อย่าเชื่อ Report ต่างชาติหรือเอาพฤติกรรมต่างชาติมาแทนคนไทย จนกว่าจะได้ลองเอง

  •  
  •  
  •  
  •  
  •  

สิ่งหนึ่งที่ผมเห็นบ่อย ๆ ในวงการการทำ Digital Marketing ของประเทศไทย นั้นคือการที่คนที่บอกว่าตัวเองเป็น Guru นั้นชอบอ้างสถิติหรือผลวิจัยจากต่างชาติในเรื่องสถิติของพฤติกรรมผู้บริโภค และเอามาเป็นเหตุผลในการโน้มน้าวให้คนที่สนใจในเรื่อง Digital Marketing นั้นทำตามสถิตินั้นเลย โดยไม่ได้ตั้งคำถามว่าสถิติพวกนี้แทนประชากรหรือพฤติกรรมของผู้บริโภคคนไทยแค่ไหน และควรจะใช้สถิตินั้นอย่างไรดีให้ฉลาด

Screen Shot 2559-06-04 at 11.52.25 AM

การทำ Digital Marketing นั้นไม่ต่างจากการทำ Marketing ซึ่งถ้าจะทำให้ได้ดีที่สุดนั้น ต้องมีการรู้ข้อมูลหลาย ๆ รูปแบบและรอบด้านก่อนที่จะวางแผนลงมือในการทำการตลาดออกไป และการที่จะมีข้อมูลนั้นการค้นคว้า การทำวิจัยหรือข้อมูลการวิจัยในเรื่องพฤติกรรมผู้บริโภค เทรนด์การตลาด และคู่แข่งนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญในการทำงาน เพื่อที่จะวางแผนให้ได้ดี และปิดจุดอ่อนหรือสร้างการคาดการณ์ผลที่จะได้รับ แต่การหาข้อมูลหลาย ๆ อย่างนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย และในประเทศไทยเองการจะให้ได้มาซึ่งข้อมูลพฤติกรรมเหล่านี้นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย นักการตลาดหรือคนทำการตลาดส่วนใหญ่จึงมักจะอ้างข้อมูลการวิจัยหรือข้อมูลเชิงสถิติจากต่างประเทศมาใช้กัน รวมทั้ง Guru ทาง Digital Marketing ที่อ้างสถิติเหล่านี้เพื่อโน้มน้าวผู้ฟังหรือผู้ติดตามว่าสถิติเหล่านี้หรือการทำตามที่ Guru นั้นบอกมีความสำคัญอย่างไร แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือในระดับผู้ทำจริงหรือผู้ที่เข้าใจจริง ๆ นั้นจะไม่ได้เชื่อสถิตินี้ 100% เพราะพฤติกรรมคนไทยนั้นไม่ได้เหมือนชาวต่างชาติ

Content-marketing-trends-screens-chart-1
หลากหลายข้อมูลนั้นเป็นสถิติคนอเมริกา มากกว่าประเทศไทย

 

ตลาดประเทศไทยนั้นได้ชื่อในหมู่คนทำการตลาดหรือการทำ Digital Marketing นั้นว่าเป็นตลาดผู้บริโภคที่ยากแบบหนึ่ง เพราะประเทศไทยนั้นมีส่วนผสมระหว่าง Traditional และ Digital รวมกัน การเปลี่ยนและไม่เปลี่ยนของพฤติกรรมคน หรือส่วนผสมของเทรนด์ระหว่างตะวันออกและตะวันตก และการใช้เครื่องมือหรือกระแสแบบไม่เหมือนที่ต่างประเทศเป็นกัน เราจึงได้เห็นการใช้เทรนด์คำพูดหนึ่ง มาใช้กลายเป็นอีกเรื่องหนึ่งของประเทศไทย สิ่งเหล่านี้ทำให้การทำให้แบรนด์จากต่างประเทศที่พยายามจะเข้ามาทำตลาดในประเทศไทย และคิดว่าจะใช้รูปแบบตัวเองที่ทำมาจากต่างประเทศหรือตลาดที่เคยประสบความสำเร็จมาแล้วมาทำในประเทศไทย และคิดว่าตลาดไทยนั้นจะเหมือน ๆ กัน ต่างต้องเก็บพับกระเป๋าการทำการตลาดสินค้าและบริการนั้นออกไปอย่างมากมาย เช่น application ต่างที่เห็นได้ชัดที่พยายามทุ่มงบประมาณมาทำตลาดในประเทศไทย แต่ปรากฏว่าพฤติกรรมคนไทยไม่เหมือนตลาดตัวเองจนทำเท่าไหร่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ หรือค่ายมือถือเองก็ตามที่พยายามจะเปิดตัวสินค้าด้วยการทำตลาดแบบต่างประเทศเพียงจะใช้ word of mouth ในการกระจายข่าวสินค้า หรือการที่ Tech Company ขนาดใหญ่ที่พยายามจะเอาสินค้าที่ประสบความสำเร็จที่อเมริกาใต้และอินเดีย มาลองเปิดตัวที่ประเทศไทยก็ไม่ประสบความสำเร็จเช่นกัน

