8 วิธีพิตช์ไอเดียให้ผ่านและได้ผลดี

  •  
  •  
  •  
  •  
  •  

idea

ใครๆ ก็อยากเป็นนักแก้ปัญหาผู้เก่งกาจที่เห็นโจทย์เดียวกันกับเพื่อนร่วมงานแต่สามารถหาทางออกที่สร้างสรรค์และทรงประสิทธิภาพมากกว่า ความลับคือไอเดียที่ดีซึ่งจะนำความเปลี่ยนแปลงมาให้ไม่ใช่ทุกอย่างแต่มันสำคัญที่คุณจะแชร์มันให้คนอื่นทราบได้อย่างไร

ทำไมนะหรือ? เพราะความจริงแล้วสมาชิกทีมแต่ล่ะคนเข้าใจความหมายของคุณต่างกันออกไป เช่น หากคุณเสนอให้เลิกงานเร็วขึ้น บางคนอาจจินตนาการถึงความยากลำบากในการจัดตารางงานที่แน่นเอี้ยดอยู่แล้วให้พอดีกับเวลาที่เหลือน้อยลง นี่ยังไม่พูดถึงว่าความเปลี่ยนแปลงที่คุณต้องการจะต้องทำให้คนอื่นเสียสละอะไรบ้าง

ดังนั้นเพื่อนำความสร้างสรรค์ ไอเดียใหม่ และการพัฒนามาสู่องค์กร ลองพิจารณา 8 ขั้นตอนสู่การนำเสนอไอเดียให้ผ่านฉลุยดูสิ

1.เป็นนักขายมือทอง

ไอเดียที่ดีต้องเกิดจากการ “ขาย” ที่เยี่ยมยอดเช่นกัน และต้องจำไว้ว่าการบอกเล่าเพียงครั้งเดียวอาจไม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง คุณต้องเน้นย้ำหลายครั้งและสร้างแผนการพร้อมคำอธิบายที่ละเอียดและมีหลักความสำเร็จที่ชัดเจนในแต่ล่ะช่วยเวลา

2.ให้เวลามันซะหน่อย

หากคุณต้องการอธิบายความคิดคุณให้ชัดเจนและครบถ้วน คุณต้องให้เวลาผู้ฟังคิดทบทวนเกี่ยวกับสิ่งที่คุณพูดเสียหน่อย ความสร้างสรรค์อาจถูกถ่ายทอดได้ภายในชั่วอึดใจแต่มันอาจต้องใช้เวลาตีความนานนับปี

3.ใช้ช่องทางต่างๆ

บางครั้งคุณก็ควรเสนอไอเดียตรงไปที่บอส แต่บางครั้งก็ถามเพื่อนร่วมงานก่อนดีกว่า หากมันไปได้สวยคุณก็ต้องเริ่มคิดว่าคุจะสื่อสารไอเดียของคุณไปให้คนทั้งบริษัทหรือแม้แต่บุคคลภายนอกรับรู้ผ่านช่องทางไหน และอย่าลืมว่าการเสนอไอเดียของคุณต้องไม่ข้ามหน้าข้ามตาสายบังคับบัญชาภายในองค์กร กล่าวคือ หัวหน้าควรรู้การปรับเปลี่ยนก่อนหรือพร้อมๆ กับลูกน้อง

4.อ่อนน้อมถ่อมตน

เหตุผลใหญ่ที่ไอเดียไม่ได้รับการสานต่อก็เพราะเจ้าของไอเดียไม่เปิดให้คนอื่นเห็นต่างหรือปรับเปลี่ยนความคิดนี้ได้ นอกจากพวกเขาจะรู้สึกไม่มีส่วนร่วมแล้วยังคิดว่าไอเดียไม่เหมาะกับพวกเขา ดังนั้น ความร่วมมือจึงไม่เกิด

5.อย่าคิดว่าพวกเขาปฏิเสธไอเดียคุณเพราะเรื่องส่วนตัว

แน่นอนว่าการที่เพื่อนร่วมงานไม่เห็นด้วยกับไอเดียคุณเป็นเรื่องเจ็บปวดแต่อย่าเพิ่งด่วนสรุปว่าพวกเขาไม่เห็นด้วยเพราะเรื่องส่วนตัว การยึดติดกับ “ไอเดียของฉัน” มากเกินไปจะทำให้ทั้งทีมรู้สึกว่าคุณช่างเห็นแก่ตัวและอาจนำไปสู่ความสัมพันธ์ที่เลวร้ายในอนาคต

6.เตรียมรับ (หรือแม้กระทั่งกระตุ้น) ให้เกิดกระแสต้าน

ไอเดียใหม่ที่ยิ่งใหญ่ต้องมีการต่อต้านที่รุนแรงเพราะมันไปรบกวนความคิดและความเป็นอยู่ปกติของผู้คน ดังนั้น มนุษย์เป็นพวกไม่ยินดีกับการเปลี่ยนแปลงอยู่แล้วปล่อยให้พวกเขาแสดงความสงสัยเหล่านั้นออกมาดีกว่าแล้วคุณก็เคลียร์ความสงสัยนั้นไปทีล่ะจุด นั้นเป็นการดีมากกว่าการพยายามกดดันไม่ให้พวกเขาเห็นต่าง

7.เคารพอดีตแต่อย่ายึดติดกับมัน

ไอเดียใหม่เป็นผลผลิตของไอเดียเก่าๆ ดังนั้นอย่าพยายามล้มล้างทางแก้ปัญหาเก่าๆ ที่เคยมีมาแต่ให้ปรับเปลี่ยนและทำให้ไอเดียใหม่เข้ากับไอเดียเก่าได้อย่างดี วิธีนี้นอกจากจะทำให้ไอเดียได้ผลมากขึ้นแล้วยังเป็นการลดแรงเสียดทานจากคนที่ไม่อยากปรับเปลี่ยนอะไรอีกด้วย

8.มองแต่ในมุมบวก

ตอนพรีเซนต์ไอเดียของคุณพยายามใช้คำและสร้างบรรยากาศของความคิดบวกให้มากที่สุด อย่าพยายามโจมตีไอเดียเก่าหรือพยายามตราหน้าว่าคนนู้นคนนี้จะไม่ร่วมมือกับคุณ พยายามพูดทุกอย่างในด้านดีสร้างฝันที่สวยงามและทำให้ทุกคนเห็นอนาคตที่ดีกว่าร่วมกัน

Source


  •  
  •  
  •  
  •  
  •  
อุ้งทีนหมี
เตาะแตะในโรงเรียนชายล้วนแถวยศเส ก่อนเติบโตต่อในมหาวิทยาลัยริมฝั่งน้ำเจ้าพระยา ที่สุดจับพลัดจับผลูเข้าทำงานในนแวดวงสื่อสารมวลชนมาแล้วกว่า 4 ปี โต้ลมโต้ฝนทั้งในวงการข่าวต่างประเทศ เยาวชน ธุรกิจ การเมือง สังคม ฯลฯ แต่สุดท้ายกลับลำมาหลงรักวงการมาร์เก็ตติ้งที่ข้ามน้ำข้ามทะเลไปขี่จิงโจ้เรียนปริญญาโทมา เลยตัดสินใจหันหางเสือออกสู่การผจญภัยครั้งใหม่อีกสักตั้ง