แบบไหนถึงเรียกว่า Fake News แล้วคนทำธุรกิจจะรับมืออย่างไร

  • 1
  •  
  •  
  •  
  •  

จริงๆ Fake News ไม่ใช่เรื่องใหม่ มันคือ ข่าวหรือเรื่องราวที่ถูกสร้างหรือเผยแพร่โดยต้องการทำรายได้ โปรโมทหรือดิสเครดิตบุคคลสาธารณะ การเคลื่อนไหวทางการเมือง หรือตัวองค์กรบริษัทต่างๆ เรามักจะเจอ Fake News ในเชิงการเมืองเป็นส่วนใหญ่ แต่ถึงจะเป็นเชิงการเมือง แต่ไม่ได้หมายความว่าแวดวงคนทำธุรกิจจะไม่จำเป็นต้องใส่ใจ เพราะข้อมูลเพื่อดิสเครดิตบริษัทคู่แข่งก็มีให้เห็นเป็นประจำก็มีเช่นกัน

ฉะนั้น เราควรเรียนรู้ว่าแบบไหนถึงเรียกว่า Fake News แล้วเราจะรับมืออย่างไร

แบบไหนถึงจะเรียกว่า Fake News

ข่าวหรือเรื่องราวที่ถูกสร้างให้ดูตลกขบขันหรือพูดให้มันเกินความจริงเพื่อวิพากย์วิจารณ์ เพื่อหล่อหลอมความคิดเห็นของคนกลุ่มหนึ่ง อาจจะเป็นข้อมูลผิดๆแต่ถูกนำมาใช้เพื่อชักจูงคนโดยอ้างว่าเป็นความจริง หรือข้อมูลที่จงใจทำให้เป็นเท็จเพื่อความตลกตกใจ ภาพตัดต่อทหรือโฆษณาชวนเชื่อเพื่อให้บุคคลหนึ่งได้ประโยชน์

 

ปัญหาของ Fake News ที่มีผลกระทบต่อการทำธุรกิจ

ลองคิดดูว่าถ้าเรากำลังหาพื้นที่เพื่อเลือกเปิดสาขาใหม่ แต่มีข่าวว่าพื้นที่นั้นเป็นพื้นที่ที่เศรษฐกิจไม่ดี คนตกงานเยอะ แหล่งข่าวมีอยู่สองแหล่ง แหล่งข่าวแรกจากเจ้าของโรงงานคนก่อนี่เป็นนักการเมืองในพื้นที่ และกำลังหาเสียงรณรงค์ลดอัตราคนว่างงานในพื้นที่นั้น กับแหล่งข่าวที่สองมาจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ มีตัวเลขชัดเจนบอกว่าพื้นที่นั้น มีอัตราการตกงานสูงจริง

ลองคิดสักพัก เราก็จะรู้ว่าแหล่งข่าวที่มาจากสถิติน่าเชื่อถือกว่า เพราะมีการสำรวจจริง มากกว่านักการเมืองท้องถิ่น เพราะอาจจะมีวาระซ่อนเร้น ปั่นข่าวเรื่องการตกงานในพื้นที่นั้นให้คนมาเลือกตัวเองเพื่อแก้ปัญหาคนตกงานในพื้นที่ก็ได้

แต่ความจริงคือ คนทำธุรกิจอย่างเราต้องฟังหูไว้หู ไม่ว่าจะแหล่งข่าวไหน เราก็ควรเอาเก็บมาคิด เพียงแต่ว่าเป็นหน้าที่เราคนทำธุรกิจที่จะต้องลงพื้นที่ไปพิสูจน์ให้เห็นจริงว่าสิ่งที่เราได้ยินมานั้นถูกต้องตรงกับสิ่งที่เรากำลังจะได้เห็นหรือไม่

การไม่ลงไปสืบหาข้อเท็จจริง เป็นอันตรายต่อคนทำธุรกิจ เราอาจจะใช้ข้อมูลผิดๆ ทำให้เกิดการตัดสินใจผิดๆ เสียหายต่อบริษัทได้

คนทำธุรกิจจ้องทำอย่างไรกับพวก Fake News

ตรวจสอบว่าคอนเทนต์เนื้อหาข่าวนั้น อัพเดททันสถานการณ์หรือไม่ สำคัญและเกี่ยวข้องกับการทำธุรกิจของเรามากน้อยแค่ไหน เรามองหาข่าวจากแหล่งอื่นๆนอกจากแหล่งข่าวที่เราได้รับรู้หรือยัง เราสามารถระบุแหล่งที่มาของข่าวได้หรือไม่ จากบุคคลธรรมดาหรือองค์กรหน่วยงานไหน หรือเป๋นบุคคลนิรนาม ข่าวที่ได้รู้ได้ยินมีหลักฐานประกอบดีพอหรือเปล่า ภาษาที่ใช้เล่าข่าวเล่าเรื่องเป็นภาษากลางๆปราศจากอคติหรือไม่

ที่สำคัญเราต้องคิดให้ดีว่าข้อมูลที่เราได้รับ มีจุดประสงค์อะไร เพื่อโต้แย้ง ขายของ ขายขำ โน้มน้าว หรือให้เราลองมือทำอะไรสักอย่าง แล้วเจตนาที่ว่ามันชัดหรือไม่ด้วยครับ

 

แหล่งอ้างอิงส่วนหนึ่งจาก Myths of Social Media: Dismiss the Misconceptions and Use Social Media Effectively in Business โดย Ian MacRae และ Michelle Carvill


  • 1
  •  
  •  
  •  
  •  
Sarunjade
แชร์มุมมองเกี่ยวกับ Digital Marketing, Digital Business และ Technology เท่าที่รู้ สามารถติชมหรืออยากให้เจาะลึกเรื่องไหนเป็นพิเศษ ส่งเมลมาเลยที่ contact@oopsnetwork.co.th