ไม่หยุดที่จีน WeChat Pay ก้าวไปอีกขั้น สู่การค้าการโอนเงินระหว่างประเทศ และบริการ Tax Refund ให้กับนักท่องเที่ยว

  • 1.5K
  •  
  •  
  •  
  •  

จากโอกาสที่ได้รับเชิญร่วมงาน Money 20/20 งานอีเว้นท์ระดับโลกที่จัดขึ้นเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรม Payments, FinTech และบริการด้านการเงินของโลก ที่เมืองหาวโจว ประเทศเทศจีน เมื่อวันพุธที่ 14 พฤศจิกายน 2561 ที่ผ่านมา

ทำให้มีโอกาสได้ร่วมฟัง keynote ของ Royal Chen, Vice President of Financial Technology, Tencent ผู้อยู่เบื้องหลังการขับเคลื่อนและวางแผนกลยุทธ์ให้กับ Payment Service ของ Tencent ในประเทศจีนและต่างประเทศ ในหัวข้อ The Evolution of Cross Border Payments อีกหนึ่งเทรนด์ของ Fin Tech ที่อุตสาหกรรมการเงินทั่วโลกกำลังให้ความสำคัญ เพราะถือเป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญของการทำธุรกรรมการเงินระหว่างประเทศ ผ่านเทคโนโลยี บล็อกเชน

royal-chen-tencent-1

จากที่ Royal Chen ได้กล่าวบนเวที ทำให้รับรู้ถึงความสำเร็จของ WeChat Pay ที่ปัจจุบันมีสมาชิกผู้ใช้งานทั้งหมด 800 ล้านสมาชิกซึ่งเป็นตัวเลขของ active users หรือสมาชิกที่ใช้งานประจำ   ทุกวันนี้ WeChat Pay ถูกขยายการใช้งานครอบคลุมมากถึง 80 อุตสาหกรรม ทั้ง ซุปเปอร์มาเก็ต โรงแรม ร้านอาหาร ร้านข้างทาง การขนส่ง และอีกมาก หรือเรียกได้ว่าแทบจะทุกสิ่งอย่างที่ต้องใช้เงินในประเทศจีนและร้านค้าท้องถิ่นในกว่า 40 ประเทศทั่วโลกก็ได้มีการรับชำระผ่าน WeChat Pay แล้ว

ที่ผ่านมา WeChat Pay สามารถเปลี่ยนพฤติกรรมคนจีนสู่ eWallet อย่างเต็มตัวทำให้วิถีการใช้ชีวิตของคนจีนเข้าสู่ยุคของดิจิทัลไลฟ์ในทุกๆวัน และทุกวันนี้จีนได้กลายเป็นผู้นำเทรนด์ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมเหนือประเทศอื่นๆอย่าง อเมริกา และยุโรป ที่ทุกวันนี้ได้เปลี่ยนจากผู้นำเทรนด์เป็นผู้ตาม

สำหรับใครที่เคยไปเยือนประเทศจีน หรือเคยเห็นคลิปนำเสนอเรื่องราวการใช้ชีวิตดิจิทัลของคนจีน จะเห็นได้ว่าทุกหนแห่งที่เราไปในทุกที่ของจีน จะมี QR Code ในทุกที่ ผู้คนเลิกใช้เงินสดและใช้สมาร์ทโฟนชำระเงิน ซื้อสินค้า บริการทุกประเภทผ่าน WeChat Pay จนเป็นเรื่องปกติ ทำให้มีเรื่องขำขันที่คนจีนเล่าสู่กันฟังว่า นวัตกรรม eWallet นี้ ทำให้หัวขโมยที่ชอบล้วงกระเป๋าต้องตกงานกันเป็นแถว เพราะไม่มีคนพกเงินสดให้ขโมยกันอีกแล้ว

ด้วยความสำเร็จของ WeChat Pay ทำให้ Tencent เจ้าของบริษัทผู้ให้บริการ WeChat ต้องขยายพื้นที่รองรับการใช้งานไปยังประเทศอื่น โดยเฉพาะในต่างประเทศตามสถานที่ท่องเที่ยวที่คนจีนนิยมไปเที่ยว ซึ่งแน่นอนว่ารวมถึงไทยด้วย

