สอง สาม วันมานี้ เราจะได้เห็น Content ต่าง ๆ เกี่ยวกับ นโยบายของ Facebook ที่ออกมาสู่ Branded Content ว่าขอกำหนดอย่างไรบ้าง ซึ่งทำให้นักการตลาดและคนที่ทำการตลาดผ่าน Facebook นั้นตื่นตระหนกกันอย่างมาก และคิดว่าข้อกำหนดเหล่านี้จะถูกนำมาใช้กับตัวเองด้วย แต่แท้จริงแล้ว FFacebook Policy ในเรื่อง Branded Content นี้ทำมาเพื่ออะไร และนักการตลาดจะได้ผลกระทบแบบไหนกัน
ก่อนอื่นต้องเข้าใจเรื่อง Branded Content ก่อนว่าคืออะไร
Branded Content นั้นเรียกได้ว่าเป็นเครื่องมือหนึ่งใน Facebook ที่ออกมาเพื่อให้คนที่เป็น Content Creator ทั้งหลายไม่ว่าจะเป็น Media, KOL, Influencers, Publisher หรืออื่น ๆ ที่ประกอบอาชีพโดยการทำเนื้อหาออกมานั้น สามารถใช้เครื่องมือในการบริหารจัดการการทำงานร่วมกับแบรนด์และเอเจนซี่ได้ และทำให้การทำงานระหว่าง แบรนด์และเอเจนซี่ กับ Media, KOL, Influencers, Publisher หรืออื่น ๆ นั้นมีความโปร่งใสมากยิ่งขึ้น ซึ่งจริง ๆ แล้วประเทศไทยเองอาจจะรู้สึกว่า แล้วทำไมต้องใช้เครื่องมือนี้ด้วย ทำแบบปกติไม่ได้เหรอ แบบที่แบรนด์ให้เอเจนซี่ หรือแบรนด์เองติดต่อตรงกับทางเพจ หรือ สื่อ หรือ Influencer และ Content Creator ต่าง ๆ ให้เอาคลิปไปลง หรือทำคลิปมาโปรโมท พูดถึง Campaign ต่าง ๆ ที่กำลังทำได้ไหม แล้วแบรนด์หรือเอเจนซี่ ก็ขอเข้าไปเป็น Admin แบบ Advertiser เพื่อลงโฆษณาใน Page นั้น ๆ ขึ้นมา หรือง่ายกว่านั้นก็คือมีการมอบเงินให้เพิ่มเติมเพื่อให้ คนเหล่านั้นไป Boost Content ที่เราต้องการแทน
คำตอบคือไม่ได้แล้วในต่างประเทศในการทำแบบนี้ เพราะในต่างประเทศนั้นมีกฏหมายที่ห้ามการรับเงินหรือสิ่งตอบแทนมา แล้วมาทำการโปรโมทหรือโพสโดยไม่ได้แจ้งอะไรกับผู้บริโภคโดยทั่วไป ซึ่งการโพสเฉย ๆ โดยไม่มีการบอกว่าได้มาอย่างไรหรือใครให้มาจะเข้าข่ายการทำการหลอกลวงผู้บริโภคให้เข้าใจผิดได้ในการชักจูงมาใช้สินค้าของเหล่า Influencer และ Publisher ต่าง ๆ ทำให้ Influencer และ Publisher เหล่านี้เวลาจะโพสอะไรที่เกี่ยวข้องกับแบรนด์ต้องประกาศมาเลยว่า ได้รับเงินค่าจ้าง หรือได้รับการสนับสนุนอะไรไปก็ตามเพื่อไม่ให้ผิดกฏหมายไป ด้วยเหตุนี้การกระทำแบบในประเทศไทยที่เกณฑ์คนทั่วไปมาบอกว่าใช้สินค้า ผ่านเครื่องมือต่าง ๆ หรือการใช้ Influencer แล้วไปบอกว่าเนียน ๆ ว่าใช้งานสินค้าและบริการนั้นมา ใช้ไม่ได้ในต่างประเทศ และเช่นกันกฏเกณฑ์ในต่างประเทศเองนั้นก็ใช้ไม่ได้ในประเทศไทยเช่นกัน
