ถอดรหัสกลยุทธ์ความสำเร็จการทำคอนเทนต์ช่อง Cullen Hateberry ผ่าน EP.พิเศษ และวิธีทำงานของ Kirby ลาสต์บอสตัวจริง

  • 17
  •  
  •  
  •  
  •  

 

เชื่อว่าหลายคนที่เป็นแฟนคลับ “คัลแลน – พี่จอง” แห่งชาแนล Cullen HateBerry คงได้ดู EP. พิเศษฉลองครบ 100 Episode กันไปแล้ว แต่สำหรับคนที่ไม่ได้เป็นแฟนคลับ แต่อาจจะอยากรู้ว่าความสำเร็จหรือเบื้องหลังของวิธีแคร็กไอเดียในการทำคอนเทนต์ของพวกเขาเป็นอย่างไร เราขอสรุปความน่าสนใจไว้เป็นกรณีศึกษาสำหรับคอนเทนต์ครีเอเตอร์ที่อยากประสบความสำเร็จแบบพวกเขาบ้าง

ที่มาของการเปิดช่อง Cullen HateBerry

ที่มาของการเปิดชาแนล Cullen HateBerry บน Youture เป็นการเปิดเผยผ่านผู้อยู่เบื้องหลังคนสำคัญ ผ่าน Kirbyโปรดิวเซอร์หนุ่มเพื่อนคู่หูทำเพลงร่วมกับ Cullen ได้ปิ๊งไอเดียนี้ขึ้นมา จากการที่เห็นชาวต่างชาติพาไปเที่ยวย่านยังพย็อง ที่เกาหลีใต้ ซึ่งเขาพบว่า เป็นสถานที่ๆ แม้แต่คนเกาหลีก็ไม่ค่อยจะไป ซึ่งถ่ายทอดออกมาในมุมของต่างชาติมาเที่ยว โดยมองว่า ตอนนี้ที่ตัวเองอยู่เมืองไทยก็น่าจะทำได้ และคนไทยก็อาจจะรู้สึกเหมือนกันว่า หลายๆ สถานที่ที่แม้ว่าเราจะเป็นเจ้าของประเทศเองก็ยังไม่เคยรู้ไม่เคยไปมาก่อนเลย

เมื่อปิ๊งไอเดียว่า อยากจะลองทำคอนเทนต์การไปเที่ยวผ่านมุมมองต่างชาติที่อยู่เมืองไทย มาบวกรวมเข้ากับบุคคลิกสไตล์ของ Cullen ก็ทำให้เกิดคลิปใจฟูอย่างที่พวกเรารับชมกันทุกวันนี้

 

นอกจากนี้ Kirby ยังได้เล่าถึงวิธีการทำงานของพวกเขาในแง่มุมต่างๆ มากมาย ซึ่งเห็นว่าน่าจะเป็นประโยชน์และเป็นข้อคิดที่ดีให้กับ Creators หลายคนในการทำช่องและพัฒนาช่องให้ประสบความสำเร็จ มีประมาณ 11 ข้อต่อไปนี้

