หน้าร้านนั้น
- Sensorial การให้ผู้บริโภคนั้นอิ่มเอิ่มกับสัมผัสทั้ง 5 ของร่างกายผ่านการเล่าเรื่องแบบต่าง ๆ ซึ่งสัมผัสนั้นจะถูกจดจำไปในสมอง
- Adaptable สร้างสถานที่ที่เปลี่ยนจากการขาย มาเป็นสถานที่ที่ให้พลังผู้บริโภคที่จะมาสัมผัสประสบการณ์หรือรับประสบการณ์ที่ต้องการก่อนการซื้อได้
จากรูปแบบนี้ไม่ใช่แค่แบรนด์เทคโนโลยีเท่านั้นที่ทำได้ ร้านค้าอย่างร้านขนม หรือร้านเสื้อผ้าก็สร้างหน้าร้านด้วยหลักการ 4 ข้อจนสามารถดึงดูดลูกค้าให้มาสนุกที่ร้าน หรือกลายมาเป็นที่พบปะเจอคนที่ชอบในเรื่องเดียวกันที่ร้านได้อย่างเช่นร้านขนม Dylan’s Candy Bar ทีมีจุดให้ผู้บริโภคที่มาร้านนั้นสามารถสนุกในการพิมพ์ขนม 3D Printing หรือร้านคลับเฮาส์ผู้ชายอย่าง Wingtip ก็มีบริการต่าง ๆ ที่ายต้องการ รวมทั้งการเล่นเกม golf simulator ในนั้น
httpv://www.youtube.com/watch?v=3qX9vWqsoLE
ด้วยหลักการยุคใหม่นี้ร้านค้าต้องปรับตัวและเข้าใจบทบาทตัวเองมากขึ้นว่าจะเปลี่ยนหน้าร้านไปทำหน้าที่อะไร และจะสร้างประสบการณ์แบบไหนให้ลูกค้าตัวเองจนไปซื้อสินค้าต่อตามความต้องการได้