เรียนรู้การทำ Sustainability ที่แท้จริง ในระดับเวิร์ลคลาสของ ‘ลิกซิล (LIXIL)’ บริษัทสินค้าภายในบ้านสัญชาติญี่ปุ่น

  • 261
  •  
  •  
  •  
  •  

 

การดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึง ESG คือ การดูแลสิ่งแวดล้อม รับผิดชอบต่อสังคม และการกำกับดูแลกิจการที่ดี เปรียบเหมือนกระจกที่สะท้อนภาพการดำเนินธุรกิจของบริษัท ให้ความโดดเด่นเหนือคู่แข่ง เพราะนั่นแปลว่าธุรกิจมีรูปแบบการบริหารจัดการความเสี่ยงที่ได้มาตรฐาน ช่วยลดความเสี่ยงในการลงทุน จึงเป็นธุรกิจน่าสนใจ

นอกจากนี้ ในแง่ของการลงทุนแล้วจะเห็นได้ว่าปัจจุบันการลงทุนแบบยั่งยืนกำลังมีอิทธิพลในตลาดการลงทุนมากขึ้นเรื่อยๆผลการวิจัยจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเผยว่า การลงทุนที่เน้นความยั่งยืนจะสร้างให้เกิดผลตอบแทนที่มากขึ้น อีกทั้งยังเป็นปัจจัยสำคัญอย่างมากที่ทำให้ผู้บริโภคโดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ตัดสินใจที่จะสนับสนุนสินค้าและบริการของคุณในระยะยาวอีกด้วย

 

ลิกซิล (LIXIL) บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านสินค้าเพื่อที่อยู่อาศัยชั้นนำของโลก มีต้นกำเนิดจากประเทศญี่ปุ่น มีแบรนด์ภายใต้อัมเบอร่าที่มีชื่อเสียงมากมาย ไม่ว่าจะเป็น อเมริกันสแตนดาร์ด (American Standard), โกรเฮ่ (GROHE) และอิแนกซ์ (INAX)  ที่สำคัญคือ เป็นองค์กรที่ให้ความสำคัญในเรื่อง Sustainability โดยเฉพาะในเรื่องของการอนุรักษ์น้ำและความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม (water conservation and environmental sustainability) ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ทั้งขั้นตอนการผลิต การจัดจำหน่าย ไปจนถึงมือของผู้บริโภคปลายทาง และนับได้ว่าเป็นองค์กรต้นแบบระดับโลกในเรื่อง Sustainability ที่น่าเป็นแบบอย่างได้

 

Ms. Priyanka Tanwar Leader, Communications & Corporate Responsibility, Asia at LIXIL แชร์ประสบการณ์และวิธีการทำงานในแบบ LIXIL ในเรื่องการสนับสนุนแนวคิด Sustainability เป็นพิเศษให้เราฟังถึงความสำคัญของการที่ภาคเอกชนจะต้องหันมาให้ความสำคัญและลงมือทำเรื่องนี้อย่างจริงจังว่า เมื่อโลกไม่มีแพลินบีหรือแผนสำรองไว้รองรับความเสียหาย ดังนั้น ปัญหาที่เกี่ยวกับสิ่งแลดล้อม อย่าง Climate change จึงเป็นเรื่องสำคัญและเราก็ควรลุกขึ้นมาสร้างความเปลี่ยนแปลงให้ได้ และปัจจุบันเราจะพบว่าผู้คนทั่วโลกตื่นตัวกับปัญหาสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ดังนั้น พวกเราทุกคนควรจะต้องเริ่มลงมือทำแล้ว ไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องใหญ่ เริ่มจากก้าวเล็กๆ ก็ได้

เช่นเดียวกับองค์กรทั่วโลก LIXIL ก็เป็นส่วนหนึ่งของประชากรโลก ที่สำคัญคือ 32% ของการใช้พลังงานในโลกก็มาจากธุรกิจในอุตสาหกรรมของเรา เพราะเราเป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการใช้พลังงานค่อนข้างมาก ดังนั้น เราก็ต้องทำให้อุตสาหกรรมของเรามีความยั่งยืนด้วยเพื่อให้สามารถส่งต่อไปถึงคนรุ่นหลังได้

 

