Innovative Ideas: สร้างสรรค์ infographic อย่างไรให้โดนและเข้าใจง่าย

  • 602
  •  
  •  
  •  
  •  

infographic cover

ที่มาภาพจาก zippypixels.com

Infographic กลายเป็นเครื่องมือหลักที่ผู้ผลิตดิจิตอลคอนเทนต์ทุกคนต้องใส่ใจและกลายเป็นที่นิยมอย่างรวดเร็วในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา จะไม่ให้ป็อบได้ยังไงในเมื่อ infographic เป็นส่วนผสมอันลงตัวระหว่างข้อความที่ให้ข้อมูลกับภาพที่เรียกร้องความสนใจ แถมยังสามารถปรับเปลี่ยนไปใช้ได้กับหลายหัวข้อ

แต่ที่น่าสนใจคือหลายคนมุ่งเน้นไปที่เทคนิคการทำ infographic ให้สวยที่สุด กราฟิคดีที่สุด แต่ลืมไปว่าเนื้อหาและการสื่อสารเป็นจุดประสงค์หลักที่คุณสร้างสรรค์ infographic ขึ้นมา ปรากฏการณ์นี้นำไปสู่ความตายของ infographic ในหลายๆ ครั้งเพราะผู้บริโภคถูกยั่วยวนด้วยสีสันและความ (น่าจะ) ย่อยง่ายของเนื้อหาแต่สุดท้ายกลับพบว่า infographic เหล่านั้นน่าสับสน ลายตา และยังไม่สามารถสื่อสารประเด็นอะไรได้เลย

ยิ่งความนิยมสมาร์ทโฟนเพิ่มสูงเท่าไหร่ มนุษย์ก็ยิ่งคล้ายปลาทองมากขึ้นเท่านั้น พวกเขาอ่านแล้วลืมคอนเทนต์ได้ง่ายเพียงพริบตา ดังนั้น การแปลงคอนเทนต์ทุกอย่างเป็น infographic จึงทำให้สมองจดจำภาพและเนื้อหาได้ทันทีและ infographic จะทำให้ยอดแชร์และยอดไลค์ของคอนเทนต์สูงกว่า 3 เท่าเมื่อเทียบกับคอนเทนต์ทั่วไป

บทความนี้เราจะไม่แนะนำการทำ infographic เชิงเทคนิคแต่จะร่วมแชร์ข้อมูลว่าทำอย่างไรจึงจะสร้างให้ infographic เด่นและดังอย่างมีกลยุทธ์

1.เลือกหัวข้อที่ถูกต้อง

การเลือกหัวข้อสำหรับทำ infographic เป็นเรื่องอันดับแรก มีหัวข้อบางประเภทมีโอกาสดังสูงเมื่อคุณนำมาทำเป็น infographic

เลือกสไตล์ก่อน

เลือกสไตล์ของ infographic ที่คุณอยากสร้างสรรค์ก่อนแล้วค่อยนำเนื้อหาที่เข้ากันมาเทียบ

– เน้นวิวัฒนาการของสิ่งต่างๆ (เช่น เทคโนโลยี ปรัชญา หรือชีววิทยา) =Timeline infographics

– เน้นขั้นตอน แนะนำการใช้งานและความสำเร็จ =instructional infographic

– การเปรียบเทียบสองสิ่ง (เช่น เจ้าของธุรกิจ VS พนักงาน) =Comparison infographics

– ฯลฯ

หากคุณมีไอเดียว่า infographic มีแบบไหนบ้าง เราจะสามารถเลือกเนื้อหามาใส่ได้อย่างถูกต้อง

หัวข้อในกระแส

หาหัวข้อที่อยู่ในกระแสเป็นเรื่องที่พูดง่ายแต่ทำยาก ง่ายๆ ในสเต็ปแรก ลองเปิดเว็บบอร์ดและเว็บข่าวต่างๆ หรืออาจดูสถิติใน Google Trends ประกอบได้

