“นี่มันปี 2023 แล้วนะ” สายโซเชี่ยลคงได้เห็นประโยคนี้ผ่านตาไม่มากก็น้อยเป็นคีย์เวิร์ดในการแสดงความคิดเห็นต่อสิ่งที่เราคิดว่ามันบ้ง! หรือสิ่งที่ไม่ก้าวผ่านของกรอบเดิมๆ ยิ่งในแวดวงอุตสาหกรรมธุรกิจหลายสิ่งเริ่มเปลี่ยนไปทั้งผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ความหลากหลายทางเพศมากขึ้น การเลือกใช้พรีเซ็นเตอร์ที่เป็น LGBTQ+ เพราะความหลากหลายทางเพศเป็นเรื่องของธรรมชาติการแสดงออกในปัจจุบันจึงเป็นเรื่องปกติแค่ถ้ามองด้วยมุมมองของธุรกิจการเติบดตของกลุ่ม LGBTQ+ มีความน่าสนใจอยู่ไม่น้อย
โอกาสของนักการตลาดกลุ่ม LGBTQ+ กำลังซื้อสูง
โครงสร้างทางสังคมของเพศจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคลขึ้นอยู่กับสถานที่ เวลา ศาสนา สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม ปัจจุบันการจัดหมวดหมู่มีความหลากหลายมากกว่าแค่ชายและหญิง ตัวอย่างเช่น ชุมชน LGBTQ+ มีความหลากหลายทางเพศ รู้สึกว่าการประกาศตัวเองเป็นการเพิ่มขีดความสามารถ จัดพื้นที่ให้ทุกคนมีแสดงออกความชอบของแต่ละคนแม้แตกต่าง ทำให้เกิดความรู้สึกว่าทุกคนเท่าเทียมกันและมีคุณค่าในตนเอง
ประชากร LGBT เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปว่ามีสัดส่วน 5-10% ของประชากรทั้งหมด และด้วยการพัฒนาล่าสุดโดยเฉพาะ ชุมชน LGBT ได้รับการรับรู้ในเชิงบวกและความเท่าเทียมกันที่เพิ่มขึ้น – ด้วยโมเมนตัมและการรับรู้ของกลุ่มผู้บริโภค LGBT ที่เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด LGBT Capital ประมาณการว่าอำนาจการใช้จ่ายรวมทั่วโลกของฐานผู้บริโภคนี้ (LGBT-GDP) จะอยู่ที่ประมาณ 3.9 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี (หรือประมาณ 136,577,700 บาทต่อปี) (วัดจาก Nominal GDP) จากประชากร LGBT กว่า 15 คนซึ่งมีประมาณ 371 ล้านคนทั่วโลก รายการประมาณการที่ครอบคลุมมากขึ้นสำหรับ LGBT-GDP และประชากร (ตามประเทศ ภูมิภาค และทั่วโลกที่เลือก)
จากการสำรวจพบว่าชายไทย 1 ใน 3 ที่เป็นเกย์นั้น หมายถึงมีชายไทยเกือบ 10 ล้านคนที่เป็นชายรักชาย ซึ่งมีทั้งที่แสดงออก และไม่แสดงออก จากการศึกษาในปีพุทธศักราช 2555 พบว่าอายุของกลุ่มเพศนอกกรอบในวัยทำงาน (25-35 ปี) รายได้ 15,001-20,000 บาท ค่าใช้จ่ายในการซื้อของใช้ที่เกี่ยวข้องกับการแต่งกายต่อเดือนๆ ละ 3,000 บาท และส่วนใหญ่หมดไปกับค่าใช้จ่ายเรื่องเสื้อผ้า และเครื่องแต่งกาย การศึกษาอีกหนึ่งชิ้นในปีพุทธศักราช 2557 พบว่า กลุ่มเพศนอกกรอบมีรายได้สูง จึงถือเป็นอีกกลุ่มผู้บริโภคที่สินค้าและบริการจากแบรนด์ต่างๆ ให้ความสนใจในการเจาะตลาดนี้เพิ่มขึ้น และเป็นกลุ่มคนที่มีไลฟ์สไตล์ แบบ Work hard, Play hard
การตลาด เจาะใจกลุ่ม LGBTQ+ แบบจริงใจไม่ฉาบฉวย
