5 หลักการทางจิตวิทยาที่นักการตลาดควรรู้

  • 51
  •  
  •  
  •  
  •  

เมื่อคุณคิดถึงการตลาดที่ใช้จิตวิทยาแล้วคุณจะนึกถึงอะไรบ้างการตลาดที่เล่นกับจิตใจคน? การตลาดที่ล่อลวงให้คนหลงผิด? หรือการตลาดที่ทำให้คนฝังหัวเข้าไปแต่ในความจริงแล้วการใช้จิตวิทยาทางการตลาดนั้นทำมาเพื่อสร้างความแตกต่างและสร้างให้สินค้าและบริการของคุณนั้นมีความแตกต่างความโดนเด่นและทำให้ผู้บริโภคและกลุ่มเป้าหมายนั้นหันมาสนใจมองจากสิ่งล่อตาล่อในหรือสิ่งที่รบกวนการสัมผัสของลูกค้าขึ้นมาได้ 

ด้วยการใช้การตลาดที่ใส่จิตวิทยาเข้าไปดีๆจากสามารถสร้างความเชื่อมั่นถ่ายทอดคุณค่าของแบรนด์ได้อย่างดีด้วยการใช้จิตวิทยานี้จะทำให้แบรนด์คุณเข้าไปสร้างประสบการณ์ของแบรนด์ที่ดีกับกลุ่มเป้าหมายอย่างมากและเพื่อที่นักการตลาดจะสามารถสร้างแบรนด์สร้างประสบการณ์ที่ดีได้พร้อมกับสร้างความแตกต่างของแบรนด์ให้เหนือคู่แข่งกับตลาดทั้งหมดการรู้จิตวิทยา 5 ข้อนี้จึงสำคัญอย่างมากในการใช้จิตวิทยาเบื้องต้น 

1. Cognitive Fluency คือการที่ไม่ต้องนำเสนออะไรที่ซับซ้อนและเข้าใจยากหลักการทางจิตวิทยานั้นได้ศึกษาไว้แล้วว่าสมองของมนุษย์นั้นไม่ชอยการตีความหรือการคิดอะไรที่ซับซ้อนการส่งข้อความที่ง่ายๆตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายเลยนั้นสามารถสร้างให้กลุ่มเป้าหมายเข้าใจได้อย่างทันทีว่าต้องการจะสื่ออะไรไม่ต้องตีความออกมาทั้งนี้หลายๆแบรนด์อยากแสดงแสดงว่าตัวเองเป็นผู้เชี่ยวชาญด้วยการใช้ศัพท์ที่ยากเกินความเข้าใจหรือใช้การแสดงออกที่ซับซ้อนซึ่งด้วยการทำเช่นนี้จะทำให้แบรนด์คุณนั้นเสียความน่าเชื่อถือไปอีกการสื่อสารง่ายๆทำให้กระบวกนารคิดของสมองสามารถทำความเข้าใจและตัดสินใจได้ง่ายขึ้นอย่างมาก

2. Anchoring & the Exposure Effect อันแรก Anchoring Effect คือหลักการของการฝังหัวเข้าไปด้วยการให้ชุดความคิดหนึ่งส่งให้ผู้บริโภคซึ่งด้วยการที่ข้อความนั้นตรงกับอคติของผู้บริโภคและเน้นย้ำด้วยการใช้ Exposure Effect ซึ่งเป็นหลักการที่ 2 ให้เจอชุดข้อมูลที่ได้รับไปบ่อยๆหรือเพิ่มขึ้นที่ละน้อยซึ่งผู้บริโภคจะมีจิตวิทยาที่จะเปิดรับข้อมูลหรือสื่อที่เห็นบ่อยๆและจำได้ไปเองเพิ่มมากขึ้นสุดท้ายชุดข้อมูลนั้นจะเข้าไปฝังในหัวของผู้บริโภคจนยากที่จะลบความเชื่อดังกล่าวอย่างมากและทำให้สามารถตัดสินใจตามอคติที่มีต่อความเชื่อที่ฝังในหัวไปแล้วด้วยการใช้ 2 หลักการนี้จะทำให้แบรนด์ของคุณนั้นสามารถทำตลาดนำนหน้าคู่แข่งได้ทันทีและจะยิ่งได้ผลมากขึ้นถ้าคุณเป็นคนแรกในตลาดที่ทำออกไปแล้วเอาชุดข้อมูลที่คุณต้องการใส่ป้อนเข้าสู่สมองของผู้บริโภค

