ในการทำการตลาดยุคใหม่นั้นการทดสอบวิธีการทำการตลาดก่อน execute การทำการตลาดจริงๆ นั้นเป็นขั้นตอนที่สำคัญอย่างมาก การได้รู้ว่าการทำการตลาดหรือวิธีการที่จะสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายว่าแบบไหนได้ผลหรือไม่ได้ผล ทำให้ช่วยสร้างการทำการตลาดและการสื่อสารโฆษณาต่าง ๆ ที่ได้ประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ซึ่งด้วยการทำการทดสอบ ที่เรียกว่า A/B Testing นี้สามารถช่วยสร้างผลกำไรให้กับธุรกิจที่ทำได้มหาศาลและทำให้เกิดการซื้อของกลุ่มเป้าหมายได้ง่ายมากขึ้น
A/B Testing เป็นวิธีการที่ใช้ในการทดสอบสมมุติฐานบางอย่างที่มีความสนใจว่า การเปลี่ยนแปลงไปจากต้นแบบหรือ สิ่งที่ทำอยู่จะได้ผลจริงไหม ใช้ได้กับการสร้างทั้งผลิตภัณฑ์ บริการ จนถึงการออกแบบการสื่อสารทางโฆษณา โดยปกติ เราจะแบ่งการทดสอบออกเป็น 2 ชุด คือ
A ชุดควบคุม เป็นชุดที่เป็นปกติ หรือเป็นสิ่งที่มีอยู่แล้ว
B ชุดตัวแปร เป็นชุดที่มีการเปลี่ยนแปลง เพื่อทดสอบสมมุติฐาน
เมื่อมีชุด A/B ก็ทำการทดสอบทั้ง 2 ชุดพร้อม ๆ กัน เพื่อดูว่า ตัวแปรที่เปลี่ยนไปนั้น จุดที่เปลี่ยนมีผลต่อการรับรู้ของกลุ่มเป้าหมายมากน้อยแค่ไหน ผ่านหลักการทางสถิติแบบง่าย ๆ
ซึ่ง A/B Testing ในกระบวนการพัฒนาสินค้าและบริการ หรือการสื่อสารทางการตลาดนั้นจะมีการทำงานเป็น 4 Phases ด้วยกัน
1. Identify คือการกำหนดหรือรับรู้ว่าอะไรคือเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่อยากจะได้จากการทำงาน ไม่ว่าจะเป็น KPI หรือ รายได้
2. Decide คือขั้นตอนที่ตัดสินใจว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงตรงจุดไหน เพื่อทำการทดสอบ
3. Ship it คือการปล่อยการทดสอบออกมา
4. Measure คือขั้นตอนการวัดผลว่าได้ผลหรือไม่
ซึ่งถ้าเกิดการทำ A/B Testing นั้นไม่ได้ผลใน Phases ที่ 4 ก็จะวนกลับไปที่ identify ใหม่ ว่าตัวแปรที่เปลี่ยนไปนั้นไม่ได้เกี่ยวข้องกับการรับรู้หรือปฏิสัมพันธ์ของกลุ่มเป้าหมาย หรือถ้าได้ผลก็สามารถวนกลับไปที่ identify ได้อีกรอบเพื่อทดสอบจุดอื่น ๆ ต่อเรื่อง เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดออกมา
เราจะใช้ A/B Testing เมื่อไหร่กันดี เป็นคำถามที่นักการตลาดทุกคนนั้นถามในการทำงานครั้งแรก เพราะไม่รู้ว่าจะเริ่มใช้ A/B Testing ตั้งแต่แรกในการทำงานเลยดีไหม แต่ในความเป็นจริงแล้ว A/B Testing จะเหมาะกับการทำงาน 3 แบบนี้อย่างมาก
1. เมื่อมีความเสี่ยงในการทำงานอย่างมาก : การทำ A/B Testing จะเหมาะกับการเปลี่ยนแปลงบางอย่างที่จะเกิดขึ้นและมีผลอย่างมากต่อกลุ่มเป้าหมาย ตัวอย่างเช่น การเปลี่ยนแปลงราคา ที่ปรับสูงขึ้นหรือลดลง ซึ่งจะมีผลกระทบทันทีถ้ามีการปรับแบบไม่ทดสอบการปรับราคาก่อน
ด้วยการทดสอบการปรับราคานี้ทำให้สามารถเข้าใจได้ว่า การปรับจะมีผลอย่างไรต่อกลุ่มเป้าหมายและควรทำต่อหรือไม่ยกตัวอย่างที่ Netflix ทดสอบการปรับราคาในบางประเทศหรือการมีโฆษณาในบางประเทศ
2. เมื่อมีผลกระทบสูง : การทำ A/B Testing จะเหมาะกับการใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจที่สำคัญ เมื่อคุณกำลังทำงานในการวัดผลที่มีผลกระทบอย่างมากต่อองค์กร และการทำโดยไม่ทดสอบเลยอาจจะมีผลตามมาที่ร้ายแรงได้
ตัวอย่างเช่นการปรับราคา การปรับราคาเลยอาจจะมีผลต่อ รายได้บริษัทต่อจำนวนลูกค้า การสมัครการใช้งาน ผลิตภัณฑ์ที่เลือกใช้งานและจำนวนลูกค้าที่ใช้ต่อทันที การตัดสินใจเพื่อให้สามารถวัดผลได้ว่าจะทำต่อหรือไม่ทำต่อดี
3. การทดสอบนั้นง่ายและทำได้อย่างรวดเร็ว : เป็นกระบวนการที่ใช้ในการตัดสินใจทำ A/B Testing ถ้าการทดสอบนั้นไม่ได้ยาก เช่น การแก้ Artwork และ Copy ในตำแหน่งต่าง ๆ แล้วสามารถวัดผลได้ทันที
การทำ A/B Testing ที่จะทำให้ได้ผลอย่างมากนั้น คนที่ทำ A/B Testing ควรต้องมี
1. A/B Testing Tools : พวกเครื่องมือในการทำ A/B Testing ต่าง ๆ
2. Analytics ที่ถูกต้อง : การมีเครื่องมือวัดผลที่ถูกต้องจะสามารถทำให้การวัดค่านั้นได้ผลที่ถูกต้อง
3. ความรู้ทางสถิติและการสามารถอธิบายผล : ทำให้สามารถคำนวนค่าและเล่าประสิทธิภาพการทำได้
ทั้งนี้การทำ A/B Testing นั้นถ้าทำถูกวิธีจะสามารถช่วยให้องค์กรเติบโตได้อย่างดี และสามารถช่วยให้เกิดยอดขายได้อย่างรวดเร็ว พร้อมทั้งสร้างข้อมูลคววามสนใจและจิตวิทยาของกลุ่มเป้าหมายที่เห็น A/B Testing แต่ละแบบได้ว่า รูปแบบไหนทำให้เกิดการกระตุ้นความสนใจ การซื้อได้มากที่สุด