Agency คุณ Speed ไหม Agile ไหม ถ้าไม่คุณขาดอาวุธสำคัญแล้ว

  • 1
  •  
  •  
  •  
  •  

ในยุคนี้ที่ข้อมูลข่าวสารนั้นมีความเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว และผู้บริโภคมีการเรียนรู้ และมีการเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างมากมาย เปลี่ยนจาก Generation หนึ่ง ไปอีก Generation อีก และความต้องการ Genration นี้มีความซับซ้อน มีความต้องการอย่างเร่งด่วน และต้องการการตอบสนองอย่างให้ได้ตรงใจ การตลาดยุคนี้จึงต้องเปลี่ยนแปลงตามคนยุคนี้ให้ทันท่วงที และหนึ่งในการที่นักการตลาดและเอเจนซี่จะตามการตลาดยุคนี้ให้ทัน และเป็นอาวุธสำคัญในยุคนี้คือ Agile และ Speed

การทำงานของการตลาดในอดีตนั้นจะเป็นระบบที่เรียกได้ว่าการทำงานแบบสายพาน คือจากระบบการผลิตหนึ่งไประบบการผลิตหนึ่ง เช่นนักการตลาดในแบรนด์นั้น มีโจทย์ทางการตลาดขึ้นมา หรือต้องการทำการตลาดนั้นขึ้นมา ก็ต้องทำการบรีฟเอเจนซี่ กระบวนการทำงานของเอเจนซี่โดยทั่วไปนั้นจะมีความอีดอาดและเชื่องช้า ทุกอย่างเป็นขั้นตอนที่มีระเบียบแบบแผน ยืดหยุ่นหรือปรับเปลี่ยนได้ยากหรือช้า เพราะด้วยกระบวนการเอกสารเช่น เปิด Job เปิด PO กระบวนการร่างบรีฟ แก้บรีฟ  ประชุม และประชุม จนกว่าจะมาหาลูกค้าก็ใช้เวลา 3 สัปดาห์ – 1 เดือน  กระบวนการดังกล่าวยังไม่รวมถึงการทำงานต่าง ๆ เมื่อ Project  campaign นั้นเดินหน้าอีก ที่จะมีกระบวนการร่างบรีฟฝ่ายต่าง ๆ ภายใน ประชุมเริ่มงาน และประชุมแก้งาน หรือ progress งานต่าง ๆ อีกมากมาย ทำให้งานต่าง ๆ นั้นใช้เวลาดำเนินงานนาน และกิน Man Hours ต่าง ๆ นานไปด้วย

 

กระบวนการทำงานของ Agency แบบทั่วไป ตั้งแต่เริ่มรับบรีฟจนถึง Kickoff project
กระบวนการทำงานของ Agency แบบทั่วไป ตั้งแต่เริ่มรับบรีฟจนถึง Kickoff project
กระบวนการทำงานของ Agency แบบทั่วไป ตั้งแต่เริ่มรับบรีฟจนถึง Kickoff project
กระบวนการทำงานของ Agency แบบทั่วไป ตั้งแต่เริ่มรับบรีฟจนถึง Kickoff project (ต่อ)
Screen Shot 2558-08-29 at 9.09.05 PM
กระบวนการทำงานของ Agency แบบทั่วไป ตั้งแต่เริ่มรับบรีฟจนถึง Kickoff project (สุดท้าย)

 

ในยุคที่ผู้บริโภคมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว กระแสการตลาดและการแข่งขันทางการตลาดนั้นมีการแข่งขัน พร้อมเปลี่ยนแปลงไปมาได้อย่างรวดเร็ว ทำให้การตลาดยุคนี้ต้องทันต่อคนรุนใหม่และเร็วตาม ทำให้การทำงานรูปแบบนึงนั้นเริ่มเป็นที่กล่าวถึงการทำงานตลาดและ Agency โดยทั่วไป นั้นการทำงานที่มีความคล่องตัวสูง หรือ Agile และ Speed ในการทำงาน  Agile นั้นไม่ใช่เรื่องใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้น แต่มีมานานและนิยมใช้หมู่นักพัฒนาหรือโปรแกรมเมอร์ต่าง ๆ ที่เพื่อทำงานให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ถ้าหากให้เปรียบเทียบกับการบริหารจัดการแล้วละก็ เรื่อง Agile นี้จะเทียบเท่ากับการทำ Lean SixSiqma อย่างหนึ่ง

Screen Shot 2558-08-29 at 9.03.16 PM

Agile คืออะไร ในความจริงแล้ว Agile นั้นเป็นหลักการในการพัฒนา Software ที่จะเน้นความเร็วและการยืดหยุ่นในการปรับเปลี่ยนต่าง ๆ ได้ ผลที่ได้จากการใช้ Agile ในหมู่นักพัฒนา Software นั้นคือทำให้การทำงานรวดเร็วขึ้น สามารถปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ รองรับทุก ๆ เหตุฉุกเฉินได้ และสิ่งสำคัญทำให้การพัฒนาหรือการทำงานนั้นสามารถทำงานได้เรื่อย ๆ หรือไม่ต้องหยุดทำงานเมื่อมีอะไรมากระทบ

ภาพจาก http://areyoufrank.com/about_blog/agile-communications-for-agile-erps
ภาพจาก http://areyoufrank.com/about_blog/agile-communications-for-agile-erps