แล้วผลที่เกิดขึ้นของ Branded Content ที่เปลี่ยนไปสำหรับนักการตลาดคืออะไร ในระดับที่ถูกต้องแล้วสำหรับ Media และ Publisher หรือ KOLs, Influencer นั้นคือ แบรนด์ หรือ เอเจนซี่นั้นจะต้องร่วมมือในการทำงานกับ Media และ Publisher หรือ KOLs, Influencer นั้นให้ดี หรือทำงานต่าง ๆ ให้โปร่งใสมากยิ่งขึ้นไปอีก ต้องมีการระมัดระวังว่าคุณกำลังจะไม่ทำการหลอกลวงหรือทำให้คนที่ดู Content นั้นเข้าใจผิดว่าคุณนั้นสนับสนุนสินค้านั้นโดยไม่มีการหาผลประโยชน์ แต่แท้จริงแล้ว คุณกำลังหาผลประโยชน์ออกมา (บ้านเราเห็นได้ชัด ในเว็บบอร์ดที่จริง ๆ แล้ว เป็น Sponsored Review [SR] แต่มาเนียนบอก Consumer Review [CR] นั้นเอง ซึ่งแบบนี้ผิดกฏหมายในเมืองนอกทันที)
ซึ่งการใช้ Branded Content Tools นั้นมีข้อดีสำหรับการทำงานนี้ต่อผู้บริโภคแล้ว กับ Content Creator และ Brand หรือ Agency เอง ก็มีความโปร่งใสเช่นกัน เพราะสามารถเห็นการทำงานของ Content Creator พร้อม ๆ กับการลงเงินในการ Boost และโปรโมทโพสนั้นได้ทันทีว่าจะบริหารจัดการอย่างไรขึ้นมาเพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงสุดได้ รวมทั้งการทำงานร่วมกับ Content Creators นี้ยังสามารถทำให้สร้าง Content ที่ตรงกับความเป็นตัวตนของ Content Creators นั้นด้วย
ในระดับแบบประเทศไทยเองนั้นเอง ถ้าคุณไม่ได้ใช้ Branded Content Tools นั้นก็แทบไม่มีผลอะไรในการที่จะทำตามหรือไม่ตามข้อกำหนดดังกล่าวเลย เพราะข้อกำหนดนี้ยังไม่ได้รวมในส่วน Page หรือคนทำอื่น ๆ โดยทั่วไปที่ไม่ได้ใช้เครื่องมือนี้ ทำให้ยังมีช่องว่างอยู่ที่จะใช้งานในรูปแบบเดิมอยู่ไม่ว่าจะเป็นการซื้อโพสหรือการบอกให้ช่วยโปรโมท Content ต่างๆ ขึ้นไป ซึ่งจะผิดจริยธรรมและความถูกต้องไหมนั้นก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งไปแทน ทั้งนี้เพียงแต่การทำงานที่ควรจะโปร่งใสเหมือนการใช้ Branded Content Tools กลับต้องมาคลุมเครือทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการทำงานที่อาจจะได้ไม่ตรงใจกันของทั้ง Content Creators กับ Brand หรือ Agency จนถึงการบริหารความโปร่งใสของการใช้เงินต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นผ่าน Page ของ Content Creators นั้นเอง
ทั้งนี้โดยสรุปแล้ว การเปลี่ยนแปลงของนโยบายนี้ต่อการทำ Branded Content นั้นแทบไม่มีผลอะไรเลยถ้าคุณไม่ได้อยู่ในระบบการใช้ Branded Content Tools แต่ถ้าคุณได้เข้าไปอยู่ในระบบนี้แล้ว การทำงานร่วมกันและการสร้างความโปร่งใสออกมานั้นคือทางออกที่ดีที่สุดในตอนนี้