แน่นอนว่าวินาทีนี้คงไม่มีหนังเรื่องไหนมาแรงเท่ากับ The Hunger Games: Mockingjay, Part 1 ซึ่งภายในวันแรกที่เข้าฉายก็ทำรายได้ถล่มถลายพ่วงท้ายด้วยยอดขายนิยายต้นฉบับที่พุ่งทะลุ 50 ล้านก็อปปี้ไปแล้วทั่วโลก
ด้วยเนื้อเรื่องโหดเหี้ยมที่รัฐบาลส่งเด็กจากแต่ล่ะพื้นที่ให้ต่อสู้กันจนตายไปข้างเพื่อสร้างอาณาจักรแห่งความกลัว แต่มันกลับนำไปสู่การลุกฮือขึ้นต่อสู้อำนาจปืนและปลายดาบของหมู่ผู้นำ ภายในภาพยนตร์คุณจะเห็นว่ามีบทเรียนในการสื่อสารท่ามกลางความขัดแย้งที่น่าสนใจอยู่มากมายดังนี้
1.ผู้พูดที่ดีทำให้ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงไปได้
“ฉันยังลงขันข้างเธออยู่นะ สาวน้อยผู้มากับเปลวเพลิง” –ซินนะ
แคตนิส เอเวอร์ดีน กลายเป็นฮีโร่จำเป็นหลังจากอาสาไปสู้แทนน้องสาวของเธอ แม้เธอจะไม่เคยคิดเป็นผู้นำการปฏิวัติแต่ทุกคนก็ถือว่าคำพูดของเธอเป็นวาจาอันศักดิสิทธิ์ เช่นเดียวกัน นักธุรกิจอยากทำการค้ากับบริษัทที่พวกเขารู้จัก ชื่นชอบ และไว้วางใจ ผู้นำที่ดีนอกจากจะต้องน่าเชื่อถือแล้วยังต้องพึ่งพาได้และโปร่งใสยามที่เกิดเหตุวิกฤตขึ้น
2. ใช้ความหวัง ไม่ใช่ความกลัว
“ความกลัวไม่เป็นผลเมื่อเรายังมีหวังอยู่”- President Snow
ประธานาธิบดีสโนวรู้ดีว่าความกลัวไม่สามารถหยุดโลกเอาไว้ได้ นั้นเป็นเหตุผลว่าทำไมผู้ชนะเกมฮังเกอร์จึงกลายเป็นสัญลักษณ์ของอำนาจและความหวัง การสื่อสารในช่วงเวลาวิกฤตจะช่วยลดความเสียหายและรู้ว่าอะไรควรพูด อะไรไม่ควร นอกจากนั้น เรายังต้องพยายามสร้างความไว้วางใจให้เกิดใหม่และพยายามส่งข่าวให้แก่สื่อมวลชนมากที่สุด
3. อย่าหักหลังคนอื่น
“แคทนิส เมื่ออยู่ในสนามรบ จำไว้ว่าใครคือศัตรูที่แท้จริง”-Haymitch Abernathy
การร่วมมือและความมานะในสนามรบทำให้เนื้อเรื่องของภาพยนตร์เดินหน้าต่อเนื่องจนมาถึงภาคนี้ หากเปรียบกับการมาร์เกตติ้งก็จะเห็นว่าคู่แข่ง ลูกค้า พนักงานและผู้สื่อข่าวต่างก็พยายามทำให้บริษัทของคุณอ่อนแอ แต่ PR ที่ดีต้องมองแต่เชิงบวกและพยายามปรับความคิดและความพยายามเล่นงานบริษัทเหล่านั้นให้กลายเป็นเรื่องเชิงบวกให้ได้
4. มีกลยุทธ์ที่ชาญฉลาด
“ฉันไม่ได้อยากเป็นอีกชิ้นส่วนหนึ่งในเกมของพวกเขา คุณก็รู้?”-Peeta Mellark
ผู้เข้าแข่งขันในสนามแต่ล่ะคนต่างมีกลยุทธ์เป็นของตัวเองแต่คนที่สำรวจว่ามีภัยคุกคามอะไรบ้างคือผู้ชนะของรายการ บริษัทก็เช่นกันต้องสำรวจว่ามีวิกฤตอะไรบ้างที่อาจเกิดขึ้นได้และหาทางป้องกันไว้ก่อน จะกำหนดกลยุทธ์ได้ต้องมีข้อมูลจากฝ่าย PR นโยบายหลักของแบรนด์และความกังวลของผู้บริโภค
5. อย่าโกหก
“ที่รัก ฉันคิดว่าเราทำให้มันง่ายกว่านี้ได้แค่เราตกลงว่าจะไม่โกหกกัน คิดว่ายังไงล่ะ”-President Snow
วิธีแก้ปัญหาที่หลายคนชอบใช้ระหว่างเกิดวิกฤตคือการโกหก แต่วิธีนี้นอกจากจะไม่ได้ผลแล้วยังเป็นการเพิ่มวิกฤตเข้าไปอีก การโกหกนอกจากจะทำให้โดนขุดคุ้ยแล้วยังทำให้คนไม่เชื่อสิ่งที่คุณอธิบายให้พวกเขาฟังหลังจากนั้นอีก
6. องค์กรดีเท่ากับจุดอ่อนของพวกเขา
“มันคงเป็นระบบที่น่าหัวร่อ หากมันสามารถโค่นล้มได้ด้วยผลไม้เพียงสองสามลูก”-Katniss Everdeen
ประโยคเด็ดที่ทุกคนจำได้จากหนังเรื่องนี้มากจากตอนที่ตัวเอกของเรื่องสำรวจความเสียหายหลังระเบิดลง “เปลวเพลิงมาถึงแล้ว! หากพวกเรามอดไหม้ พวกแกก็ต้องถูกเผาผลาญไปกับเรา!”
แบรนด์ที่มีฝ่าย PR เข้มแข็งแต่บริษัทอ่อนปวกเปียกไม่ได้ช่วยอะไรเลย เพราะทุกคนลงเรื่องลำเดียวกัน หากเกิดวิกฤตกับบริษัทพนักงานทุกคนก็ต้องมอดไหม้ไปพร้อมวิกฤตนั้น
7. จงเล่นเกมหากมั่นใจว่าควบคุมผลที่ตามมาได้
“คุณต่อสู้ได้ดีมากในเกม Ms. Everdeen แต่มันก็แค่เกม อยากลองออกศึกจริงๆ สักตั้งไหมล่ะ?”- Plutarch Heavensbee
แม้ Snow จะคิดว่าเขาสอน Katniss ให้รู้ถึงผลของสงครามและผลกระทบของการปฏิวัติก็ตามแต่เรื่องจริงทุกอย่างมันน่ากลัวกว่านั้นมากอย่างที่ Uber ทำ พวกเขาใช้กลยุทธ์ที่ทำให้คู่แข่งต้องลมจับและไม่มีส่วนไหนของกลยุทธ์เลยที่พยายามเป็นมิตรกับบริษัทอื่นๆ คุณจึงหาความเป็นมิตรที่ดีจาก Uber ได้ยากมากหากคุณเป็นคู่แข่งกับพวกเขา