5 กลยุทธ์แบรนด์แบบใหม่ที่ควรรู้ในปี 2024

  • 1
  •  
  •  
  •  
  •  

 

ในปีนี้ที่เศรษฐกิจเริ่มชะลอตัว หรือมีแนวโน้มว่าจะถดถอยนั้น สิ่งหนึ่งที่สำคัญอย่างมากคือการปรับตัวของแบรนด์ที่จะทำให้ฝ่าฟันอุปสรรคที่เกิดขึ้น และสามารถเอาชนะคู่แข่งได้ขึ้นมา อีกสิ่งหนึ่งที่เปลี่ยนไปคือ scenario ของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปที่มีความคิดหรือมุมมองของแบรนด์ที่เปลี่ยนไป ทำให้แบรนด์ต้องคิดถึงเรื่องกลยุทธ์ของแบรนด์ใหม่ว่าในปี 2024 แบรนด์ต้องมีกลยุทธ์แบบใหม่ที่จะทำให้แบรนด์เหนือกว่าคู่แข่งได้ขึ้นมา ซึ่งนี้คือ 5 กลยุทธ์ของแบรนด์ที่น่าจับตาในปี 2024 นี้

 

1.  มองปัญหาในมุมใหม่ ๆ ก่อนที่จะทำการ Rebranding

หลาย ๆ ครั้งเมื่อคนทำการตลาดหรือคนทำแบรนด์รู้สึกว่าแบรนด์นั้นไม่น่าดึงดูดต่อกลุ่มเป้าหมายแล้ว หรือดูเก่า ดูไม่เข้ายุคสมัยกับกลุ่มเป้าหมาย ก็จะคิดถึงเรื่องการทำกลยุทธ์ Rebranding ขึ้นมาเพื่อให้สามารถจับกลุ่มเป้าหมายต่อไป แต่ในยุคนี้การrebrand อาจจะไม่ใช่คำตอบแค่เป็นการ Reproblem

การ Re Problem คือการเปลี่ยนมุมมองของปัญหานั้น ๆ ออกไป ให้ผู้บริโภคมองปัญหาตัวเองที่ต่างออกไป ยกตัวอย่าง Classic คือ ค้อนกับตะปู ถ้าในมุมมองทั่วไป คือการต้องการเครื่องมือที่จะตอกตะปูเพื่อสร้างรู แต่ถ้าเราเปลี่ยนมุมมองปัญหาว่าแท้จริงแล้ว เราอาจจะไม่ได้ต้องการรู ไม่ได้ต้องการผนัง อาจจะต้องการเพียงที่แขวน ก็สามารถทำให้ปัญหาจากต้องการรู มาเป็นที่แขวนต่าง ๆ ได้ทันที โดยนำเสนอที่แขวนแบบแปะกาวผนังทนทานได้นั้นเอง ดังนั้นก่อนที่จะรีแบรนด์ใด ๆ การเข้าใจแก่นและรากของปัญหา insight ของผู้บริโภค และมาจับกับแบรนด์นั้นเป็นเรื่องจำเป็น

 

2. Conversion เกิดจากอารมณ์มากกว่าเหตุผล

เรื่องนี้เป็นเรื่องทาง Psychology และ neurology ที่สมองของมนุษย์นั้นจะทำงานตัดสินใจจากส่วนที่ใช้ความรู้สึกก่อนขึ้นมาก่อนเหตุผล เพื่อประหยัดพลังงานในความคิด สงวนเพื่อการตัดสินใจเรื่องใหญ่ ๆ ซึ่งทำให้การตัดสินใจในการซื้อสินค้าอะไรก็ตาม ไม่ว่าจะเป็น B2B หรือ B2C นั้นต่างก็มีอารมณ์เป็นส่วนประกอบสำคัญอย่างมากในการตัดสินใจต่าง ๆ

ดังนั้นแบรนด์ที่อยากเอาชนะคู่แข่งในปี 2024 นี้ให้ได้ ต้องหาให้ได้ว่า Emotional Trigger ของเป้าหมายตัวเองนั้นคือเรื่องอะไร การใช้ Emotional Values ที่มากกว่า Features และเอาชนะคู่แข่งได้ จะทำให้คุณเอาชนะตลาดได้

