สร้างความ Consistency ของแบรนด์ ด้วยการทำ Brand Guideline

  • 3
  •  
  •  
  •  
  •  

 

มีปัญหาที่ผู้ประกอบการออนไลน์เจอกันอย่างมาก นั้นคือ “สร้างประสบการณ์แบรนด์ที่มีความ consistency” ได้ยาก เพราะพอไม่มีความ Consistency ในงาน Creative ต่าง ๆ ก็ยากที่จะสร้างความเชื่อมั่นให้ลูกค้า จากสถิติในปี 2021 บ่งชี้ว่า “แบรนด์ที่ Consistency ช่วยเพิ่มรายได้ได้ถึง 33%” เพราะถ้าขาด Guidelines ชัดเจน ทุกครั้งที่ทำคอนเทนต์หรือออกแบบอะไรใหม่ ๆ จะเหมือนเริ่มต้นจากศูนย์ ทำให้คน “จำแบรนด์” ยากมากขึ้น ดังนั้น ถ้ามี “Brand Guidelines” เพื่อรักษาภาพลักษณ์จะช่วยทำให้การสร้าง Brand Consistency นั้นง่ายมากขึ้น ดังนั้นต่อไปนี้คือ 5 ตัวอย่าง Brand Guidelines ที่จะช่วยสร้างชุดแนวทางของแบรนด์ขึ้นมา

1) Branding Guideline ตัวอย่างสำหรับ “Logo Designs” : Brand Style Guide — แนวทางการใช้ Brand Assets ทั้งหมด โดยเฉพาะ “Logo” โดย Brand Guideline ต้องระบุหน้าที่/การใช้งาน (Role/Preferred Usage): แต่ละ Logo ว่าออกแบบมาทำอะไร เช่น เวอร์ชันแนวตั้งใช้ในโอกาสใด, เวอร์ชันแนวนอนใช้เมื่อไร และ สีของโลโก้ (Brand Colour Variations) ที่ระบุโค้ดสีที่โลโก้รองรับได้ เช่น มีเวอร์ชันขาว-ดำ, สีหลัก-สีรอง ฯลฯ สุดท้าย คือ Safety Zone ที่ บอกขอบเขต “พื้นที่ปลอดภัย” รอบโลโก้ เพื่อไม่ให้มีอะไรเบียดจนโลโก้ดูอึดอัด ควรมีเคล็ดลับการตั้งชื่อ Logo แต่ละเวอร์ชัน เช่น “Primary Logo” “Submark Logo” และบอกสัดส่วนพร้อมบอกว่าควรใช้ในสถานการณ์ไหน สิ่งสำคัญ คือทำหน้า “ห้ามทำ”เช่น ห้ามยืดโลโก้จนเพี้ยน ห้ามใส่เงาแปลก ๆ ห้ามเปลี่ยนสีตามใจ สิ่งเหล่านี้จะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดการใช้งานแบบผิด ๆ

2) Branding Guideline ตัวอย่าง “Colour Palette” : การใช้สีสันอย่างสม่ำเสมอเป็นจุดสำคัญที่หลายคนมองข้าม ทั้งที่สมองมนุษย์ประมวลผล “สี” ได้รวดเร็วมาก จนทำให้ระลึกว่า “สี Tiffany Blue” “สีเขียว Starbucks” หรือ “สีม่วง Cadbury” ได้โดยไม่ต้องเห็น Logo เลย ใน Brand Style Guide ส่วนของ “Colour Palette” ต้องระบุ: 1.Color Codes: ทั้ง Hex, RGB, CMYK ฯลฯ 2. Color Hierarchy: สีหลัก สีรอง  3. Tints and Shades: โทนสว่าง โทนเข้ม ฯลฯ 4. Colour Combinations & Usage บอกสีไหนผสมกันแล้วโอเค สีไหนไม่ควรใช้ด้วยกันของชุดสีหลัก vs. ชุดสีรอง 5. Primary Colours: สีที่ใช้ “บ่อยสุด” จนคนจำได้ว่าเป็นสีประจำแบรนด์ 6. Secondary Colours คือกลุ่มสีเสริม ใช้แต่งจุดเล็ก ๆ ไม่ใช่โทนสีหลักของงาน และ 7. Color Combinations ที่บางสีอาจไม่ควรใช้ด้วยกันเพราะอ่านยากหรือดูขัดตา

