6 ข้อที่ควรทำในการวิเคราะห์กลยุทธ์คู่แข่ง

  • 627
  •  
  •  
  •  
  •  

การทำการตลาดนั้นสิ่งสำคัญคือการทำกลยุทธ์และหนึ่งในขั้นตอนที่สำคัญของการทำกลยุทธ์นั้นคือการรู้ว่าคู่แจข่งทำอะไรอยู่ นักการตลาดที่เก่ง ๆ หรือคนทำกลยุทธ์ที่เก่ง ๆ นั้นจะไม่พลาดในการทำการหาข้อมูลคู่แข่งในตลาด เพื่อหาจุดอ่อน จุดแข็ง และช่องว่างที่จะสามารถโจมตีคู่แข่งขึ้นมาได้ การทำข้อมูลวิเคราะห์และวิจัยเหล่านี้ควรนำมาใช้ก่อนที่จะเริ่มงานใด ๆ เพราะจะสามารถให้ข้อมูลที่จำเป็นกับนักการตลาดหรือคนทำงานที่เกี่ยวข้องใน insight ต่าง ๆ ขึ้นมา ทำให้สามารถออกแบบการตลาดที่ดีออกมาได้

การเข้าใจคู่แข่งนั้นเป็นสิ่งสำคัญเพื่อที่จะสามารถทำสิ่งที่ดีกว่าหรือแตกต่างจากที่คู่แข่งทำอยู่ได้ และไม่ไปทำสิ่งเดียวกับที่คู่แข่งทำไม่ดีลงไป หรือสามารถไปต่อยอดส่ิงที่คู่แข่งทำได้ดีกว่าขึ้นมาได้ก็ได้ สิ่งที่ควรจะเข้าใจก่อนที่จะเริ่มทำการวิเคราะห์ข้อมูลคู่แข่งคือ การรับรู้ว่า คู่แข่งของตัวเองนั้นเป็นใคร ซึ่งในส่วนนี้นักการตลาดอาจจะเลือกมาในรูปแบบ 2 แบบก็ได้ คือ คู่แข่งในสายตาของนักการตลาดเอง และคู่แข่งในมุมมองของ Consumer ออกมา หรือจะแบ่งเป็น Direct competitor และ indirect competitor มาก็ได้ ซึ่งเมื่อคุณได้รายชื่อคู่แข่งมาแล้ว ก็ลองวางลงใน Excel หรือ Program Spreadsheet ต่าง ๆ ออกมา เพื่อที่จะได้เริ่มทำการวิเคราะห์ดังนี้

1. Unique Value Proposition : ทุก ๆ competitor และแบรนด์เราเองนั้น ต่างก็ต้องมีสิ่งที่เด่นหรือจุดขายที่แตกต่างจากคนอื่นขึ้นมา หรือมีอะไรที่เด่นกว่าคนอื่น เพื่อให้ผู้บริโภคเลือกออกมาได้ว่าทำไมถึงเลือกแบรนด์นี้ สิ่งที่นักการตลาดควรทำในการหา Unique Value Proposition คือการมองว่า จุดขายของคู่แข่งที่เลือกมาเป็นตัวชูโรงหรือทำการสื่อสารนั้นคืออะไรออกมา ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ใน about ของเว็บไซต์คู่แข่งนั้นเอง การรู้ว่า Unique Value Proposition ของคู่แข่งนี้ จะทำให้เรารู้ว่า Content ที่คู่แข่งทำ น่าจะทำการสื่อสารเรื่องอะไรอีกด้วย

ภาพจาก Assignment Point
ภาพจาก Assignment Point

2. Content มีแบบไหนบ้าง : เมื่อรู้ว่าคู่แข่งนั้นทำการสื่อสารแบบไหน สิ่งที่นักการตลาดควรทำต่อไปคือการหาให้ได้ว่า คู่แข่งนั้นมีการสร้างหรือทำ Content ในรูปแบบอะไรอยู่ รูปแบบของ Content ก็ได้แก่ infographic, blog, article, influencer หรืออื่น ๆ ซึ่งควรเข้าไปดูว่ารูปแบบ Content ไหนที่ส่งผลถึงการทำให้เกิดการรู้จัก การตัดสินใจ และเกิดการซื้อขึ้นมาได้ สิ่งเหล่านี้ทำให้วิเคราะห์ต่อมาได้ว่าถ้าเรากำลังจะแย่งส่วนแบ่งตลาดออกมา การทำ Content แบบไหนที่ควรจะทำ หรือ Content แบบไหนที่ไม่ควรจะทำออกมาได้ เพื่อที่จะทำให้การลงมือนั้นง่ายขึ้นไปอีก