 

3. เข้าใจเรื่อง Tight และ Looses Cultures

เป็นเรื่องที่ทางนักจิตวิทยา Michele Gelfand ได้พบว่าในทุก ๆ สังคมนั้นจะตกอย่างใน  Tight และ Looses Cultures ซึ่งTight Cultures จะมีความเป็นระเบียบและมีกฏเกณฑ์ที่จำกัดมาก ๆ เช่นกีฬา และการเงินที่ไม่สามารถแหกกฏได้เลย ส่วน Looses Cultures จะมีความยืดหยุ่นมากกว่า ขึ้นกับว่าตัวเองเหมาะกับการกระทำแบบไหน ไม่มีผิดถูกตายตัว ซึ่งจะเป็นเรื่องเช่น การเลี้ยงดูเด็ก เรื่องอาหาร การลดน้ำหนัดก ซึ่งมีข้อมูลมากมายให้เปรียบเทียบ และมีกฏเพียงเล็กน้อยที่เข้าใจกัน

แบรนด์ที่สามารถเข้าใจเรื่อง Tight และ Looses Cultures ทำให้แบรนด์เจาะไปยังความเชื่อของกลุ่มเป้าหมายได้ขึ้นมาโดยบางแบรนด์ใช้กลยุทธ์ในการเปลี่ยน Looses Cultures เป็น Tight Cultures ขึ้นมาด้วยการสร้างกฏเกณ์ของแบรนด์และสินค้าตัวเองต่อกลุ่มที่คิดว่าไม่มีกฏเกณฑ์ ทำให้สามารถเปลี่ยนความคิดมาเฉพาะได้เลยว่า ถ้าจะแก้ปัญหาเรื่องนี้ ต้องแบรนด์นี้เท่านั้น

 

4. ทำให้คนทิ้งอคติไป

อคตินั้นเป็นอุปสรรคสำคัญอย่างมากในการที่จะทำให้แบรนด์ไปถึงกลุ่มเป้าหมายได้ ไม่ว่าจะเป็น แบรนด์นี้เหมาะกับคนแบบนี้เท่านั้น หรือเรื่องแบบนี้ต้องใช้แบรนด์นี้ แต่เป็นการที่คิดไปเองโดยผู้บริโภคโดยไม่ได้สนว่ามีความเป็นจริง

สิ่งที่แบรนด์ต้องทำคือการสร้างมุมมองและประสบการณ์ของแบรนด์ เพื่อให้คนทิ้งอคติของแบรนด์ทิ้งไป และทำให้กลุ่มเป้าหมายนั้นเปลี่ยนแปลงความคิดได้

 

5. อย่าให้คุณค่าของแบรนด์ถูกตีความผิดไป

หลาย ๆ ครั้งผู้บริโภคนั้นคิดว่าเอาชนะแบรนด์ได้ ไม่ว่าจะเป็นการได้แต้ม หรือการได้โปรโมชั่นพิเศษบางอย่าง สิ่งที่แบรนด์ต้องทำคือต้องทำให้ผู้บริโภคและกลุ่มเป้าหมายนั้นรู้ว่า ที่ทำแบบนี้ได้ เพราะแบรนด์เข้าใจผู้บริโภค ไม่ใช่ผู้บริโภคเก่งจนหาช่องเอาชนะแบรนด์ได้ ซึ่งถ้าผู้บริโภครู้สึกว่าตัวเองหาช่องชนะแบรนด์ได้เมื่อใด แปลว่าผู้บริโภคไม่ได้จงรักภักดีกับแบรนด์เมื่อนั้น


  • 1
  •  
  •  
  •  
  •  
Molek
Head of Strategic Marketing ใน Integrated Service Agency ที่หนึ่ง ผู้หลงใหลในหลาย ๆ ที่มีความอยากรู้และเรียนรู้ในเรื่อง Startup, นวัตกรรม, การตลาด จากมุมมองหลาย ๆ ด้านและวัฒนธรรมของแบรนด์ต่าง ๆ