 

ไม่หยุดแค่ eWallet WeChat Pay เปิดบริการ We Tax Refund ตอบสนองการช้อปของคนจีนใน 19 ประเทศทั่วโลก

วิศัยทัศน์ของ Tencent ไม่ได้มองแค่เพียง eWallet ในประเทศ แต่มองถึง pain point ของนักท่องเที่ยวจีน และเจาะเข้าสู่ประเทศอื่นๆ ด้วยการเปิดบริการ ‘We Tax Refund’ ให้นักท่องเที่ยวชาวจีนได้ทำธุรกรรม Tax Refund ในแบบ Real-time ผ่าน We Tax Refund   เมื่อซื้อสินค้าและบริการในต่างประเทศจะได้รับเงินคืนโอนเข้า WeChat Pay หรือคืนกลับไปยังบัตรเครดิต โดยนักท่องเที่ยวจะไม่ต้องเสียเวลาต่อแถวยาวเสียเวลาที่สนามบินอีกต่อไป

ปัจจุบัน We Tax Refund บน WeChat Pay เปิดให้ใช้งานตามสถานที่ต่างๆทั้งหมด 2 จุด คือ 1) สนามบิน และ 2) จุดรับ Tax Refund ตามห้างสรรพสินค้า  ซึ่งปัจจุบันเปิดให้บริการแล้วที่สนามบิน 81 แห่งใน 19 ประเทศทั่วโลก และได้พาร์ทเนอร์กับแหล่งช้อปปิ้งทั้งหมด 105 แห่งของเกาหลีใต้เป็นที่เรียบร้อย

wechat-taxrefund

wechat-tax-700

 

เปิดบริการ WeChat Pay สำหรับนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาประเทศจีน

Tencent ไม่ได้นึกถึงความสะดวกสบายสำหรับคนจีนเพียงอย่างเดียว แต่ยังนึกถึงนักท่องเที่ยวชาติอื่นที่ต้องเดินทางมาประเทศจีนเพื่อธุรกิจ เพื่อการศึกษา และท่องเที่ยวด้วยเช่นกัน จากเมื่อก่อนที่ต้องแลกเงินติดตัวมาจำนวนมาก ต่อไปนี้ไม่จำเป็นต้องพกเงินสดมากมายติดตัวอีกแล้ว เพียงติดตั้งโปรแกรม WeChat Pay ที่โทรศัพท์มือถือ ก็สามารถใช้โทรศัพท์มือถือชำระค่าใช้จ่ายต่างๆในประเทศได้ไม่ต่างจากคนจีนท้องถิ่น

วิธีการติดตั้งและใช้งาน WeChat Pay สำหรับการอาศัยอยู่ในจีน มี 2 ประเภท

  1. การอาศัยเป็นระยะเวลานาน สามารถผูกการชำระเงินของ WeChat Pay กับบัญชีธนาคารที่เปิดในประเทศจีน และลงทะเบียนด้วยหมายเลข Passport ที่อนุญาตให้พำนักอยู่ในประเทศจีน รวมถึงฮ่องกง มาเก้า และไต้หวัน ซึ่งปัจจุบัน มีกว่า 80 ธนาคารในจีนที่รองรับการผูกบัญชีกับ WeChat Pay
  2. การอาศัยเป็นระยะเวลาสั้น เพื่อธุรกิจหรือท่องเที่ยว ก็สามารถผูกการชำระเงินของ WeChat Pay กับบัญชีธนาคารท้องถิ่นของตนเอง หรือบัตรเครดิต วีซ่า หรือมาสเตอร์การ์ด อเมริกันเอ็กซ์เพรส ไดเนอร์คลับ และ JCB และลงทะเบียนด้วยหมายเลข Passport

