หลาย ๆ ครั้งการมอง Metric ที่ผิดไป หรือสนใจแต่ Metric ที่ไม่ได้มีผลทางธุรกิจ หรือมีผลต่อความอยู่รอดขององค์กร ทำให้ธุรกิจนั้นตกต่ำและแย่ลงมา หลาย ๆ ครั้งนักการตลาดได้เอเจนซี่ที่นำเสนอตัวเลขสวย ๆ บนรายงาน แต่เมื่อมาเทียบยอดขายกลับกลายเป็นว่าไม่มียอดเลย ซึ่งสิ่งที่นักการตลาดควรสนใจคือ Metric ที่ชี้วัดว่าการตลาด “เวิร์กจริง” หรือแค่ “เรียกเสียงฮือฮา” เพราะในโลกปี 2025 “การเรียกความสนใจ (Attention) อย่างเดียวไม่พอแล้ว” ถ้าไม่ได้เปลี่ยนเป็นยอดขาย รักษาลูกค้า หรือยกระดับแบรนด์ ก็เป็นแค่ “ตัวเลขสวย” ที่ดูดีแต่ไม่ส่งผล และนี่ค่อ 4 Metric ที่นักการตลาดควรให้ความสำคัญมากในปี 2025 นี้
Metric #1: ROAS (Return on Ad Spend) : ตัวเลขเดียวที่บอกว่าโฆษณาคุ้มเงินหรือไม่ การลงเงินยิง Ads นั้นเป็นเรื่องง่ายขึ้นเยอะในตอนนี้เพราะมีเครื่องมือมากมายให้ใช้งานง่ายขึ้น แต่วัดผลจริง ๆ ว่า “คุ้ม” ไหมเป็นเรื่องสำคัญ เพราะ ROAS นั้นคือคำตอบที่จะบอกได้ว่าคุ้มไม่คุ้ม เช่น ถ้าจ่ายค่าโฆษณา 100,000 บาทแต่ทำรายได้กลับมา 5,000 บาท ต่อให้ CTR ดีแค่ไหน คุณก็ขาดทุน การคำนวน ROAS ใช้สูตรดังนี้คือ ROAS = (รายได้จากโฆษณา) ÷ (ค่าใช้จ่ายโฆษณา) เช่น ใช้ 100,000 บาท ทำยอดขายได้ 500,000 บาท = ROAS = 5.0 หรือ 500% (ระดับนี้ถือว่าดี) แต่ถ้า ROAS ต่ำกว่า 1 แสดงว่ากำลังขาดทุน ทางแก้ ROAS คือ ปรับ Targeting เพราะถ้ายิงผิดกลุ่ม ก็ขายไม่ได้ หรือพัฒนา Offer เพราะถ้าสินค้าไม่ตรงใจ ตลาดไม่ตอบรับ แค่ยิงแอดอย่างเดียวก็ช่วยไม่ได้ และติดตามการซื้อในหลายจุด เพราะลูกค้าอาจเจอหลายช่องทางก่อนตัดสินใจ
Metric #2: CAC (Customer Acquisition Cost) เพราะการเติบโตไม่คุ้ม ถ้าจ่ายแพงกว่าที่ได้คืน
สาระสำคัญของการตลาดคือได้ลูกค้า “อย่างมีกำไร” ถ้าต้นทุนได้มาซึ่งลูกค้ารายใหม่ (CAC) เกินกว่ารายได้ที่ลูกค้าให้ แปลว่าคุณกำลังทำ “การกุศล” ไม่ใช่ธุรกิจ (นั้นหมายถึงขาดทุน) สามารถคำนวนสูตร CAC ได้ดังนี้