กางกลยุทธ์การคอนเทนต์ช่อง Cullen Hateberry

  1. ไม่ได้อยากเป็นช่อง YouTube เพื่อการท่องเที่ยว เพราะไม่ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเลย เพราะคิดว่าผู้ชม (ส่วนมากเป็นคนไทย) น่าจะมีข้อมูลที่ดีและรู้เยอะกว่าคนทำเสียอีก
  2. Positioning ที่วางไว้ จะเป็นคล้ายๆ การทำ Vlog ถ่ายคลิปท่องเที่ยวมากกว่า ที่
  3. Key Idea ที่สำคัญในการถ่ายทอดคอนเทนต์คือ “ความสุข” และ “คิดบวก” Happy and Positive Thinking
  4. เน้นการสร้างคอนเทนต์คุณภาพ Healthy Content แม้ว่าจะใช้เวลาในการทำนานก็ตาม
  5. การเตรียมตัวและการเตรียมความพร้อมที่ดี และสำคัญที่สุดของคนทำคอนเทนต์ (ทีมท่องเที่ยว) คือจะต้องเปี่ยมไปด้วยความจริงใจ ความสุข และ ความสนุก ดังนั้น จึงไม่มีการเร่งรัดในการทำคอนเทนต์ เพราะจะทำให้การถ่ายทอดงานออกมาไม่สนุกได้
  6. กลุ่มเป้าหมาย (Target audience) : ผู้ชมที่สามารถดูได้ทุกเพศ ทุกวัย
  7. ส่วนระยะเวลาของคลิป ไม่ได้มีการกำหนดตายตัว อาจจะ 40 นาที ถึง 1 ชั่วโมงก็ได้
  8. ขณะที่กำหนดระยะเวลาในการปล่อยคอนเทนต์ก็คล้ายกัน ไม่ได้กำหนดแน่นอน แต่อย่างน้อยคือ 5-7 วัน แต่ช้าสุดไม่เกิน 8 วัน ถ้าล่าช้ากว่านั้นจะแจ้งทางชาแนลให้ทราบถึงสาเหตุความล่าช้า
  9. มุมมองของการใช้อุปกรณ์ไฮเทคในการถ่ายทำ : เขามองว่าเป็นสไตล์ที่คิดวางไว้แต่ต้นว่าไม่ได้ต้องการเน้นการใช้อุปกรณ์ไฮเทค แต่เน้นไปที่ฟีลลิ่งว่า เหมือนกับผู้ชมได้ไปเที่ยวด้วยกันจริงๆ ดังนั้น จึงมองว่าอุปกรณ์ไฮเทค อย่างไมโครโฟน หรือโดรน อาจจะไม่จำเป็นสำหรับสไตล์ของช่อง เพื่อให้ความรู้เหมือนว่าคนดูได้อยู่ในสถานที่นั้นร่วมกันจริงๆ ฉะนั้น ถ้าคนทำคอนเทนต์วิ่งภาพก็จะสั่น หรือถ้าไปอยู่ในพื้นที่เสียงดัง ก็อาจจะไม่ค่อยได้ยินเสียงคนพูดนั่นเอง พูดง่ายๆ ว่า เน้นความเป็นธรรมชาติ เรียลๆ ไปเลย
  10. มุมของการโปรโมทสินค้า (Brand Sponsorship) : สาเหตุที่หลีกเลี่ยงไม่ค่อยรับงานโฆษณานำเสนอบนคอนเทนต์ เพราะว่าไม่อยากรบกวนการรับชมของคนดู ประกอบกับคอนเทนต์ที่ทำค่อนข้างใช้เวลานาน ทั้งการถ่ายทำและการตัดต่อด้วย รวมถึงอยากจะไปและอยากจะกินในสถานที่ที่อยากไปมากกว่า ดังนั้น ในลักษณะของการมี Sponsors เข้ามาสนับสนุนอาจจะไม่เหมาะกับรูปแบบคอนเทนต์ที่ทำอยู่ ทำให้ตัดสินใจไม่ค่อยรับงาน tie-in สินค้าเข้ามามากนัก
  11. วิธีจัดการกับดราม่า คือไม่จำเป็นต้องตอบโต้ในทุกประเด็น ไม่ต้องเก็บมาใส่ใจ สิ่งสำคัญคือ โฟกัสกับงานและตั้งใจทำงานแบบเงียบๆ ก็พอ

 

 

ทั้งหมดนี้จะเห็นว่า การทำคอนเทนต์ของพวกเขา ไม่ได้ทำไปเรื่อยๆ หรือชิลล์ๆ อย่างเช่นที่เราเห็นกันในคลิป แต่อันที่จริงมีหลักคิด และวาง Positioning เอาไว้อย่างชัดเจน ซึ่งทำให้คลิปแต่ละชิ้นออกมาส่งอารมณ์และสื่อสารในแบบเดียวกันที่ผู้ชมสามารถรับรู้ได้และสัมผัสได้ ในมุมมองเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็น ความเรียล อารมณ์ของความสุขและสนุกของทีมท่องเที่ยว ที่จะต้องไม่อยู่บนความกดดัน ทำให้การถ่ายทอดออกมาผู้ชมก็รู้สึกมีความสุขและสนุกตามไปด้วย

นอกจากนี้ ต้องชื่นชมการพิจารณาร่วมงานกับแบรนด์ของทีมด้วย ที่เลือกจะให้ “ผู้ชม” เป็นใหญ่ ไม่ต้องการรบกวนคนดู ด้วยการเลือกร่วมงานกับแบรนด์ไม่มากและต้องเป็นสิ่งที่ใช้จริงและเข้ากับคอนเทนต์ของพวกเขาจริงๆ ซึ่งคิดว่าสิ่งนี้สำคัญมากสำรรับคนทำคอนเทนต์และแบรนด์ที่จะเลือกในการร่วมงานกับ Creator ในปัจจุบัน

 

เชื่อว่าทั้งหมดนี้นี้น่าจะแง่มุมที่ดี ให้กับทั้ง นักการตลาด แบรนด์ หรือ Creator โดยเฉพาะบนโลกออนไลน์ ที่เต็มไปด้วยคอนเทนต์และโฆษณามากมาย แน่นอนว่าเราปฏิเสธสิ่งเหล่านี้ไม่ได้ แต่จะทำอย่างไรที่เราจะไปด้วยกันได้แบบ #ใจฟู.

เก่งจริงนะพ่อคนจิ้งจก

Source: @cullen_hateberry


  • 17
  •  
  •  
  •  
  •  
pigabyte
การเรียนรู้ไม่มีวันจบสิ้น มาเรียนรู้และสนุกไปกับบทความ จาก MarketingOops! กันนะคะ แล้วเราจะได้ค้นพบว่าโลกของ Marketing นั้น So Sexy and Cool!