สร้างการตลาดด้วยอารมณ์ ที่จะทำให้เกิด connection ที่ยั่งยืน

  • 342
  •  
  •  
  •  
  •  

 

ในการทำธุรกิจที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในการทำการสื่อสารทางการตลาดนี้ สิ่งที่สำคัญที่สุดในการที่จะสามารถขายสินค้าและบริการได้ คือ การจับอารมณ์และเข้าใจอารมณ์ของคนซื้อให้ได้ เพราะอารมณ์นั้นเป็นตัวแปรที่สำคัญอย่างมากที่จะทำให้สามารถจับความสนใจของกลุ่มเป้าหมายได้ขึ้นมา สามารถต่อยอดสร้างสัมพันธ์ที่ยั่งยืนและยังกระตุ้นให้เกิดการกระทำจากอารมณ์ได้หลาย ๆ อย่าง ตัวอย่างเช่น โฆษณาที่อบอุ่นในจิตใจทำให้เราร้องไห้ได้ หรือโฆษณาตลกที่ทำให้เราหัวเราะสุดหัวใจ การเข้าใจอารมณ์มนุษย์นี้ทำให้สามารถสร้างการสื่อสารที่จะประทับความทรงจำได้เลย

ในบทความนี้จะพาไปเข้าใจในการทำ emotional marketing ว่ามีความสำคัญอย่างไร มีกลยุทธ์และมีผลอย่างไรต่อความสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์และกลุ่มเป้าหมาย

พลังของ emotional marketing : อารมณ์นั้นเป็นประตูสู่การเข้าถึงประสบการณ์และความทรงจำของคน นักการตลาดที่ประสบความสำเร็จนั้นจะรู้วิธีที่จะนำอารมณ์เหล่านี้มาใช้กับแบรนด์ ทำให้แบรนด์นั้นเป็นแบรนด์ที่จดจำตลอดไป ซึ่งความสำคัญของอารมณ์นั้นมีดังนี้คือ

1. สร้าง Brand Loyalty เมื่อผู้บริโภคมีอารมณ์ร่วมไปกับแบรนด์ ผู้บริโภคจะกลายเป็นคนที่จงรักภักดีกับแบรนด์สูง และกลายเป็นกระบอกเสียงให้แบรนด์ทันที เพราะอารมณ์สร้างความไว้ใจขึ้นมา

2. สร้างการดึงดูดความสนใจ เมื่อโฆษณาที่สามารถจับอารมณ์กลุ่มเป้าหมายได้ ทำให้คนจะเกิดความสนใจ และบอกต่อได้อย่างทันที พรัอมทั้งสร้างปฏิกิริยาตอบสนองมากมาย

3. สร้างการตัดสินใจ จากการศึกษามาพบว่า อารมณ์นั้นเป็นตัวการสำคัญในการทำให้คนนั้นตัดสินใจในการซื้อสินค้า 

 

 

เพื่อที่จะทำให้สามารถเข้าถึงอารมณ์ต่าง ๆ ได้อย่างดี นักการตลาดนั้นต้องทำความรู้จักอารมณ์ที่สามารถเอามาใช้งานได้ และเบื้องหลังจิตวิทยา ว่าจะใช้อารมณ์เหล่านี้ให้มีประสิทธิภาพได้อย่างไรขึ้นมา

1. ความสุข เป็นอารมณ์เชิงบวก ที่จะทำให้คนรู้สึกทางบวกกับแบรนด์และรู้สึกมีความหวังกับแบรนด์ขึ้นมา โดยแบรนด์ที่สามารถสร้างความรู้สึกบวกได้ จะได้ภาพลักษณ์ในเชิงบวกและทำให้คนรับสารจากแบรนด์ได้ง่ายเพิ่มขึ้น