CAC = (ค่าใช้จ่ายการตลาด + เซลส์) ÷ (จำนวนลูกค้าใหม่) เช่น ใช้ 100,000 บาท ได้ลูกค้า 500 คน = CAC อยู่ที่ 200 บาทต่อคน หลาย ๆ ครั้งจ่ายเงินไป ไม่เคยดูกลับกลายเป็นว่าจ่ายค่าหัวลูกค้าแพงมากเกินไป ดังนั้นวิธีแก้ CAC สูงคือ ดัน Conversion Rate เพราะถ้าได้คลิกแต่ไม่ซื้อ แปลว่ามีจุดอ่อนในช่องทางขาย ที่ต้องอุด หรือ Retargeting & Upsell ด้วยการหาลูกค้าจากฐานเดิมดีกว่า หรือลูกค้าที่เคยเข้ามาดู ถ้าเขาสนใจอยู่แล้วก็ใช้เงินน้อยลง และพึ่งช่องทางฟรี เช่นSEO, การบอกต่อ (Word-of-mouth), Referral เพื่อลดการใช้จ่ายยิง Ads ตลอดเวลา
Metric #3: “Engaged Follower Percentage” เพราะจำนวน Follower เยอะแต่ไม่ซื้อ ก็ไร้ประโยชน์
เพราะการมียอดคนติดตาม 1,000,000 คน ไม่ได้หมายความว่าจะมีลูกค้า 1,000,000 คนเช่นกัน ดังนั้นต่อให้มีผู้ติดตามเป็นมากแค่ไหน หากไม่มีใครอยากมีส่วนร่วม ก็ไร้ค่า การมีผู้ติดตามที่เป็นลูกค้าจึงสำคัญอย่างมาก สามารถใช้สูตรคำนวน
สูตร: (จำนวน Engagement ทั้งหมด) ÷ (จำนวน Followers) x 100 เช่น มี 10,000 ฟอล แต่ได้ 100 ไลก์/แชร์/คอมเมนต์ = 1% (ค่อนข้างต่ำ) บางแบรนด์หลายล้านคนติดตาม แต่ Engagement ต่ำ นั่นเพราะการเอาแต่จำนวนโดยไม่ได้สนใจคุณภาพ” วิธีแก้ Engagement แย่คือ ทำคอนเทนต์ที่ “โดนใจ” จริง ๆ การกระตุ้นให้โต้ตอบ และกำจัด “Follower ผี”: ถ้ามีบอตหรือคนไม่มีตัวตนเยอะ ลบออกจะดีกว่า
Metric #4: สัดส่วนทราฟฟิก “Organic vs. Paid” เพราะแบรนด์ฝากชีวิตไว้กับการยิง Ads อย่างเดียวไม่ได้ แน่นอนการจ่ายเงินซื้อโฆษณาช่วยได้เยอะ ดึงดูดคนเข้ามาเห็นแบรนด์ แต่ถ้าพึ่งโฆษณามากเกินไป อันตราย เพราะ CPM อาจพุ่งสูงในอนาคต หรือแพลตฟอร์มปรับอัลกอริทึม ก็ทำแบรนด์แย่ในทันที ดังนั้นสัดส่วน Traffic ที่มาจากออร์แกนิกเทียบกับ Paid จึงสำคัญ
สูตร: (ทราฟฟิกออร์แกนิก ÷ ทราฟฟิกทั้งหมด) x 100 เช่น มี 10,000 วิว/เดือน โดย 6,000 มาจากออร์แกนิก = 60% บ่งบอกแบรนด์ไม่ต้องขึ้นกับแอดเพียงอย่างเดียว โดย“สัดส่วนออร์แกนิก” ยิ่งมากยิ่งดี สื่อว่าแบรนด์ มีฐานแฟนที่คอยติดตามเอง วิธีเพิ่ม Organic Traffic ได้โดยลงทุนใน SEO เพราะคนหาแบรนด์ได้โดยไม่ต้องลงโฆษณา หรือเน้น Quality Content และใช้การบอกต่อ (Word-of-mouth) ทำงาน
การตลาด ไม่ใช่การวิ่งล่าตัวเลขใหญ่โต แต่คือการตามหา “ตัวเลขที่ใช่” ถ้า Metric ไหนไม่ช่วยสร้างยอดขาย รักษาลูกค้า หรือขับเคลื่อนแบรนด์ในทางที่มีความหมาย มันก็เป็นได้แค่ “ตัวเลขที่ดูดีแต่ไม่มีประโยชน์”