54885c1d82a98scr_1418158511-700x466

ด้วยบทเรียนเหล่านี้ทำให้นักการตลาดที่เคยมีประสบการณ์หรือเรียนรู้เรื่องราวเหล่านี้มา จึงต้องพึงระวังในการใช้ข้อมูลผลการวิจัยจากต่างประเทศว่าอะไรใช้ได้ หรือใช้ไม่ได้ เพราะไม่ใช่ทุกอย่างที่จะถูกนำมาใช้ได้ทันที หรือเชื่อได้ทันทีในจากข้อมูลนั้นที่ได้มา นักการตลาดหรือผู้ใช้ช้อมูลนั้นควรทำการพิจารณาข้อมูลนั้นว่ามีประโยชน์หรือนำมาปรับใช้ได้แค่ไหน หรือเมื่อเปรียบเทียบแล้วข้อมูลไหนที่ตรงกับพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายในประเทศไทย ซึ่งทางที่ดีควรจะทดลองหรือนำมาเทียบกับการทำการตลาดที่ผ่านไปว่าตรงกันไหม อย่าเพิ่งทุ่มสุดตัวกับการใช้ผลวิจัยนั้นเลย หลาย ๆ ครั้งนั้นบริษัทวิจัยหรือบริษัททำข้อมูลนั้นมักให้ข้อมูลเพียงด้านเดียว เช่นการบอกเวลาที่เหมาะสมในการโพส หรือพฤติกรรมโดยรวมจากโลกออนไลน์ แต่สิ่งหนึ่งนั้นต้องเข้าใจว่าการทำการตลาดนั้นไม่ใช่ทำแบบ Mass Target ขนาดนั้นหรือเอา Universe โดยรวมมาคิด เพราะสินค้าหรือบริการนั้นถูกสร้างมาเพื่อตอบสนองการแก้ปัญหาของกลุ่มคนใดกลุ่มคนหนึ่ง ซึ่งในที่นี้อาจจะมีพฤติกรรมที่แตกแยกหรือเมื่อแยกออกมาอาจจะไม่เหมือนกลุ่มคนทั้งหมดเลยก็ได้ ลองดูตัวเอย่างได้จากเวลาที่เหมาะสมในการโพสข้อความ ที่แต่ละเพจนั้นไม่เหมือนกัน เพราะเมื่อเป็นพฤติกรรมแยกย่อยตามความสนใจก็จะมีพฤติกรรมที่เฉพาะตัวมากมาย ทั้งนี้การเข้าใจถึงกลุ่มเป้าหมายตัวเองนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญในการที่จะรู้ว่าข้อมูลไหนที่ควรใช้หรือไม่ควรใช้ต่อไป แถมทำให้ข้อดีคือการสามารถโฟกัสถึงการทำการตลาดที่เหมาะสมของกลุ่มเป้าหมายได้มากกว่า

เวลาโพสที่เหมาะสมที่บอก อาจจะไม่ได้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายเรา
เวลาโพสที่เหมาะสมที่บอก อาจจะไม่ได้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายเรา

ข้อมูลในยุคนี้นั้นนับได้ว่าเป็นทองคำ และแน่นอนในยุคตื่นทองเช่นนี้การมีทองปลอมนั้นก็เกิดขึ้นมาอย่างมากมาย การแยกได้ว่าข้อมูลจากต่างประเทศอันไหนใช้ได้ นั้นเป็นทักษะที่จำเป็นต่อการทำงานในยุคนี้ เพราะถ้าคุณใช้ข้อมูลนั้นผิด ๆ หรือ Execute จากข้อมูลนั้นผิด ๆ ก็อาจจะทำให้คุณเสียหายจากการตลาดอย่างมากมาย หรือทำให้เสียโอกาสทางการตลาดนั้นทันที การใช้หลักการพุทธที่เรียกว่า กาลามสูตร เป็นสิ่งที่ช่วยทำงานในการเชื่อผลวิจัย หรือผลสถิติต่าง ๆ นั้นได้ดีขึ้น ทำให้การทำงานนั้นมีความรอบคอบมากยิ่งขึ้นไปอีก

Copyright © MarketingOops.com


  •  
  •  
  •  
  •  
  •  
Molek
Head of Strategic Marketing ใน Integrated Service Agency ที่หนึ่ง ผู้หลงใหลในหลาย ๆ ที่มีความอยากรู้และเรียนรู้ในเรื่อง Startup, นวัตกรรม, การตลาด จากมุมมองหลาย ๆ ด้านและวัฒนธรรมของแบรนด์ต่าง ๆ