2. ความโหยหาอดีต (Nostalgia) อารมณ์ Nostalgia เป็นอารมณ์ที่ทำให้เราอยากย้อนอดีตไปในช่วงเวลาที่เรามีประสบการณ์ดี ๆ ทำให้รู้สึกถึงความทรงจำที่อบอุ่นหรือรู้สึกสบาย แบรนด์ที่จับ Nostalgia สามารถสร้างความสัมพันธ์ทางอารมณ์ที่แข็งแกร่งได้ และทำให้ผู้บริโภคนั้นสามารถคิดถึงแบรนด์ทุกครั้ง

3. ความกลัว เป็นอารมณ์ที่ทำให้เกิดความรู้สึกกดดัน ไม่สบายใจ ด้วยการใช้อย่างเหมาะสมความกลัวจะกระตุ้นการกระทำของกลุ่มเป้าหมายให้หาทางหนี หรือสู้ความกลัวนั้นขึ้นมา ซึ่งแบรนด์ที่สามารถสร้างความกลัวและนำเสนอทางออก ทางสู้ให้ได้ จะทำให้เกิดความรู้สึกเชื่อใจและไว้ใจมากขึ้น

4. Empathy การที่แบรนด์สามารถนำเสนอ Empathy ได้และเข้าใจว่าผู้บริโภคกำลังเผชิญปัญหาอะไรนั้นสามารถทำให้เกิดความเชื่อมโยงสายสัมพันธ์ต่าง ๆ ขึ้นมาได้ทันที และทำให้ผู้บริโภครู้สึกได้ว่ากำลังคุยกับคนที่เข้าใจ และรับฟังปัญหาเค้าขึ้นมาทำให้แบรนด์จะกลายเป็นที่ปรึกษาตลอดไปได้

ทั้งนี้เราสามารถใช้ emotional marketing นั้นได้หลากหลายรูปแบบอย่างมาก ตามที่กลุ่มเป้าหมายนั้นชอบปฏิสัมพันธ์กับการสื่อสารแบบไหน ไม่ว่าจะเป็นการทำ Storytelling ที่จะสร้างการเล่าเรื่องที่ปฏิสัมพันธ์ได้ง่าย สร้างบันดาลใจออกมา และกระตุ้นทางอารมณ์ร่วมกับคนที่รับสารได้อย่างดี หรือจะเป็นแบบการสื่อสารแบบธรรมชาติ ง่าย ๆ ที่สามารถเข้าใจได้ทันที กล่อมให้คนฟังเข้าถึงได้ด้วยการนำเสนอ หรือ Personalise ที่เจาะลึกถึงแต่ละคนว่ามีความต้องการ และต้องการประสบการณ์แบบไหนขึ้นมา

เมื่อทำการใช้งาน emotional marketing  การวัดผลนั้นคือการวัดว่าสิ่งที่ทำไปนั้นได้ผลมากน้อยแค่ไหนในการทำการตลาด โดยสามารถใช้เครื่องมือเหล่านี้ในการวัดผลได้ขึ้นมาไม่ว่าจะเป็น

1. Engagement ที่วัดปฏิสัมพันธ์ของ Social Media ขึ้นมาว่า เมื่อใช้อารมณ์ในการทำการตลาดแล้ว เกิดปฏิสัมพันธ์ในด้านต่าง ๆ เพิ่มขึ้นไหม

2. Brand Sentiment วัดว่าเกิดการพูดของแบรนด์ในแง่ไหนเพิ่มขึ้นมา มีภาพที่เกิดขึ้นเชิงบวกเพิ่มขึ้นไหม และสารที่สื่อไปตรงกับที่ตั้งใจไว้หรือไม่ในมุมผู้บริโภค

3. Conversion Rates วัดว่าเมื่อทำ emotional marketing ไปแล้ว ทำให้เกิด conversion rates มากน้อยแค่ไหน เกิดเป็นยอดขายมากแค่ไหนตาม


  • 342
  •  
  •  
  •  
  •  
Molek
Head of Strategic Marketing ใน Integrated Service Agency ที่หนึ่ง ผู้หลงใหลในหลาย ๆ ที่มีความอยากรู้และเรียนรู้ในเรื่อง Startup, นวัตกรรม, การตลาด จากมุมมองหลาย ๆ ด้านและวัฒนธรรมของแบรนด์ต่าง ๆ