Ms. Priyanka ยังพูดถึง 17 ข้อ Sustainable Development Goals (SDGs) ขององค์กรสหประชาชาติ (UN) ซึ่งมีความหมายมากๆ และจะช่วยขจัดปัญหาต่างๆ ที่โลกกำลังเผชิญอยู่ พร้อมประกาศว่าจะต้องทำให้สำเร็จภายในปี 2030 นี้ ซึ่งสำหรับองค์กรของเรา LIXIL นั้น หากให้ระบุว่าเราให้ความสำคัญกับเรื่องไหนมากที่สุด ก็ต้องบอกว่าเป็นข้อ 6 ซึ่งก็คือ ‘Clean Water and Sanitation’ การรับรองการมีน้ำใช้ การจัดการน้ำและสุขาภิบาลที่ยั่งยืน เพราะเนื่องจากว่าเราเป็นแบรนด์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของน้ำและสุขอนามัย และโปรดักส์ของเรามากมายก็ทำงานที่เกี่ยวข้องกับน้ำด้วย ดังนั้น เราจึงเชื่อว่า “น้ำ” เป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญทั้งในปัจจุบันและอนาคต

นี่คือความสำคัญในเชิงสังคม หากกลับมาที่ธุรกิจแล้ว Ms.Priyanka กล่าวว่ามีคาวมสำคัญเป็นอย่างยิ่งสำหรับการทำธุรกิจถือว่าเป็น Core Policy ของหลายๆ องค์กรทั่วโลก เพราะปัจจุบันทั่วโลกมีความตื่นตัวในเรื่องนี้ ผู้บริโภคอยากรู้ว่าสินค้าหรือบริการที่เขาซื้อไปนั้นบริษัทที่อยู่เบื้องหลังมีนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมอย่างไร แพ็กเกจจิ้งที่เขาซื้อไปสามารถนำกลับมารียูสหรือรีไซเคิลได้หรือไม่ หรือถ้าคุณทำธุรกิจน้ำมันแล้ววันหนึ่งน้ำมันหมดไปแน่นอนว่าก็จะต้องกระทบกับธุรกิจของคุณ เพราะฉะนั้นแล้ว ธุรกิจก็ต้องเริ่มที่จะต้องคิดเรื่องนี้และคิดเผื่อไปถึงอนาคตด้วย

ยกตัวอย่าง โปรดักส์ของเราตัวหนึ่ง Genie Hand Shower ที่วางจำหน่ายในแอฟริกา ซึ่งมีสภาพแวดล้อมที่ค่อนข้างขาดแคลนน้ำมาก ดังนั้น เราจึงออกกแบบ “Genie Hand Shower” ให้สามารถช่วยประหยัดน้ำได้ถึง 35% ซึ่งถือว่าเป็นโปรดักส์ที่สามารถตอบโจทย์ปัญหาเรื่องน้ำของท้องถิ่นได้

“สำหรับ LIXIL เราเริ่มตั้งแต่ Thinking เลย แล้วก็กลับมาที่ว่า waste เราจะตีกลับมายังไงเอามาใช้ใหม่ได้ยังไง กลับเข้ามาอยู่ในกระบวนการใช้ใหม่ได้อย่างไร ดังนั้น ขั้นตอนการทำงานของ LIXIL ไม่ใช่แค่จุดใดจุดหนึ่ง แต่มันเริ่มตั้งแต่การดีไซน์ไปจนถึงการผลิตออกมาจนส่งถึงมือของผู้บริโภค เรียกว่า Start to the end มันคือทั้งหมดที่เราจะต้องคำนึงถึงโลกและสิ่งแวดล้อมไปตลอดทั้งกระบวนการ”

(หมายเหตุ : Genie Hand Shower โดย American Standard ผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ทางด้านการประหยัดน้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ทวีปเอเชีย และแอฟริกา ที่มีปัญหาขาดแคลนน้ำ ไม่สามารถเข้าถึงน้ำได้ตลอด 24 ชั่วโมง มีจุดเด่นอยู่ที่การออกแบบให้สามารถเพิ่มแรงดันน้ำโดยใช้ปริมาณน้ำที่เท่าเดิม ทำให้สายน้ำไหลแรงสม่ำเสมอ เเละยังคงความอ่อนโยน ช่วยประหยัดน้ำได้ถึง 35% วิดีโอตัวอย่าง: https://www.facebook.com/AmericanStandardThailand/videos/2120933911493694/)

 

ปัจจุบันทาง LIXIL มีโปรดักส์ที่เป็น  Cradle to Cradle® Certified ดังนี้ ผลิตภัณฑ์ก๊อกน้ำ 3 รุ่น (GROHE BauEdge S-Size, GROHE Eurosmart S-Size, GROHE Eurosmart Kitchen) และชุดฝักบัวราวเลื่อน GROHE Tempesta Shower 100 ได้รับการรับรองจาก Cradle to Cradle® ระดับ Gold และ ฝักบัวสายอ่อน GROHE Tempesta 2 และ ตัวกรอง GROHE Blue จากซัพพลายเออร์ BWT ผ่านสถานะ Bronze แล้ว

