เช็คสินค้าที่มีแนวโน้มเป็นที่นิยมและขายดีด้วย Keyword Planner

  • 1
  •  
  •  
  •  
  •  

จะดีกว่านี้หรือไม่ ถ้าเรารู้ล่วงหน้าว่าสินค้าอะไรจะขายดี สำหรับธุรกิจที่เปิดกิจการมานานก็พอรู้ว่าสินค้าของตัวเองประเภทไหนที่คนมักจะซื้อเป็นประจำในช่วงระยะเวลาต่างๆ ดีหน่อยก็คือเอาข้อมูลการซื้อขายทั้งหมดที่ผ่านมาเอามาวิเคราะห์ให้เห็นเทรนด์ แต่สำหรับธุรกิจเปิดใหม่ที่ไม่ได้มีข้อมูลการซื้อขายมากนัก ก็ต้องพึ่งพาข้อมูลภายนอกมาประกอบการตัดสินใจว่าจะขายอะไรดี

วันนี้เลยจะแนะนำเครื่องมือพื้นฐานสุดๆอย่าง Google Keyword Planner กัน ปรกติแล้วเครื่องมือตัวนี้ใช้หาไอเดียว่า Keyword ตัวไหนเหมาะสมที่จะให้ผ็ค้นหาเจอโฆษณา Google Ads หรือเว็บไซต์ของเรา และนำ Keyword ที่ได้มาวางแผนใช้ออกแบบโครงสร้าง Google Ads Account ของแบรนด์

 

เริ่มใช้ Keyword Planner อย่างไรดี?

ปัจจุบัน Google Keyword Planner เป็นเครื่องมือส่วนหนึ่งของ Google Ads ไปแล้ว ฉะนั้นรบกวนสมัครเปิดบัญชี Google Ads ก่อน เมื่อเข้าหน้า Dashboard ของ Google Ads แล้ว ให้ไปที่ Tools and Setting (บนแถบด้านบน) แล้วคลิกไปที่ Keyword Planner

 

ก็จะเจอหน้าต่างนี้ ให้เราเลือกบัญชีที่เราสมัครไว้ แล้วกดไปที่ Discover New Keyword

 

ก็จะมีช่องให้เรากรอกอยู่สองช่องคือช่องสินค้าและบริการของธุรกิจเราด้านบน และเว็บไซต์ของเรา(หรือจะของคู่แข่งก็ได้) ตัวอย่างที่ให้ดู ผมกรอกแอร์ เพราะคิดว่าน่าจะขายดีรับหน้าร้อน และกอรกเว็บไซต์ที่ขายแอร์ลงไป จากนั้นก็กด Get Result

 

ก็จะได้ผลลัพธ์ออกมาแบบนี้

ในรูปได้ปรับช่วงเวลาเป็น All Available แล้ว จะสังเกตว่า แอร์มักจะมีการค้นหาเยอะเป็นพิเศษตอนช่วงเดือนมีนาคม จนถึงพฤษภาคม โดยเฉพาะปีที่แล้วที่รัฐบาลประกาศขอความร่วมมืองดจัดกิจกรรมในวันสงกรานต์เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของ COVID-19 คนจึงอาจจะอยู่บ้านมากขึ้นในช่วงหน้าร้อนและหาซื้อแอร์มาติดตั้งที่บ้านมากขึ้นนั่นเอง

 

จะทำอย่างไรกับ Keyword ที่ได้มา?

จากรูปลองสังเกตทางด้านขวามือ จะมีปุ่ม Expand All ให้กดปุ่มนั้น เราจะเห็นหมวดหมู่ Keyword ที่จัดกลุ่มตามแบรนด์ต่างๆแลละที่ไม่ใช่แบรนด์ ไปจนถึงผู้จัดจำหน่ายสินค้าที่เกี่ยวข้อง ในรูปนี้เราจะเห็นยี่ห้อแอร์หลายยี่ห้อ และร้านที่ขายแอร์

 

ตรงนี้แหละครับ ที่จะเป็นตัวกำหนดโครงสร้างของแคมเปญใน Google Ads คำแนะนำของผมคือ จากหมวดหมู่ Keyword ที่เห็นอยู่ตรงหน้า ให้ทำแคมเปญออกเป็น 4 ประเภทได้แก่

