โลกของการตลาดเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ วันนี้อาจเป็นเทรนด์ แต่พรุ่งนี้อาจกลายเป็นเรื่องล้าสมัย ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดคือ NFT (Non-Fungible Tokens) ที่เคยเป็นเรื่อง Buzzword สุดฮอตของปี 2022 แต่วันนี้กลายเป็นเพียงความทรงจำราคาแพงของแบรนด์ยักษ์ใหญ่ที่เคยลงทุนมหาศาล
การตลาดเองก็เช่นกัน สิ่งที่เคยได้ผลในอดีต อาจไม่เหมาะสมในปัจจุบัน หรือยิ่งแย่กว่านั้นคืออาจทำให้แบรนด์เสียหายหากนำมาใช้โดยไม่ได้วิเคราะห์
ในบทความนี้จะมาหักล้าง 4 ความเชื่อผิด ๆ ที่ยังคงมีคนเชื่อต่อไป พร้อมแนะนำวิธีการที่เหมาะสมและทันสมัยกว่าในการทำการตลาด
ความเชื่อที่ 1: คนเข้าชมเว็บไซต์เยอะ = ยอดขายเยอะ
หลายคนคงเคยได้ยินคำพูดที่ว่า “ทุกเส้นทางนำไปสู่เว็บไซต์” ซึ่งแปลว่า การเพิ่ม traffic ให้มากที่สุดจะนำมาซึ่งยอดขายที่มากขึ้น แต่ความจริงไม่ใช่แบบนั้น เพราะ ไม่ใช่ทุก traffic ที่มีคุณภาพ แม้คุณจะมีคนเข้าชมเว็บไซต์เป็นพัน แต่ถ้าคนเหล่านี้ไม่ใช่กลุ่มเป้าหมาย หรือไม่มีความสนใจในสินค้าและบริการของแบรนด์ ยอดขายก็อาจไม่เพิ่มขึ้นเลย
ทางออก: การ Retargeting คือเครื่องมือที่ช่วยแยกผู้เข้าชมที่มีคุณภาพสูงออกมา เช่น คนที่ใช้เวลานานบนเว็บไซต์ของคุณ หรือคนที่กลับมาเยี่ยมชมซ้ำบ่อย ๆ แต่ยังไม่ตัดสินใจซื้อ ปัจจุบัน การตั้งค่า Retargetiong Campaign นั้นง่ายมาก เพียงติดตั้ง Pixel บนเว็บไซต์ แล้วปล่อยให้แพลตฟอร์ม เช่น Meta (Facebook หรือ Instagram) จัดการให้ ผลลัพธ์ที่ได้คือ Conversion Rate ที่จะสูงขึ้น และยอดขายที่เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน
ความเชื่อที่ 2: ต้องอยู่บนทุก Social Media Platform
หลายคนคิดว่าการอยู่บนทุก Social Media Platform จะเพิ่มโอกาสให้แบรนด์ถูกมองเห็น ความคิดนี้ไม่ผิด แต่ปัญหาคือถ้าคุณไม่มีทรัพยากรเพียงพอ เพื่อสร้างและดูแล Content ในทุก Platform ผลลัพธ์อาจกลับตาลปัตร
ทางออก: เลือกใช้เพียง 1-2 Platform ที่กลุ่มเป้าหมายของคุณใช้งานมากที่สุด ตัวอย่างเช่น หากกลุ่มเป้าหมายหลักของคุณคือ Gen Z การมุ่งสร้างฐานผู้ติดตามบน TikTok จะได้ผลมากกว่าการกระจายความพยายามไปยัง Platform อื่น การทำให้ดีในบางช่องทางดีกว่าการทำครึ่ง ๆ กลาง ๆ ในหลายช่องทาง
ความเชื่อที่ 3: ต้องใช้เงินเยอะถึงจะทำ Campaign ได้ผล
หลายครั้งแบรนด์ขนาดเล็กมักรู้สึกว่า “ไม่มีงบประมาณเพียงพอ” ที่จะทำ Campaign การตลาดให้ประสบความสำเร็จ แต่เงินเยอะไม่ได้หมายความว่าจะสำเร็จเสมอไป
ทางออก: ให้โฟกัสไปที่ช่องทางที่ให้ผลตอบแทนสูงสุด เช่น การสร้างเนื้อหาที่เจาะลึกความต้องการของกลุ่มเป้าหมายและพัฒนาแคมเปญให้ตรงจุด
ตัวอย่างเช่น การใช้ข้อความสื่อสารที่ชัดเจน และสร้าง Content ที่ตรงใจลูกค้า ก็จะสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ แม้จะมีงบประมาณจำกัด
ความเชื่อที่ 4: ยิ่งมี Content มาก ยิ่งดี “Content คือพระราชา”
เป็นคำที่หลายคนเชื่อ แต่การสร้าง Content จำนวนมากโดยไม่มีเป้าหมายชัดเจน อาจทำให้ทรัพยากรเสียเปล่า
ทางออก: สร้าง Content ที่มีเป้าหมาย เช่น
- เข้าใจว่าอะไรคือสิ่งที่กลุ่มเป้าหมายอยากรู้
- สร้างคอนเทนต์ที่ตอบโจทย์ปัญหาหรือความต้องการเฉพาะเจาะจง
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ MrBeast อินฟลูเอนเซอร์ชื่อดังบน YouTube เขาไม่ได้สร้างวิดีโอทุกวัน แต่ทุกวิดีโอของเขามีการวางแผนและโปรดักชั่นที่ยอดเยี่ยม ทำให้แฟนคลับติดตามอย่างเหนียวแน่น
แค่เพราะบางสิ่งเคยได้ผลในอดีต ไม่ได้หมายความว่าจะเหมาะกับปัจจุบัน ในฐานะนักการตลาดควรกล้าที่จะลองสิ่งใหม่ ๆ และปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์อยู่เสมอ ลองนำ 4 วิธีนี้ไปใช้ แล้วจะพบว่าการตลาดสามารถประสบความสำเร็จได้ โดยไม่ต้องพึ่งพาความเชื่อเก่า ๆ ที่อาจไม่ตอบโจทย์อีกต่อไป!