เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมามีกรณีดราม่าของ Blogger รายหนึ่งที่เพิ่งได้เป็นพรีเซนเตอร์แบรนด์เครื่องสำอางค์เจ้าหนึ่ง แต่เกิดกรณีการขุดคุ้ยจนผู้ติดตามหรือคนที่ไม่ชอบ Blogger รายนี้พบว่ามีรายเรื่องที่ไม่เป็นความจริง เป็นเรื่องแต่งหรือให้ความรู้ผิด ๆ แถมมีกรณีพิพาทกับ Blogger รายอื่นหรือคนที่ไม่ชอบ Blogger คนนี้อีก เรื่องลามมาถึงการโจมตีแบรนด์ว่าเอา Blogger คนนี้มาเป็นพรีเซนเตอร์ได้อย่างไร ทำให้แบรนด์นั้นเข้าสู่วิกฤตการโจมตีไปด้วยกัน เรื่องดังกล่าวไม่ต่างจากกรีณีนักข่าวท่านหนึ่งที่มีคดีความจนศาลตัดสิน และสังคมกดดันช่องโทรทัศน์และสปอนเซอร์โทรทัศน์ต่าง ๆ กัน
Influencer นั้นในปัจจุบันเป็นเครื่องมือสำคัญอย่างหนึ่งในการทำ Communication Marketing หรือการทำ Marketing ต่าง ๆ ออกไป เพราะความมีอิทธิพลทางความคิดของ Influencer นั้นมีบทบาทสำคัญในหลาย ๆ เรื่องไม่ว่าจะเป็นตั้งแต่การสร้างกระแส (Awareness) การสร้างการคิด วิเคราะห์สินค้า (Consideration) การซื้อ (Purchase) หรือการบอกต่อ (Advocacy) ซึ่งเรียกได้ว่าเกือบครบทุกขั้นของการทำ Framework ของ Communication Marketing นั้น ๆ เลย เมื่อก่อนการใช้ Influencer นั้นจะครอบคลุมในส่วนของการใช้ Blogger หรือคนดังต่าง ๆ เพื่อสร้างข้อมูลหรือโน้มน้าวให้คนสนใจสินค้าและบริการของตัวเอง จนมาในถึงปัจจุบันที่หลาย ๆ คนสามารถสร้างตัวเองกลายเป็นคนมีอิทธิพลทางความคิดได้ผ่านช่องทางต่าง ๆ ทำให้ขอบเขตของ Influencer นั้นไกลไปถึงขั้นออนไลน์เซเลป เนตไอดอล และบรรดาเซเลบริตี้ต่าง ๆ ในโลกออนไลน์ด้วยกันที่จะสามารถเติมเต็มความต้องการของการตลาดและตอบวัตถุประสงค์ทางการตลาดได้
การใช้ Influencer นี้ในตอนแรกของยุคที่มี Social Media นั้นใช้เป็นคนที่สามารถให้ข้อมูลในการโน้มน้าวต่าง ๆ โดยส่วนมากจะมองเป็นการให้รีวิสินค้า และนำมาร่วมงานเปิดตัวอีเว้นท์เพื่อให้แฟน ๆ ของ Influencer นั้นสามารถติดตามข่าวสารหรือข้อมูลของแบรนด์นั้นได้ผ่าน Influencer นั้น เมื่อสื่อ Digital นั้นพัฒนาขึ้นความทรงอิทธิพลของ Influencer เหล่านี้ที่ไม่ใช่ดาราหรือคนดังในวงการต่าง ๆ ที่เห็นตามโทรทัศน์นั้นสามารถมีชื่อเสียงหรือความมีอิทธิพลสูงต่อแฟน ๆ เหมือนดาราได้ มีคนติดตามเป็นล้าน ๆ คน ทำให้นักการตลาดเริ่มมองกลุ่มคนที่เป็น Influencer นี้เป็นกลุ่มคนกลุ่มใหม่ที่จะสามารถมาเป็นหน้าตาให้แบรนด์ได้หรือสามารถใช้ความดังหรือตัวตนของ Influencer นี้ทางการตลาดได้ต่อไป ในยุคนี้เราจึงเริ่มเห็นแบรนด์ต่าง ๆ ใช้ Influencer ต่าง ๆ มาเป็นพรีเซนเตอร์แบรนด์ได้มากขึ้น
