เศรษฐกิจอเมริกากับการผูกขาด “Data” ของบริษัทยักษ์ใหญ่

  • 86
  •  
  •  
  •  
  •  

ข่าวที่รัฐบาลจีนสั่งเบรก ANT Group ฟินเทคฯรายใหญ่ของ “แจ๊ค หม่า” ซึ่งเตรียมออก IPO  มูลค่าราว 1 ล้านล้านบาทปลายปีนี้ (2020) อาจจะสะท้อนถึงความเด็ดขาดของรัฐบาลจีนไม่ต้องการให้ธุรกิจใดเข้ามาผูกขาดอำนาจทางเศรษฐกิจ

ซึ่งถ้าหากมองเทียบกับอเมริกาแล้วถือว่ารัฐบาลจีนต้องการไฟเสียตั้งแต่ต้นลม เพราะถ้าดูดีๆ เศรษฐกิจของอเมริกาไม่ได้มีธุรกิจหลายรายแข่งขันกันอย่างที่เข้าใจกัน แต่ถูกผูกขาดโดยบริษัทซึ่งเป็นผู้นำทางเทคโนโลยีเพียงไม่กี่รายเท่านั้น

ซึ่งเศรษฐกิจอเมริกาที่ผ่านมาก็มีสัญญาณการผูกขาดที่ว่าอยู่ 4 อย่างนั่นก็คือ

 

 

1. กำไรซึ่งกระจุกอยู่กับบริษัทรายใหญ่ไม่กี่ราย

ในปี 1980 นั้น Markup โดยเฉลี่ย (ส่วนต่างเฉลี่ยระหว่างราคากับต้นทุนที่เพิ่มขึ้นมาจากการผลิต) โตขึ้นแค่ 18% ซึ่งถ้าเทียบกับปี 2014 นั้น Markup ที่ว่าโตขึ้นถึง 67% แน่นอนว่าคนถือหุ้นบริษัทฯที่ว่าแฮปปี้ แต่ผู้บริโภคในอเมริกานั้นไม่แฮปปี้ด้วย

 

2. การลงทุนที่ไม่ได้ทำไปเพื่อแข่งกับใคร

เศรษฐกิจที่ผูกขาดนั้น บริษัทฯไม่จำเป็นอะไรที่ต้องลงทุนเพิ่มมากมายเพื่อแข่งกับบริษัทอื่น ในอเมริกา กำไรหลังจากหักภาษีเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าเมื่อเทียบกับ 25 ปีที่แล้ว (และมากกว่า 2 เท่าเมื่อเทียบกับสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2) แต่สัดส่วนการลงทุนต่อ GDP ประเทศนั้นยังอยู่ราวๆ 13% คือไม่ได้เพิ่มมากตามไปด้วย

 

3. บริษัทเกิดใหม่น้อยลงอย่างเห็นได้ชัด

ในปี 1980 มีบริษัทเกิดใหม่เพิ่ม 13% ซึ่งสูงกว่าในปี 2015 ที่เพิ่มแค่ 8% ถ้าอเมริกา (หรือประเทศไหนก็ตาม) มีเศรษฐกิจที่ดี จะมีบริษัทที่เกิดใหม่และหายไปอยู่เรื่อยๆ มีงานอาชีพที่เกิดใหม่และหายไปตามมา แต่อเมริกาไม่ได้มีเศรษฐกิจแบบนั้น ส่วนหนึ่งเพราะเศรษฐกิจอเมริกามีฐานจากธุรกิจค้าปลีกตั้งแต่ยุค 1980 และความสามารถในการผลิตก็ดีขึ้นเรื่อยๆจนคู่แข่งตามไม่ทัน

 

4. ราคาที่เพิ่มขึ้นแต่ผลิตของออกมาขายได้น้อยลง

ซึ่งเป็นไปตามทฤษฎี Oligopoly ในทางเศรษฐศาสตร์ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นจริงในอเมริกากลับไม่ได้เป็นไปตามนั้น ในช่วง 1972 – 2012 ในอุตสาหกรรมการผลิตของอเมริกา ธุรกิจที่ผูกขาดก็ขึ้นราคา แต่ก็ไม่เพิ่มหรือลดจำนวนสินค้าที่ผลิตออกมาขาย ส่วนนอกอุตสาหกรรมการผลิต บริษัทที่ผูกขาดก็ผลิตสินค้าขายมากขึ้น แต่ไม่ได้ขึ้นราคา สรุปคือไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมใด ก็ยังมีการแข่งขันที่เบาบาง

 