คุณสุเมธ ศรีเมือง และ คุณทอม ตัน เซียง เกี๊ยบ กรรมการผู้จัดการ บริษัท จีเซอร์คิท จำกัด ผู้คร่ำวอดในธุรกิจที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นกลุ่ม LGBTQ+ มามากกว่า 10 ปี ดำเนินธุกิจ ‘GCIRCUIT’ (จีเซอร์คิท) ผู้จัดงานเกย์แดนซ์เฟสติวัลระดับนานาชาติ ได้พูดถึงแนวทางการทำงานร่วมกับกลุ่มลุกค้าที่มีความหลายหลากทางเพศว่ากลุ่ม LGBTQ+ คือนักครีเอทีฟตัวจริง ภาษาที่ใช้สื่อสารกับคนกลุ่มนี้ต้องเป็นภาษาที่จริงใจแบรนด์ต้องแสดงจุดยืนอย่างตรงไปตรงมาไม่ใช่หวังคือเงินของลูกค้าเท่านั้น อย่างที่ผ่าน GCIRCUIT ได้มางานจัดงานเฟสติวัลโดยมีผู้ร่วมงานกว่า 8,000 คนต่อวัน หรือกว่า 30,000 คนช่วงจัดงาน 4 วัน แบ่งเป็น กลุ่มเกย์ชาวไทย 30% และกลุ่มเกย์ชาวต่างชาติ 70% ซึ่งมาจากหลายประเทศทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็น ญี่ปุ่น เกาหลี สิงคโปร์ จีน ไต้หวัน อเมริกา ออสเตรเลีย ฯลฯ
นอกจากนี้ทีมผู้จัดงานอย่าง GCIRCUIT ขอแสดงความคิดเห็นและยังฝากถึงกลุ่มธุรกิจใหญ่ ๆ ได้อย่างน่าสนใจว่า การเดินทางจากอดีตจนถึงปัจจุบันมีความท้าทายยากลำบากเกิดขึ้นมากมายของคนในกลุ่ม LGBTQ+ ทั้งในแง่ของการปิดกั้นตัวตนจากสังคมการใช้ชีวิตประจำวันแต่ปัจจุบันไม่ใช่แบบนั้นทุกคนที่จะใช้ชีวิตในแนวทางของตัวเอง เพราะฉะนั้นการที่ผู้คนหรือแบรนด์ใหญ่ ๆ มองเห็นศักยภาพของคนกลุ่มนี้รู้สึกขอบคุณและหวังว่าจะมองภาพรวมไม่ใช่แค่เรื่องของตัวเงินเท่านั้น
How to Marketing ด้วย 8 กลยุทธ์เจาะใจกลุ่ม LGBTQ+
- กลยุทธ์ Simple คือ สินค้าหรือผลิตภัณฑ์ ควร ใช้งานง่าย ไม่มีขั้นตอนซับซ้อน หรือ การบริการ ควร ทำให้เข้าถึงได้ง่าย ไม่ยุ่งยาก มี การสื่อสารการตลาด โดยใช้เนื้อหาที่เข้าใจง่าย ๆ
- กลยุทธ์ Private คือ สร้าง กิจกรรม การรวมกลุ่ม ที่มีความเหมือนกัน หรือ กลุ่มเพื่อนรู้ใจ เพื่อให้เกิดบรรยากาศของความเป็นส่วนตัว เพราะมันจะทำให้เกิดแสดงออกอย่างเป็นตัวของตัวเอง
- กลยุทธ์ Equality คือ สร้างความรู้สึก เท่าเทียม ความรู้สึกของการได้รับโอกาสในสังคมอย่างเสมอภาค โอกาสในการเลือก หรือ ตัดสินใจ บริโภคสินค้า หรือ รับบริการ
- กลยุทธ์ Classy คือ ให้ความรู้สึกดูดี มีระดับ มีรสนิยม ผ่านการเลือกใช้วัสดุ บรรจุภัณฑ์ โทนสี หรือ การใช้การตกแต่งบรรยากาศ ณ จุดบริการ รวมถึง การให้บริการอย่างมีระดับ และ เป็นมืออาชีพ
- กลยุทธ์ Truth คือ การสื่อสารกับอย่างจริงใจ บอกความจริงไม่บิดเบือน ไม่คลุมเครือ เพื่อสร้างความเชื่อถือ และ ความไว้ใจในกลุ่มผู้บริโภค และ ผู้ใช้บริการ
- กลยุทธ์ Respect คือ การให้เกียรติ การเคารพความเป็นตัวตนของกลุ่มผู้บริโภค เพื่อตอบสนองความต้องการของพวกเขาที่ต้องการการยอมรับจากสังคม ยอมรับในความเป็นกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ
- กลยุทธ์ Utility คือ ใช้ประโยชน์ได้จริง และ ตอบสนองตรงตามความต้องการ หรือ สามารถแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันของผู้บริโภคได้ โดย สินค้าต้องมีคุณภาพดี ได้มาตรฐาน
- กลยุทธ์ Motivation คือ การสร้างแรงจูงใจ โดยเชื่อมโยงถึง ความภูมิใจในตัวเอง ในแบบที่เป็น ความรักความสัมพันธ์ในครอบครัว หรือ สร้างแรงบันดาลใจ ในการใช้ชีวิต เอาชนะปัญหา อุปสรรค โดยเฉพาะในเรื่อง การยอมรับความแตกต่างทางเพศ