 

นอกจากนี้ LIXIL ยังมีความมุ่งมั่นว่า ภายในปี 2050 ธุรกิจของเราทุกอย่างจะเป็น Carbon Neutral ทั้งหมด

 

เมื่อถามถึงความน่าสนใจของตลาดในเมืองไทย Ms. Priyanka ระบุว่า เมืองไทยเป็นตลาดที่น่าสนใจมาก แล้วยังเป็นหนึ่งในประเทศที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้ LIXIL ด้วย สำหรับไทยแล้ว American Standard ได้รับการตอบรับที่ดีมาก ล่าสุด เราได้ออกโปรดักส์ตัวหนึ่ง ที่มาจากการศึกษาอินไซต์ของคนเอเชีย โดยเฉพาะคนไทย ได้แก่ ‘สายชำระ DuoSTiX’ โดย American Standard ซึ่งออกแบบจากการที่เราศึกษาว่า คนไทยไม่ได้ใช้สายชำระแค่การฉีดทำความสะอาดอวัยวะทั้งหน้าและหลังเท่านั้น แต่บางครั้งก็ใช้สายฉีดในการทำความสะอาดพื้นห้องน้ำด้วย ซึ่งทำให้เราได้ออกแบบสายฉีดแบบ 2 หัว หนึ่งคือ เมื่อถอดส่วนบนออกสามารถใช้เป็นสายฉีดแบบปล่อยน้ำแรงฉีดทำความสะอาดพื้นห้องน้ำได้ สอง คือหัวสามารถหมุนหน้าหลังเพื่อความสะอาดได้ทั้งด้านหน้าและหลังผู้ใช้งานเพื่อความสะดวกแบบไม่ต้องสลับมือ เรียกได้ว่าเป็นการออกแบบโดยนักออกแบบและแบรนด์จากตลาด Dry Market  เพื่อตลาด Wash Market โดยเฉพาะ

 

นอกจากนี้ ช่วงเดือนพฤศจิกายน แบรนด์ GROHE ก็เตรียมที่จะลอนช์ไลน์โปรดักส์ใหม่ ได้แก่ GROHE Spa ซึ่งเป็นไลน์ผลิตภัณฑ์ที่จะสร้างประสบการณ์แบบเดียวกับสปาในที่พักให้คุณแบบพรีเมียมด้วย

 

ในส่วนผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่น่าสนใจภายใต้ LIXIL ก็จะมี Shower Toilets (โถสุขภัณฑ์แบบญี่ปุ่น ที่มีปุ่มกดหลายปุ่มตามการใช้งาน) ซึ่งพบว่าปัจจุบันได้รับความความนิยมสูงมาก และเริ่มขยายไปสู่ตลาดในหลายภูมิภาค ทั้งยุโรปและอเมริกา เป็นผลิตภัณฑ์ที่กำลังเติบโตสูงถึง 300% เป็นตัวเลขของทั้งอุตสาหกรรมที่เติบโต มีดีมานด์ทั้งฝั่ง B2B และ B2C เนื่องจากว่าช่วงหลังโควิดทำให้ผู้คนค้นพบว่าการการใช้เวลาในห้องน้ำกับสุขภัณฑ์ที่ดี ที่ทั้งสะดวกสบายและสะอาด เป็นเวลาที่มีความสุขในบ้านได้ มากไปกว่านั้น Shower Toilets ก็ยังเป็นผลิตภัณฑ์ที่พูดเรื่องของ Sustainability ได้อีกด้วย เพราะว่าการล้างชำระแบบนี้จะสิ้นเปลืองกระดาษน้อยลง

ในตอนท้าย Ms. Priyanka ให้คำแนะนำบริษัทหรือแบรนด์ที่กำลังทำนโยบาย ESG ว่าจะทำเช่นไรโดยที่ไม่ให้เป็น Green Washing ว่า สำหรับองค์กรหรือบริษัทที่จะทำเรื่อง ESG หรือ Sustainability ก็ดี อยากแนะนำว่าเราสามารถเริ่มต้นได้เลย ไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องใหญ่ Big Things แต่สามารถเริ่มจากเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ก็ได้ ซึ่งจริงๆ แล้วเรื่องพวกนี้ไม่ได้ยากอย่างที่คิด ทุกคนสามารถเริ่มต้นได้เลย