3. Anti-Inference Bias เป็นหลักการทีบ่งชี้ถึงว่ามนุษย์นั้นจะเชื่อในสิ่งที่เห็นกับตาตัวเองหรือสัมผัสด้วยตัวเองมากกว่าการที่ได้ยินมากจากการบอกของคนอื่นด้วยเหตุนี้การที่ให้ผู้บริโภคหรือกลุ่มเป้าหมายได้ลองสินค้าเป็นการพิสูจน์สินค้าและบริการของแบรนด์ที่ดีที่สุดในการสร้างความเชื่อทางจิตวิทยาเข้าไปด้วยการให้มี free trial, free quality content, ให้ลองรับประทานการทำแบบนี้จะทำให้ผู้บริโภคนั้นได้สัมผัสด้วยตัวเองจริงๆนอกจากนี้กระบวนการนี้ยังส่งผลไปยังการขายด้วยการเกิดหลักการทางจิตวิทยา Reciprocation Tendency ที่ทำให้คนรู้สึกว่าต้องแตบแทนในการที่ได้สินค้าและบริการที่ถูกให้มาด้วยการซื้อหรือกลายมาเป็นลูกค้าอีกด้วย 

4. Social Proof เป็นหลักการที่คนพูดถึงกันเยอะมากในยุคนี้ซึ่งถูกนำเสนอโดยRobert Cialdini กระบวนการ Social Proof เป็นกระบวนการที่สร้างความเชื่อถือของแบรนด์ สินค้าและบริการ โดยการใช้สังคมนั้นโน้มน้าวความเชื่อขึ้นมา เพราะด้วยความเป็นมนุษย์ที่เป็นสัตว์สังคม การทำตามสังคมนั้นคือการอยู่รอดได้ และการทำตามสังคมคือ comfort zone แบบหนึ่งที่ไม่ต้องเสี่ยงโดยไม่จำเป็น ทำให้มนุษย์นั้นจะเชื่อว่าร้านอาหารอร่อยถ้ามีคนต่อคิวเยอะ หรือสินค้าดี ถ้ามีรีวิวเยอะ หรือซื้อตาม Influencer หรือ KOL เพราะเชื่อว่าดีตามที่คนที่เราเชื่อถือแนะนำมา หรือซื้อตามเพื่อน สังคมในที่ทำงานเพราะเห็นทุกคนใช้ ด้วยการใช้หลักการนี้สามารถสร้างการโน้มน้าวการตัดสินใจได้ จนถึงขั้นซื้อได้อย่างทันที

5.  Endowment Effect คือหลักการที่เอามาใช้ในการรักษาลูกค้าไว้ เพราะด้วยหลักการทางจิตวิทยา Endowment Effect นี้มนุษย์นั้นจะยึดติดกับสิ่งที่ตัวเองถือครองหรือให้คุณค่ากับสิ่งที่ตัวเองได้มากกว่ามูลค่าของสิ่ง ๆ นั้น ซึ่งทำให้แบรนด์ที่สามารถเอาชนะใจผู้บริโภคจนถึงขั้นซื้อไปได้ จะสามารถครองใจผู้บริโภคได้อย่างง่ายได้ และสร้างความลำบากให้คู่แข่งในการแย่งลูกค้าจากแบรนด์ไปอย่างทัน หรือต้องลงแรงในการแย่งมามากกว่าการหาลูกค้าที่ยังไม่ได้มีแบรนด์ในใจ การที่จะทำให้ลูกค้ารู้สึกคุณค่าหรือว่าแบรนด์มีมูลค่าทางจิตใจนั้นการมี CRM ที่ทำให้ให้ลูกค้ารู้สึกพิเศษ หรือรับฟังความเห็นและปรับปรุงตามความคิดเห็นของลูกค้าขึ้นมา


  • 51
  •  
  •  
  •  
  •  
Molek
Head of Strategic Marketing ใน Integrated Service Agency ที่หนึ่ง ผู้หลงใหลในหลาย ๆ ที่มีความอยากรู้และเรียนรู้ในเรื่อง Startup, นวัตกรรม, การตลาด จากมุมมองหลาย ๆ ด้านและวัฒนธรรมของแบรนด์ต่าง ๆ