  1. แคมเปญที่มี Keyword เน้นประเภทสินค้าแต่ไม่มียี่ห้อของสินค้าและผู้จัดจำหน่าย (Generic Campaign)
  2. แคมเปญที่มี Keyword เน้นยี่ห้อของสินค้าอย่างเดียว (Brand Campaign)
  3. แคมเปญที่มี Keyword เน้นประเภทสินค้าและชื่อธุรกิจของเรา (Business Campaign)
  4. แคมเปญที่มี Keyword เน้นชื่อผู้จัดจำหน่ายสินค้า (Competitor Campaign)

โชคดีตรงที่ว่า Google Keyword Planner มี Filter ให้เราเลือกกลุ่ม Keyword ได้ เช่น ถ้าเราจะเอาแอร์ยี่ห้อ Samsung อย่างเดียว ก็ติ๊กถูกตรง Samsung อย่างเดียวตามรูป แล้วกด Download Keyword Idea เพื่อเอา Keyword นั้นมาใส่ในแคมเปญ Google Ads นั่นเอง

 

เรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับการทำแคมเปญบน Google Ads

  1. ในรูปเราจะเห็นกลุ่ม Non-Brand ซึ่งปรกติเราจะเอา Keyword พวกนี้ใส่เข้าไปใน Generic Campaign แต่ต้องระวังว่าไม่ใช่ Keyword ทุกตัวจะไม่มียี่ห้อสินค้าปนมา เพราะบางครั้ง Keyword Planner มันตรวจจับ Keyword ยี่ห้อที่พิมพ์เป็นภาษาไทยไม่ได้ เช่นบางคนอาจจะค้นหาคำว่า “แอร์ ซัมซุง” ซึ่งอาจจะไม่ถูกจัดเก็บในกลุ่ม Samsung แต่ไปอยู่ใน Non-brand แทน
  2. จาก 4 ประเภทแคมเปญที่แนะนำ เราควรสำรองงบประมาณให้ Generic Keyword มากที่สุด เหตุผลง่ายๆคือ Generic Campaign นั้นเปรียบกับช่วง “Research” ใน Customer Journey ของลูกค้า เช่น ลูกค้ารู้แล้วว่าตัวเองอยากได้แอร์ แต่ไม่รู้ว่ายี่ห้อไหนดีที่สุด แล้วต้องซื้อรุ่นอะไร ซื้อที่ไหนถึงจะได้ราคาดี ซึ่งลูกค้าพวกนี้ ปรกติต้องมีเยอะกว่าลูกค้าที่รู้แล้วว่าจะซื้อสินค้ายี่ห้ออะไร และซื้อกับเจ้าไหน และหลายๆครั้งลูกค้าตามหารีวิว เมื่อลูกค้าในช่วง Research เยอะกว่า ทำให้เราต้องใช้งบประมาณไปกับ Generic Campaign เยอะกว่านั่นเอง
  3. ตรรกะของแคมเปญทั้ง 4 ที่แนะนำนั้นเป็นไปตาม Customer Journey เลย คือเมื่อลูกค้ากำลังหายี่ห้อสินค้าและร้านค้าที่ขายสินค้านั้นๆ ลูกค้าก็ควรจะเจอโฆษณาของเรา เมื่อลูกค้าคนเดิมร็ว่าอยากได้ยี่ห้อไหน ซื้อกับใคร ก็ขอให้ลูกค้าค้นหายี่ห้อนั้น และตามด้วยซื่อร้านค้าของเรา แล้วให้เจอโฆษณาของเรา (และถ้าช่วงไหนมีการแข่งขันรุนแรง ก็เปิด Competitor Campaign ให้ลูกค้าที่ค้นหาชื่อร้านคู่แข่ง แล้วเจอโฆษณาของเราตัดหน้าคู่แข่งได้ด้วย)

 

ไม่ใช่ Keyword ทุกตัวที่จะเพิ่มยอดคลิกโฆษณาได้เยอะๆ และก็ไม่ใช่ Keyword ที่ทำให้เกิดยอดขาย ฉะนั้นต้องหมั่นสังเกต Performance Keyword ตัวไหนทำยอดคลิกได้น้อย ทำยอดขายน้อย ก็ปิด Keyword ตัวนั้นในภายหลังได้ครับ

 

บทความนี้เผยแพร่ใน Marketing Oops เป็นที่แรก


  • 1
  •  
  •  
  •  
  •  
Sarunjade
แชร์มุมมองเกี่ยวกับ Digital Marketing, Digital Business และ Technology เท่าที่รู้ สามารถติชมหรืออยากให้เจาะลึกเรื่องไหนเป็นพิเศษ ส่งเมลมาเลยที่ contact@oopsnetwork.co.th