บทบาทของบริษัทฯเทคโนโลยีกับการผูกขาดทางเศรษฐกิจ

เป็นเรื่องยากที่จะกำหนดว่าบริษัทฯเทคอย่าง Facebook, Google, Apple หรือ Amazon จะส่งผลดีหรือผลเสียต่อผู้บริโภคและเศรษฐกิจของอเมริกา ผลดีคือบริษัทฯเทครายใหญ่จะผลิตนวัตกรรมใหม่ๆ ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆเข้าสู่สังคม ให้ผู้บริโภคได้ใช้ได้ดีกว่าสตาร์ทอัพที่เป็นหน้าใหม่ๆ เพราะบริษัทฯพวกนี้มี Learning Curve อยู่แล้ว แต่นั่นก็เป็นดาบสองคม คือบริษัทหน้าใหม่จะไม่ได้มีโอกาสผลิตนวัตกรรมใหม่ๆ ออกสู่สังคมเลย

ตัวอย่างที่เห็นชัดคือการที่ Facebook ไล่ซื้อกิจการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น TBH, Halli Labs, Orbitera Instagram, Whatsapp หรือ Oculus VR ซึ่งอเมริกาอาจจะได้ประโยชน์จากนวัตกรรมใหม่ๆจากบริษัทพวกนี้ไปถ้า Facebook ไล่ซื้อกิจการพวกนี้ สุดท้ายคือบริษัทฯรายใหญ่นี่แหละที่ไม่ส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆเสียเอง

หรือจะเป็น Amazon ในปี 2009 ที่พยายามจะเข้าซื้อสตาร์ทอัพ Quidsi เจ้าของ Diapers.com แต่ถูกปฏิเสธ Amazon จึงเลือกตัดราคาผ้าอ้อมและสินค้าเกี่ยวกับทารกทั้งหมด 30% จัดหนักทั้งส่วนลดและส่งฟรี ทำให้ Quidsi ยอมขาย Diapers.com ให้ Amazon ในที่สุด และในปี 2012 Amazon ก็ปรับราคาสินค้าที่ว่านั้นเท่าเดิม

 

มาตรการเพิ่อจัดการกับการผูกขาดของบริษัทฯรายใหญ่

ถ้าติดตามการหาเสียงของผู้ชิงตำแหน่งประธานาธิบดีของอเมริกาครั้งล่าสุด โจ ไปเดนได้หาเสียงเอาไว้ว่าจะมีแนวคิดผลักดันมาตรการจัดการกับพฤติกรรมของบริษัทฯที่ว่าเพื่อลดการผูกขาดทางเศรษฐกิจ ในขณะที่รัฐบาลจีนเข้มงวดกับการไม่ให้บริษัทฯใดผูกขาดเศรษฐกิจอย่างที่เกริ่นไปตอนต้น

ซึ่งในอนาคตหากโจ ไบเดนได้ทำงานเป็นประธานาธิบดีเต็มตัว เราอาจจะได้เห็นกฎหมายและเงื่อนไขบางอย่างไม่ให้บริษัทฯเทคซื้อกิจการได้ตามใจชอบ เพื่อให้สตาร์ทอัพหน้าใหม่ได้แจ้งเกิดและแข่งขันกับบริษัทฯพวกนี้บ้าง ส่วนภาคแรงงาน เราคงจะได้เห็นมาตรการที่ป้องกันพนักงานได้ย้ายหรือสมัครงานกับบริษัทที่ให้ผลประโยชน์ที่สูงกว่าบริษัทเดิมได้ยากขึ้น และจำกัดความสามารถของบริษัทในการดึงคนเก่งๆกระจุกไว้เพียงไม่กี่บริษัท

จึงไม่แปลกใจที่หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีพากันปรับลดแรงในวันที่ 9 พ.ย. 2020 ไม่ว่าจะเป็น Zoom, Netflix, Amazon, Facebook, Microsoft, Tesla และ Apple

ขานรับชัยชนะของโจ ไบเดน

 

Photo: www.usnews

 

แหล่งอ้างอิงส่วนหนึ่งจาก Is lack of competition strangling the U.S. Economy? โดย David Wessel จาก Monopolies +  Tech Giant: Harvard Business Review


  • 86
  •  
  •  
  •  
  •  
Sarunjade
แชร์มุมมองเกี่ยวกับ Digital Marketing, Digital Business และ Technology เท่าที่รู้ สามารถติชมหรืออยากให้เจาะลึกเรื่องไหนเป็นพิเศษ ส่งเมลมาเลยที่ contact@oopsnetwork.co.th