เบื้องหลังจิตวิทยาในการออกแบบ ที่ทำให้คนต้องเก็บกล่องสินค้า Apple เป็นที่ระลึก

  • 136
  •  
  •  
  •  
  •  

 

หลายๆ คนคงมีสินค้าของ Apple อยู่ที่บ้าน ซึ่งในครั้งแรกที่ได้สินค้าของ Apple มา หลายคนคงจะเคยมีสัมผัสในการแกะกล่อง ซึ่งมีการออกแบบในการเปิดกล่อง สัมผัสภายในกระดาษ กลิ่นของสินค้าและสัมผัสของสินค้าภายใน ทั้งหมดนี้เรียกได้ว่าเป็น sensory journey ที่นำพาคุณไปยังสินค้าก่อนที่จะทำการเอาสายไฟเสียบสินค้าและลองใช้สินค้านั้นทันที ซึ่งหลังจากได้สินค้ามาแล้ว หลายๆ คนที่ทำเหมือนๆ กันนั้นคือ การเก็บกล่องสินค้าของ Apple ไว้ด้วย แต่ทำไมหลายคนต้องเก็บกล่องไว้เป็นที่ระลึกด้วย

สินค้า Electronics หลายๆ ชิ้น ผู้บริโภคนั้นมีการซื้อสินค้ามาและทำการโยนทิ้งกล่องของสินค้านั้นอย่างทันที เพราะกล่องนั้นไม่มีค่าอะไรอีกต่อไป แต่การเก็บกล่องของ apple นั้นเกิดขึ้นตรงข้ามหมด แม้กระทั่งในด้านเศรษฐศาสตร์ที่มีการบริโภคและของเสียทีเกิดขึ้นจากการบริโภคนั้น (ซึ่งนั้นคือกล่องเอง) แต่กล่องของ apple กลับก่อให้เกิดของเสียน้อยมาก ทำไมคนถึงไม่ทิ้งกล่องกัน นั้นก็เพราะ Apple เป็นแบรนด์ที่เป็นตัวแทนของนวัตกรรม คุณภาพ และ Lifestyle ของผู้บริโภคบางอย่าง และกระบวนการออกแบบกล่องของ apple นั้นถูกคิดมาแล้วเป็นอย่างดี

 

กระบวนการออกแบบและ User Experience ของ Apple

ปรัญชาการออกแบบของ Apple นั้นขึ้นกับเรื่องเดียวคือ ความเรียบง่าย และสมองเราก็ชอบความเรียบง่าย เพราะทำให้เกิดการเรียนรู้ได้ง่าย ทำให้ติดได้ง่ายและฝั่งเข้าไปในจิตใต้สำนึกเรา ทำให้การออกแบบของ Apple ไม่ว่าจะออกแบบตั้งแต่ software จนถึง hardware ก็ต้องฝังความเรียบง่ายลงไป ซึ่งนี้รวมถึงกระบวนการออกแบบกล่อง ด้วย เพื่อทำให้ กระบวนการเข้าถึงเทคโนโลยีนั้น เรียบง่าย ดูดี ทำให้พึงพอใจ และง่ายในระดับสัญชาตญาณของมนุษย์

กล่องของ Apple นั้นถูกออกแบบด้วยความเรียบง่าย ด้วยมีส่วนประกอบที่เป็นตัวกล่อง และฝาที่จะประกบแนบกันพอดี ใช้วัสดุอย่างดีในการออกแบบกล่องมา เพื่อทำให้กล่องนั้นคงทน แต่ยังได้ความสวยงามในการพิมพ์กล่องที่ยังยึดถือความเรียบง่ายอีกด้วย ภายในกล่องยังมีการจัดเรียงสินค้าที่คนเปิดมา จะต้องเจอสินค้าก่อนอย่างทันที เพื่อสร้างความพึงพอใจในการเห็นสินค้า และเอาอุปกรณ์สินค้าต่างๆ ไปใส่ไว้ในกล่อง แต่อุปกรณ์เหล่านี้ก็เอามาจัดวางในรูปแบบที่สวยงาม เช่นสายชาร์จพันเรียงอย่างสวยงามจริงๆ กระบวนการออกแบบกล่องของ apple นี้มองว่า การใช้งานสินค้าของ Apple ไม่ได้เริ่มที่คุณใช้งาน แต่เริ่มมาตั้งแต่กระบวนการที่ได้สินค้ามา ซึ่งการแกะกล่องสินค้าคือการเริ่มต้นใช้สินค้าจริงๆ ขึ้นมา ดังนั้นกล่องไม่ใช่แค่บรรจุภัณฑ์ แต่คือบ้านและสินค้าหนึ่งที่จะสร้างประสบการณ์ของ Apple