ในอดีตนั้นกรณีแบบนี้ก็มีเกิดขึ้นกับ Influencer จากกรณีที่โด่งดังในพันทิพย์ใน Blogger รายหนึ่งที่ไปหลงทางที่ญี่ปุ่น จนเรื่องนี้กลายเป็นเรื่องที่สังคมจะหยิบยกมาพูด ซึ่งมีผลต่อแบรนด์ธนาคารแบรนด์หนึ่งที่ใช้ Blogger รายนี้ให้ความรู้ ซึ่งนอกจากจะมีกรณีดังกล่าวในอดีต ความรู้ที่ให้ก็ยังให้ความรู้ที่เป้นเรื่องผิดกฏหมายอีก ทำให้ธนาคารนั้นต้องรีบปลดภาพและเนื้อหาของ Influencer ดังกล่าวออกจากเว็บไซต์ทันที นี้ยังไม่รวมกรณีอื่น ๆ ที่ใช้ Influencer ที่เกิดใหม่ที่เคยสร้างความเสียหายต่าง ๆ ให้กับแบรนด์มากมาย
ทั้งนี้กรณีนี้เกิดขึ้นเพราะอะไร นั้นเพราะนักการตลาดหรือ Agency ที่ทำงานมานั้นทำการศึกษา Influencer คนนี้มาน้อยเกินไป หรือไม่ได้สนใจในความเป็นมาหรืออดีตของกลุ่ม Influencer เหล่านี้ว่าเป็นใครมาจากไหน และมีประวัติมาอย่างไร สิ่งที่นักการตลาดหรือ Agency สนใจจาก Influencer เหล่านี้คือตัวเลขต่าง ๆ ที่นำเสนอออกไป ไม่ว่าจะเป็นตัวเลขคนติดตาม ตัวเลขแฟน traffic ของเว็บไซต์ จำนวนการ Reach ของคนที่ติดตามและ engagement ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นของ Influencer คนนั้น แต่ไม่เคยมีใครสนประวัติที่ผ่านมา นอกจากนี้ยังเป็นที่ Influencer คนนั้นที่คิดว่าโลกนี้จะสร้างข้อมูลหรือโกหกอย่างไรก็ได้เพื่อให้ได้ผลประโยชน์ หรือสร้างเรื่องเพื่อสร้างภาพให้เกิดขึ้น โดยคิดว่าจะมีแฟน ๆ นั้นปกป้องตัวเองหรือไม่คิดว่าจะมีใครจับได้ในวันหนึ่ง ซึ่งสิ่งนี้จะเป็นสิ่งที่ไม่เกิดขึ้นกับการใช้คนที่เป็นมืออาชีพอย่างดารา หรือนักแสดงต่าง ๆ ที่จะมีการตรวจสอบประวัติความเป็นมา และมีคนดูแลในเรื่องภาพลักษณ์หรือการกระทำต่าง ๆ ของดาราหรือนักแสดงนั้นได้อย่างผู้จัดการดาราหรือค่ายดาราต่าง ๆ ที่ทำการอบรมและสร้างความรับผิดชอบให้ โดยเมื่อเกิดเหตุก็ทำให้ดารานั้นต้องรับผิดชอบหรือจะไม่มีแบรนด์ใช้ดารานั้นเป็นพรีเซนเตอร์ต่อเด็ดขาด ดังเช่นนักมวยอย่าง ปาเกียว เมื่อเกิดเหตุการณ์เหล่านี้ขึ้นก็ต้องมาทำ Crisis Management อีกครั้งแถมชื่อเสียงแบรนด์จะกระจายในโลกออนไลน์ไม่รู้จบ
การคิดจะใช้ Influencer ในยุคนี้เมื่อเลือกใช้ผิด หรือเลือกแบบการดูตัวเลขเพียงอย่างเดียว ไม่ได้ทำการศึกษา Influencer อย่างถ่องแท้ว่าคนนั้นจะสร้างแบรนด์ให้ได้ดีขึ้น หรือจะนำพาแบรนด์ให้แย่ลงได้นั้นจึงกลายเป็นสิ่งสำคัญ การทำสัญญาแบบนักแสดงกับ Influencer นั้นในเรื่องการควบคุมพฤติกรรมและการเรื่องราวที่สามารถก่อให้เกิดความเสียหายต่อแบรนด์ในยุคนี้ก็ต้องถูกยกมาพิจารณา เพื่อป้องกันความเสียหายต่อแบรนด์ทั้งในเรื่องภาพลักษณ์และชื่อเสียงที่จะคงอยู่ในโลกออนไลน์ต่อไป
Copyright © MarketingOops.com