วิธีการทำงานของ Agile นั้น คือการทำงานตามความถนัดของแต่ละคน และเน้นการพูดคุยสื่อสารมากกว่ากระบวนการทำงานหรือเครื่องมือ เช่นให้คนที่ทำงานโดยตรงไปร่วมพูดคุยกับลูกค้า เพื่อให้เข้าใจความต้องการของลูกค้า และสามารถทำได้ตามความต้องการของลูกค้าทันที นอกจากนี้ยังทำงานไม่เน้นเอกสาร แต่เน้นผลลัพท์ที่ต้องส่งมอบ หรือผลงานที่ต้องให้กับลูกค้า ทำให้การทำงานในรูปแบบ Agile กับลูกค้านั้นการทำเอกสารสัญญานั้นไม่จำเป็น เท่าความสัมพันธ์ระหว่างการทำงานด้วยกัน สุดท้ายการทำงานแบบ Agile นั้นยังเปลี่ยนแปลงได้ง่าย ไม่มีแบบแผนการทำงานที่ตายตัว การทำงานรูปแบบ Agile นี้ทำให้องค์กรนั้นสามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ทำงานได้ง่ายมากขึ้น การทำงานนั้นสามารถทำงานได้ราบรื่นเพราะความโปร่งใส่และสนุกขึ้น สิ่งสำคัญนั้นทำให้คนทำงานนั้นสามารถทำงานได้มีความสุขมากขึ้นไปอีก เพราะสามารถรู้ทิศทางที่แน่นอนของการทำงานได้ และรู้ว่าต้องส่งมอบงานกับความคาดหวังอะไรให้กับทีมและลูกค้าได้

การทำงานด้วยวิธีการ Agile นี้ใน นักการตลาดและ Agency และในองค์กรยังไม่เป็นที่แพร่หลายมากนัก แต่ในตอนนี้นั้น Google พยายามผลักดันการทำงาน Agile ให้เข้าสู่กระบวนการทำงานของ Agency โดยเฉพาะในการทำงานของ Creative Agency หรือ Advertising Agency ทั้งหลายที่มีขั้นตอนมากมายในตอนนี้ ให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น โดย Google นั้นแจก Playbook ให้ Agency ว่าการทำงานของ Google ร่วมกับ Agency ต่าง ๆในการโปรโมทผลิตภัณฑ์ของ Google ที่ผ่านมาโดยใช้การทำ Agile นั้นดีอย่างไร และในตอนนี้มี Agency มากมายเข้าร่วมโครงการนี้ในต่างประเทศเช่น AKQA, 72andSunny, BBH, Big Spaceship, Deutsch, Arnold , TBWA/Chiat/Day และ DeepLocal

httpv://www.youtube.com/watch?v=aQUvcJXdOQ4

การทำงาน Agile ของ Agency กับ Google นี้จะช่วยให้ Agency นั้นได้เรียนรู้ว่า แบรนด์ที่เข้ามาโลกการทำงานที่ช่วยขยายความครีเอทีฟและทำให้งานนั้นให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ด้วย Playbook ของ Google นี้แนะนำให้คนทำการตลาดและ Agency นั้นมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างและการทำงานของ Account และ creative team

httpv://www.youtube.com/watch?v=GNXWsGLsRJc

Google นั้นเข้าไปร่วมทำงานตั้งแต่การที่ Agency นั้นเริ่มงานบรีฟเข้ามา และใช้วิธีการที่เรียกว่า Hackathon ในการทำงาน เพื่อให้งานนั้นมีการโฟกัสในการทำงานและสามารถทำให้เสร็จได้อย่างรวดเร็ว  ผลที่ได้นั้นทำให้ Agency ต่าง ๆ นั้นสามารถทำงานที่ดีและมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นให้กับลูกค้าได้ด้วย โดย Google นั้นมีเคล็ดลับ 7 อย่างในการทำ Agile ในการทำงานการตลาดและ Agency คือ

  1. เอาทีมทั้งหมดมาทำงานร่วมกันและอยู่รวมกัน เป็นดัง Warroom
  2. เอาคนที่เป็นด้าน Digital และ Technology เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งกับทีม Creative
  3. พัฒนาหรือจ้างคนที่มีทักษะในการแก้ปัญหาสูง
  4. หา insight ของงานที่ทำที่ Realtime โดยใช้เครื่องมือต่าง ๆ
  5. ใช้วิธีการ Hackathon โดยให้ทีมนั้นร่วมกันทำงานที่โฟกัสโจทย์นี้ร่วมกันในระยะเวลาหนึ่ง และเทสไอเดียกับผู้บริโภคว่าเป็นไปได้ไหม
  6. ลองเทสแคมเปญก่อนที่เสร็จจะออกไปสู่ตลาดจริง เพื่อรับ Feedback และแก้ไขเพื่อให้ดีที่สุดก่อนงานจริงเริ่ม
  7. ทำงานกับลูกค้าแบบเป็น Partner กันในการทำงานนี้ โดยอาจจะมี Pilot Project เป็นการทดลอง

Screen Shot 2558-08-29 at 8.50.33 PM

ด้วยยุคปัจจุบันที่มีการเคลื่อนไหวทางการตลาดอย่างรวดเร็ว ผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การทำงานแบบ Agile นั้นกลายเป็นเครื่องมือสำคัญ และทำให้มีอาวุธที่ทรงพลังอย่างหนึ่งในยุคนี้นั้นคือความเร็ว หาก Agency หรือนักการตลาดท่านใดพบว่า องค์กรตัวเองเคลื่อนไหวอย่างเชื่องช้า หรือเสียลูกค้าจากการทำงานที่ไม่ทัน ก็ลองเอาการทำงานแบบ Agile ไปประยุกต์ใช้ดู

 


  • 1
  •  
  •  
  •  
  •  
Molek
Head of Strategic Marketing ใน Integrated Service Agency ที่หนึ่ง ผู้หลงใหลในหลาย ๆ ที่มีความอยากรู้และเรียนรู้ในเรื่อง Startup, นวัตกรรม, การตลาด จากมุมมองหลาย ๆ ด้านและวัฒนธรรมของแบรนด์ต่าง ๆ