“แต่สิ่งสำสำคัญคือ อย่าได้เข้าใจว่า เมื่อเวลาที่คุณพูดว่า Green แล้วไม่ได้แปลว่า Sustainability ยกตัวอย่าง ตึกแห่งหนึ่งในดูไบ ที่สร้างตึกทั้งหมด 30-40 กว่าชั้น เป็นกระจกหมดเลย ซึ่งตึกนี้นอกจากจะสะท้อนความร้อนออกมาแล้ว ยังใช้แอร์จำนวนมากในการทำให้ตึกเย็นด้วย ท่ามกลางความร้อนแบบทะเลทราย แต่กลับระบุว่า วัสดุอุปกรณ์ภายในที่ใช้เป็น Green แต่ตึกทั้งตึก ไม่ได้ Sustainable  เลย ถือเป็นตัวอย่างที่ดีของการที่องค์กรจะต้อง Green อย่างแท้จริงและยั่งยืน ซึ่งเรื่องนี้ต้องระวังเป็นอย่างมาก เพราะปัจจุบันผู้บริโภคฉลาดและรู้ได้ว่าสิ่งนี้คุณทำจริงหรือไม่ ดังนั้น ก็อยากฝากในเรื่องความจริงจังในการทำเรื่องของ Sustainability เอาไว้”

 

หมายเหตุ

Cradle to Cradle® (https://www.grohe-x.com/en/inspiration/article/cradletocradle) คืออะไร?

เนื่องจากการใช้น้ำถือเป็นหัวใจหลักของธุรกิจ โกรเฮ่จึงมีส่วนร่วมในกลยุทธ์ความรับผิดชอบขององค์กรต่อสังคมส่วนรวมของลิกซิลนั้นผ่านห่วงโซ่คุณค่าที่เน้นการใช้ทรัพยากรอย่างประหยัด ตั้งแต่การผลิตที่เป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutral) เทคโนโลยีผลิตภัณฑ์ประหยัดน้ำและพลังงาน การกำจัดพลาสติกที่ไม่จำเป็นออกจากบรรจุภัณฑ์ (Less Plastic) ไปจนถึงการออกผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน Cradle to Cradle Certified®

คอนเซปต์ของ Cradle to Cradle® คือผลิตภัณฑ์จะถูกผลิตขึ้นโดยคำนึงถึงวงจรชีวิตทั้งหมดของผลิตภัณฑ์ เพื่อใช้ส่วนประกอบที่อยู่ในช่วงสิ้นสุดอายุมาใช้งานสำหรับการสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ได้เป็นวัฏจักร ซึ่งชิ้นส่วนที่ถูกออกแบบให้นำมาหมุนเวียนได้ตั้งแต่แรก สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้อย่างไม่รู้จบ และจะช่วยลดปริมาณทรัพยากรใหม่ในการผลิตได้ อธิบายให้เข้าใจง่ายคือ Cradle to Cradle เป็นการเน้นการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ใช้วัสดุที่คงทนในระยะยาว สามารถซ่อมแซมได้ง่าย รองรับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีหรือรสนิยมในอนาคต ไปจนถึงสามารถแปรเปลี่ยนสภาพได้โดยไม่สร้างปัญหาสิ่งแวดล้อม มีต้นทุนสูง หรือสิ้นเปลืองทรัพยากรในการจัดการ (upcycle) ซึ่งก็อาจมองได้ว่าตรงข้ามกับหลักการทำกำไรของธุรกิจและการผลิตโดยทั่วไปไม่น้อยทีเดียว (Credit: greenery.org)

มาตรฐานรับรองการออกแบบสินค้า หรือ C2C Certification โดยสถาบัน The Cradle to Cradle Products Innovation Institute มีการให้การรับรองใน 5 ระดับ ตั้งแต่ระดับพื้นฐานไปจนถึงระดับแพลทินัม ซึ่งเป็นระดับสูงสุด มีเกณฑ์สำคัญๆ ในการพิจารณา ได้แก่ การผลิตขึ้นจากวัสดุที่เป็นมิตร การนำวัสดุกลับมาใช้ใหม่ การใช้พลังงานหมุนเวียน มีกระบวนการการใช้และจัดการน้ำในการผลิตอย่างเหมาะสม และคำนึงถึงหลักสิทธิมนุษยชนและความเป็นธรรมในสังคม

 


  • 261
  •  
  •  
  •  
  •  
pigabyte
การเรียนรู้ไม่มีวันจบสิ้น มาเรียนรู้และสนุกไปกับบทความ จาก MarketingOops! กันนะคะ แล้วเราจะได้ค้นพบว่าโลกของ Marketing นั้น So Sexy and Cool!