Google_content

3. ดูหมวดหมู่ Content ว่าทำอะไรไปบ้าง : เมื่อดูถึงรูปแบบ Content สิ่งที่ควรรู้ต่อไปคือการที่คู่แข่งนั้นทำ Content หมวดหมู่อะไรบ้างออกมา เพราะสามารถทำให้นักการตลาดเริ่มมองเห็นได้ว่า Content หมวดหมู่ไหนที่คนชอบอ่าน ทำให้เกิดปฏิสัมพันธ์ออกมา และหมวดหมู่ไหนที่ทำให้คนนั้นตัดสินใจซื้อสินค้าออกมาได้ ทั้งหมดนี้ทำให้คุณนั้นสามารถนำมาวางแผนว่าจะสร้าง Content หมวดหมู่ไหนมา หรือหมวดหมู่ไหนที่ไม่ควรทำเลย หรือถ้าต้องทำรูปแบบที่จะทำนั้นควรจะทำแบบไหนให้ได้ผลต่อไป

Screen-Shot-2560-04-27-at-11.45.54-AM

4. ดู Mood & Tone : ทีนี้เมื่อรู้ว่าทำ Content แบบไหน พูดเรื่องอะไร ก็ต้องมาดูว่าคู่แข่งนั้นทำการสื่อสารทางการตลาด้วยด้วย Mood & Tone แบบไหนออกมา เพื่อที่เวลาจะมาทำแผนกลยุทธ์ของนักการตลาดเองจะสามารถหลีกเลี่ยงการทำ Mood & tone เดียวกันออกมาได้ หรือถ้าจะทำได้ดีแบบเดียวกัน ต้องทำอะไรเพิ่มถึงจะดีกว่าที่คู่แข่งทำออกมา ทั้งนี้ mood & tone ที่ออกมา มีผลต่อภาพลักษณ์แบรนด์อย่างมากว่าจะทำให้แบรนด์เข้าถึงได้ง่ายหรือยาก

tone-and-mood-ppt-8-638

5. ดูว่าใช้ช่องทางไหนสื่อสาร : เมื่อรู้ข้อมูลเกี่ยวกับเนื้อหาคู่แข่งว่าทำการสื่อสารทางการตลาดแบบใดไปทั้งหมด สิ่งที่ต้องรู้ต่อไป คือ Channel of communication  ของคู่แข่งว่าทำการสื่อสารที่ช่องทางไหนออกไปบ้าง และช่องทางไหนที่ทำหน้าที่ได้ดี ช่องทางไหนแย่ แล้วทางที่ดีดีเพราะอะไร ช่องทางที่แย่ แย่เพราะอะไร ด้วยข้อมูลตรงนี้จะทำให้นักการตลาดนั้นกลับมาวิเคราะห์ได้ว่า แต่ละช่องทางควรทำอะไร ไม่ควรทำอะไรออกมา หรือควรจะโฟกัสที่ช่องทางการสื่อสารทางการตลาดช่องไหนเป็นพิเศษหรือไม่

Screen-Shot-2559-09-09-at-8.51.07-PM

6. ดูว่าใครเป็นคนที่สนับสนุนหรือช่วยให้แบรนด์คู่แข่งเกิด : สุดท้ายคือการมามองหาว่าแบรนด์คู่แข่งนั้นมีอะไรที่ช่วยหรือเป็นปัจจัยที่ทำให้แบรนด์คู่แข่งเป็นที่รู้จักหรือไม่ เช่นมีแบรนด์แม่คอยสนับสนุนโปรโมท หรือมีคนดัง ๆ ที่ชอบจนส่งเสริมแบรนด์นี้หรือไม่ ซึ่งอาจจะรวมถึงเนื้อข่าวต่าง ๆ และเสียงของผู้บริโภคที่พูดถึงแบรนด์ด้วย ข้อมูลตรงนี้จะทำให้เราได้มุมมองของแบรนด์ในสายตาผู้บริโภคออกมา และเข้าใจความคิดของผู้บริโภคต่อแบรนด์คู่แข่งด้วย

ทั้ง 6 ข้อนี้เป็นขั้นตอนง่าย ๆ ในการที่จะเก็บข้อมูลคู่แข่งออกมาว่าทำอะไรดี ไม่ทำอะไรดี ซึ่งทั้งหมดนี้ลองเอามาลงตาราง Excel หรือ Program Spreadsheet เทียบดูว่า เราแพ้หรือชนะจุดไหน หรือจุดไหนที่แบรนด์นักการตลาดนั้นจะไปต่อได้ในการวางแผนต่อไป


  • 627
  •  
  •  
  •  
  •  
Molek
Head of Strategic Marketing ใน Integrated Service Agency ที่หนึ่ง ผู้หลงใหลในหลาย ๆ ที่มีความอยากรู้และเรียนรู้ในเรื่อง Startup, นวัตกรรม, การตลาด จากมุมมองหลาย ๆ ด้านและวัฒนธรรมของแบรนด์ต่าง ๆ