เพียงเท่านี้ก็สามารถใช้ WeChat Pay ซื้อสินค้าบริการในทุกๆที่ของจีนที่แสดง QR Code ของ WeChat ได้เลย ซึ่งโดยส่วนมากร้านค้าและสถานที่ต่างๆ รวมถึง แท็กซี่ โรงแรม ตั๋วเครื่องบิน ร้านค้าออนไลน์ และแม้แต่ร้านค้าข้างถนน ร้านขายของชำ ก็รับการชำระเงินผ่าน WeChat อยู่แล้ว หมดปัญหาเรื่องเงินทอนเป็นเศษเหรียญและการต้องพกเงินสดติดตัวเป็นจำนวนมาก

 

เปิดตัว We Remit บริการโอนเงินระหว่างประเทศ สำหรับคนงานต่างชาติ

Tencent มองเห็นถึง pain point ของคนงานต่างชาติโดยเฉพาะคนฟิลิปปินส์ที่ต้องทำงานต่างแดน โดยเฉพาะที่ ฮ่องกง นั้นมีแรงงานต่างชาติที่ต้องทำงานเพื่อส่งเงินไปเลี้ยงดูคนในครอบครัวในประเทศของตน ซึ่งคนงานเหล่านี้ส่วนมากจะมีวันหยุดเพียง 1 วันต่อสัปดาห์ ซึ่งแต่ละคนก็จำเป็นต้องใช้วันนี้ในการทำธุระสำคัญส่วนตัว และต้องเดินทางไปธนาคารเพื่อโอนเงินกลับบ้าน

wechat-we-remit-700

ด้วยเทคโนโลยีของ We Remit จะช่วยแก้ปัญหาให้คนงานต่างแดน ได้ใช้เวลาของวันหยุดได้มากขึ้น   โดยสามารใช้ We Remit โอนเงินให้กับคนในครอบครัวในเวลาไหนก็ได้ โดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม ไม่ต้องกังวลเรื่อง Exchange rate และไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง ทำให้วันหยุดที่มี พวกเขาสามารถนำไปใช้กับธุระอื่นๆ หรือใช้เป็นเวลาพักผ่อนได้มากขึ้น

วิธีใช้ We Remit

ทั้่งหมดนี้ Royal Chen ได้บอกว่า Tencent คือเจ้าแรกที่ทำ Cross Border Payments ระหว่างประเทศ

สำหรับบริษัทเทคโนโลยีอย่าง Tencent มองว่าเทคโนโลยีไม่ใช่สิ่งที่จับต้องยาก แต่เทคโนโลยีสามารถสร้างคุณค่าให้กับชีวิตเราได้ เพราะ Tencent สอนให้เราคิดได้ว่า อนาคตไม่ใช่จะมองว่าเราจะใช้เทคโนโลยีหรืออินเทอร์เน็ตอย่างไร แต่ควรคิดทุกอย่างเป็นอินเทอร์เน็ต Internet Thinking thank Internet Using

และนี่ถือเห็นวิวัฒนาการ Cross Border Payments ของ WeChat Pay ที่ Tencent ได้ต่อยอดไปสู่ช่องทางการเงินระหว่างประเทศ อย่างไรขีดจำกัด

 

เขียนโดย ณธิดา รัฐธนาวุฒิ
ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ MarketingOops.com กับประสบการณ์การทำงานในแวดวง Digital มากกว่า 15 ปี ในธุรกิจคอนเทนท์ ธุรกิจออนไลน์ และการตลาดดิจิทัล

อ่านบทความ Exclusive Insider เพิ่มเติมได้ที่นี่

บทความ Exclusive นี้เผยแพร่บน Marketing Oops! เป็นที่แรก

Copyright© MarketingOops.com


  • 1.5K
  •  
  •  
  •  
  •  
Tukko Nathida
ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ MarketingOops.com กับความตั้งใจในการนำเสนอเนื้อหาที่ทันเหตุการณ์ และเกิดประโยชน์ ให้สามารถนำเนื้อหาความรู้ และ Insight ไปต่อยอดกับอนาคตของธุรกิจ และการทำงานที่เกี่ยวข้องกับ เทคโนโลยี ครีเอทีฟ การตลาด โฆษณา และสตาร์ทอัพ