คอนเทนต์เก่าเล่าใหม่

ลองหาโพสต์เก่าๆ พรีเซนเตชั่น หรือสรุปงานสัมมนาที่เข้าใจยากมาย่อยให้เป็น infographic ง่ายๆ หากคุณขุดค้นไปจะพบว่ามีงานมากมายที่ใช้พลังงานและเวลามากมายในการสร้างสรรค์แต่กลับไม่มีวิธีนำเสนอที่ดี ข้อความเหล่านั้นจึงส่งไปไม่ถึงไหน ลองสำรวจข้อมูลของลูกค้า หรืออุตสาหกรรมที่พวกเขาน่าจะสนใจแล้วค่อยนำเสนอ

เปลี่ยนมุมมอง

ลองหาดูก่อนว่ามี infographic ที่ใกล้เคียงแบบที่เราเคยทำไปแล้วไหม หากมีแล้วไม่ได้หมายความว่าทำไม่ได้แต่เราต้องพัฒนาต่อยอดความคิดนั้นให้มากขึ้นไปอีก เช่น หากเคยมีคนเสนอประโยชน์ของครีมบำรุงผิว infographic ของเราอาจเป็นการเปรียบเทียบครีมบำรุงผิวกับผลิตภัณฑ์แบบอื่นๆ ที่ทำงานใกล้เคียงกัน หากเราพบ infographic ที่มีลักษณะใกล้กับของเราก็อุ่นใจได้ว่าอย่างน้อยน่าจะมีสนใจหัวข้อที่เรานำเสนอ

Veganism-infographic

2.ค้นคว้า

แหล่งอ้างอิงมีความสำคัญมากสำหรับงาน infographic หากไม่มีแหล่งสารที่น่าเชื่อถือ infographic ของคุณก็จะไม่มีใครเชื่อถือเลย

หาข้อเท็จจริงและสถิติ

เริ่มจากมองหางานเหล่านี้ในองค์กรของคุณก่อน จากนั้นก็ค่อยทำสำรวจลูกค้า รายงานการขาย และข้อมูลเกี่ยวกับเทรนด์ของอุตสาหกรรม หาข้อมูลที่ไม่ยากไม่ง่ายเกินไปเพื่อมาทำเป็น infographic อีกจุดหนึ่งที่สำคัญคือต้องแน่ใจว่าข้อมูลเหล่านั้นอัพเดทและน่าเชื่อถือ มีหลักฐานจากหน่วยงานราชการหรือหน่วยงานการศึกษายอมรับ ไม่ใช่นำมาจากเว็บเสรีอย่าง Wikipedia ตอนปิดต้องอ้างอิงแหล่งข่าวปิดท้ายด้วย

การโค้ดคำพูด

การใช้โค้ดคำพูดคือการนำคำพูดของบุคคลที่มีชื่อเสียง น่าเชื่อถือ ผู้เชี่ยวชาญมาทั้งหมดโดยไม่มีการดัดแปลง เราจะใส่ “” หน้าข้อความเหล่านั้นและระบุชื่อ สกุล พร้อมตำแหน่งของผู้พูดอย่างถูกต้องครบถ้วน อย่าดูถูกนักสืบโซเชียลเด็ดขาด หากคุณเผยแพร่ข้อความอะไรที่เป็นเท็จต้องระวังถูกเช็คบิลให้หนักเลย

การโค้ดคำพูดช่วยเรื่องความน่าเชื่อถือได้มากและยังเป็นการจัดรูปแบบให้งานของคุณดูมีสีสันมากขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยให้เกิดข้อถกเถียง การตีความ นำไปสู่ engagement ในอนาคต

writing-goals-infographic

 

ที่มาภาพจาก Word Hunter

3.การเขียน

การเขียนเป็นพื้นฐานสู่การเล่าเรื่องให้สนุกและน่าติดตาม งานเขียนของคุณเป็นแก่นหลักของ infographic เพราะมันช่วยดำเนินเรื่องและเชื่อมโยงตรรกะภายใน ส่วนภาพเป็นแค่ส่วนประกอบเท่านั้น

