หากครั้งหนึ่งในการสัมภาษณ์งาน คุณทำได้เยี่ยมมาก ทุกอย่างกำลังไปได้สวย คุณรู้สึกมั่นใจในทุกคำตอบที่ผู้สัมภาษณ์งานถามมา ความรู้สึกเต็มเปี่ยมว่างานนี้จะต้องตกเป็นของคุณอย่างแน่นอน
และเป็นธรรมเนียมปฏิบัติตามมารยาททั่วไปก่อนจบการสัมภาษณ์ ผู้สัมภาษณ์มักจะถามว่า “คุณมีคำถามอะไรจะถามเราบ้างไหม?” จากนั้นคุณก็ตอบอย่างทันควันว่า “มีครับ/ค่ะ ผมจะต้องทำงานกี่ชั่วโมง ครับ/คะ?” และจากผู้ที่เกือบกำชัยชนะ คุณก็ถูกเตะโด่งออกนอกลู่วิ่งทันที
ดังนั้น เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในลักษณะนี้ เรามีคำแนะนำดีๆ ที่จะไม่ทำให้คุณฆ่าตัวตายในการโต้ตอบระหว่างสัมภาษณ์งาน จาก Brian de Haaf ผู้ก่อตั้งและซีอีโอบริษัทซอฟท์แวร์ Aha! จะมาเป็นผู้ชี้แนะนำ ดังนี้
1.“จริงๆ แล้วบริษัทคุณทำอะไรกันแน่?”
มันสะท้อนไปถึงประโยคที่ว่า “ฉะนั้น ผมจึงไม่ได้เตรียมตัวสำหรับการสัมภาษณ์ในครั้งนี้”
เช่นเดียวกันคุณเองก็คงไม่พอใจหากคนที่มาสัมภาษณ์คุณไม่ได้ทำการบ้านมาเลย ดังนั้น ทำไมไม่รักษามารยาทไว้สักนิด de Haaf โพสต์ใน LinkedIn ว่า “ไม่ว่าคุณจะมาสัมภาษณ์เพื่ออะไร คุณก็ควรที่จะทำความรู้จักกับบริษัทที่คุณไปสัมภาษณ์ไว้ด้วย มันเป็นหน้าที่ของคุณที่จะต้องเข้าถึงการสัมภาษณ์ กระตือรือร้นที่จะอธิบายว่าคุณมีทักษะพิเศษอย่างไรที่จะช่วยทีมในการทำงานให้มีประสิทธิภาพ”
หากไม่ได้เตรียมการสัมภาษณ์มาเลย คุณก็เพียงแค่บอกกับผู้สัมภาษณ์ว่า ผมไม่สนใจในงานที่บริษัทของคุณ และคงไม่ไปสัมภาษณ์ก็พอ
2. “ผม/ดิฉัน จะต้องทำงานกี่ชั่วโมงครับ/ค่ะ?”
“คำถามนี้บอกอะไรหลายอย่างเกี่ยวกับผู้สมัคร” de Haaf กล่าวและว่า “การสัมภาษณ์คือที่ที่คุณจะสามารถฉายแววของคุณได้ ทำไมไม่แสดงให้เขาเห็นว่าคุณคือคนที่ดีที่สุดล่ะ แสดงให้เขาเห็นว่าคุณคือพนักงานที่ประสบความสำเร็จที่สุดและสามารถจัดการเวลาได้ดี คุณควรที่จะมั่นใจว่าคุณสามารถแสดงให้เห็นว่าคุณนั้นเหมาะกับงานนี้”
นอกจากเรื่องเวลางานที่จะควรจะหลีกเลี่ยงถามแล้ว ความสนใจที่คุณมีกับงานที่รับผิดชอบน้อยๆ ก็ไม่ควรเช่นกัน สรุปก็คือเรื่องเวลาทำงาน ค่าล่วงเวลา และการลาป่วยให้เลี่ยงไปเลย
3. “เมื่อไหร่ที่จะได้ขึ้นเงินเดือนครับ/คะ?”
นี่ก็เป็นอีกตัวอย่างของคำถามที่เปิดเผยมากเกินไป de Haaf กล่าวว่า “ใครก็ตามที่ถามคำถามแบบนี้ สะท้อนว่าเขานั้นเห็นความสำคัญขอองเงินหรือค่าตอบแทนมาก่อนการทำงาน”
de Haaf อธิบายเพิ่มว่า พนักงานจะได้รับการค่าตอบแทนที่สูงขึ้นก็มาจากการทำงานที่หนัก (ไม่ใช่เรื่องของเวลา) ดังนั้น ผู้สมัครที่ดีก็ควรจะรู้สิ่งนี้และภาคภูมิใจที่จะได้รับงานที่ท้าทายไม่ใช่คาดหวังแต่ผลตอบแทน