 

Unboxing Experience

credit : mokjc/shutterstock.com

 

ในกระบวนการแกะกล่องสินค้าของ Apple นั้นเรียกได้ว่า ไม่ใช่แค่การเปิดกล่องเพื่อใช้งานผลิตภัณฑ์ แต่เรียกได้ว่าเป็นการเข้า ศาสนา หนึ่งเลยทีเดียว เพราะทุกๆ การแกะกล่อง หรือวิธีการแกะกล่องนั้น Apple วางแผนเพื่อให้คุณแกะและจะมีความทรงจำกับสินค้าได้อย่างทันที เช่น ฝากล่องที่ค่อยๆ เลื่อนออกมา จนเห็นสินค้า ซึ่งเป็นกระบวนการเหมือนภาพยนต์ที่ค่อยๆ เลื่อนจนถึงฉากไครแม็กซ์นั้นเอง กระบวนการแกะกล่องนี้ยังพามาถึงในเรื่องอุปกรณ์เสริมต่างๆ เพราะอุปกรณ์ต่างๆ จะอยู่ในช่องที่พอดี อีกทั้งยังอยู่ในหีบห่อต่างๆ ที่ทำให้เราแกะใช้งานได้ง่าย โดยกระบวนการแกะต่างๆ นี้จะต้องสร้างประสบการณ์ให้กับคนแกะอีกเช่นกัน

ทุกๆ การออกแบบในกระบวนการแกะกล่องนี้ คือการสร้างแบรนด์ที่เน้นย้ำในเรื่องความใส่ใจ ในเรื่องการออกแบบ และ user-friendly experience ที่เกิดขึ้น เพื่อทำให้เกิดความรู้สึกดีต่อสินค้า และสำหรับผู้บริโภคหลายๆ คน การแกะกล่องสินค้าของ Apple คือส่วนสำคัญในการซื้อสินค้า Apple เลยทีเดียว

 

จิตวิทยาของความชอบ

สิ่งหนึ่งที่ Apple จะวางแผนไว้ หรือไม่ได้วางแผนไว้คือ กระบวนการแกะกล่องทั้งหมด และกระบวนการใช้สินค้าของ Apple ที่เริ่มตั้งแต่การซื้อสินค้านั้น คือการสร้าง การรับรู้มูลค่า และสร้างมูลค่าทางใจกับผู้ใช้งาน สร้างกระบวนการตอบสนองทางสมอง จิตใต้สำนึกให้มีความผูกผันกับแบรนด์ขึ้นมา จนกลายเป็น Endowment Effect ที่รู้สึกถึงความเป็นเจ้าของได้ทันที

นอกจากนี้ด้วยการสร้างความประทับใจนี้ จนต้องบอกต่อคนอื่นๆ ก็เกิด Halo Effect ที่ทำให้คนเชื่อในเรื่องคุณภาพ และการออกแบบของ Apple ขึ้นมา แถมมองสินค้า Apple ว่าคือสินค้า Tech Luxury แบบหนึ่ง จึงทำให้การเก็บกล่องนั้น มีความเหมือนกับการเก็บกล่องสินค้าแบรนด์เนมทันที


  • 136
  •  
  •  
  •  
  •  
Molek
Head of Strategic Marketing ใน Integrated Service Agency ที่หนึ่ง ผู้หลงใหลในหลาย ๆ ที่มีความอยากรู้และเรียนรู้ในเรื่อง Startup, นวัตกรรม, การตลาด จากมุมมองหลาย ๆ ด้านและวัฒนธรรมของแบรนด์ต่าง ๆ