คิดเป็นภาพ

หัวใจหลักของงาน infographic คือคุณต้องคิดทุกอย่างเป็นภาพ ดังนั้นควรใช้ copywriter ที่มีพื้นฐานด้านงานดีไซน์ อย่าพยายามใส่คำพูดเยอะ ท่องสูตรไว้ “อย่าพูด แสดงเป็นภาพออกมา” เป็นเรื่องจริงทีเดียว

การสร้างเรื่องราว

หากไม่มีกลวิธีการเล่าเรื่องที่ชัดเจน เรื่องราวทั้งหมดจะสะเปะสะปะและทำให้เกิดความสับสน เรื่องเล่าจะช่วยให้ผู้อ่านของคุณสามารถต่อเรื่องทั้งหมดติดและเกิดความประทับใจหลังอ่านบทความเสร็จติดไปด้วย

เริ่มคิดด้วยการมองจากมุมของคนอ่าน เราอยากอ่านคอนเทนต์ที่นำเสนอแบบไหน? จากนั้นให้คิดถึงจุดประสงค์ของ infographic ว่าเราต้องการให้ความรู้ ให้ความบันเทิง หรืออะไร แล้วค่อยนำสองส่วนนี้ประกอบเข้าด้วยกัน การร้อยเรียงเรื่องราวให้คิดว่า infographic เป็นหนังชั้นดีสักเรื่อง เริ่มจากแนะนำตัวละคร (แนะนำและให้ความรู้พื้นฐาน) ลงรายละเอียด จากนั้นก็เข้าสู่จุดไคลแม็กซ์ (ข้อมูลที่สำคัญทั้งข้อความ ภาพ) แล้วค่อยจบด้วยการหยอดมุขเล็กๆ ให้เกิดการจดจำและความประทับใจ

ตรวจเช็คความถูกต้องของตัวสะกด

หลังจากสร้าง infographic เสร็จเรียบร้อยแล้ว การตรวจเช็คความถูกต้องของตัวสะกดเป็นเรื่องสำคัญมาก ต้องหาบุคคลอื่นมาช่วยอ่านผลงานของคุณเพราะตัวคุณเองที่หมกหมุ่นกับงานชิ้นนั้นจะมองไม่เห็นความผิดพลาดที่เกิดขึ้น อย่าลืมว่า infographic ไม่เหมือนกับโพสต์ในบล็อกที่สามารถแก้ไขได้ทันที พยายามตรวจความเรียบร้อยตอนออกแบบให้เสร็จสิ้นก่อนเผยแพร่ดีกว่า

ทั้งหมดนี้เป็นไอเดียคร่าวๆ ในการผลิต infographic ให้มีเนื้อหาครบถ้วนและถูกใจคนอ่านทางด้านเนื้อหาซึ่งเป็นแก่นหลักของงาน

Source

Convince and Convert

Vision Critical

Grasshopper Marketing


  • 602
  •  
  •  
  •  
  •  
อุ้งทีนหมี
เตาะแตะในโรงเรียนชายล้วนแถวยศเส ก่อนเติบโตต่อในมหาวิทยาลัยริมฝั่งน้ำเจ้าพระยา ที่สุดจับพลัดจับผลูเข้าทำงานในนแวดวงสื่อสารมวลชนมาแล้วกว่า 4 ปี โต้ลมโต้ฝนทั้งในวงการข่าวต่างประเทศ เยาวชน ธุรกิจ การเมือง สังคม ฯลฯ แต่สุดท้ายกลับลำมาหลงรักวงการมาร์เก็ตติ้งที่ข้ามน้ำข้ามทะเลไปขี่จิงโจ้เรียนปริญญาโทมา เลยตัดสินใจหันหางเสือออกสู่การผจญภัยครั้งใหม่อีกสักตั้ง