3) Brand Typography Guidelines การเลือกฟอนต์ได้ดีจะทำให้แบรนด์ดูแข็งแรงขึ้น และงานดีไซน์ง่ายขึ้นมาก ใน “Style Guide” ควรจะมี: Font Name, Weight, Casing เช่น H1 ใช้ฟอนต์ X (Bold, Uppercase), Paragraph ใช้ฟอนต์ Y (Regular) ฯลฯ และแนวทางสำหรับ: Heading 1, Heading 2 หรือ Paragraph (Body), Call-to-Action เคล็ดลับเลือกฟอนต์ที่ดีคือ หาฟอนต์ที่มีหลาย Weight (Light, Regular, Bold, Extra Bold) เพื่อให้ยืดหยุ่นในการใช้งาน แถมคุม Theme ได้ง่าย หรือหาใน Google Fonts เป็นแหล่งฟอนต์ฟรีที่ใช้กันมาก

4) Brand Guidelines สำหรับ “Social Media” จุดประสงค์หลักของ Brand Guidelines คือเป็นกรอบให้ทำงานง่ายและสอดคล้องกัน จนแบรนด์ “จดจำได้” และดูเป็นเอกภาพ แน่นอน ข้อมูลเรื่อง Logo, สี, ฟอนต์ ที่กล่าวมาจะใช้ใน Social Media ด้วย จึงควรระบุในน Style Guide ว่าสไตล์ “โพสต์” ควรเป็นอย่างไร มีขนาดรูป, ตัวอย่างภาพคอนเทนต์, กฎ Do’s & Don’ts ของ Social Media Creative และการตอบคอมเมนต์ข้อดีของการมีสิ่งเหล่านี้คือช่วยให้ทีมที่ช่วยกันสร้างคอนเทนต์ ทำงานไม่หลุด Theme หรือดูสับสน

5) Branding Guidelines สำหรับ “Website” เว็บไซต์เปรียบเสมือน “หน้าร้าน” ของโลกออนไลน์ ถ้า Layout สี ฟอนต์ รวมถึงภาพ ใช้คนละสไตล์กับ Social Media หรือพวก Freebies/product pack อื่น ๆ ลูกค้าอาจรู้สึกขาดความเป็นมืออาชีพ ดังนั้น ใน Guidelines จะต้องบอกการใช้ “Theme Website” เช่น ส่วน Header ใช้ฟอนต์อะไร ขนาดเท่าไหร่หรือ ปุ่มสีหลักไหม Hover แล้วเป็นสีอะไร จนถึงภาพพื้นหลัง, สไตล์ภาพควรเป็นอย่างไร? ฯลฯ ทั้งหมดนี้ทำให้ดีไซน์เว็บ “สอดคล้อง” กับสื่ออื่น ไม่ว่าจะมาจาก Facebook หรือ YouTube แล้วคนคลิกเข้าเว็บก็รู้เลยว่าเป็นแบรนด์เดียวกัน

 

 

การสร้าง Brand Guidelines ดี ๆ ช่วยให้ทุก Touchpoin ของลูกค้ากับแบรนด์มีความกลมกลืน ตั้งแต่เว็บ, โซเชียล จนถึงอีเมลหรือเอกสาร ทั้งหมดนำไปสู่แบรนด์ที่จดจำง่าย สร้างความเชื่อมั่นให้ลูกค้า ไม่สับสน และสุดท้ายคือ “เพิ่มโอกาสการขาย” ไปในตัว


  • 3
  •  
  •  
  •  
  •