นอกจากเทคโนโลยีจะทำให้แบรนด์มีโอกาสเรียนรู้พฤติกรรมผู้บริโภคมากขึ้น ธุรกิจก็จำเป็นต้องขยับตัวจากการเข้ามาของภาวะ Digital Disruption เช่นกัน ทั้งยังไม่มีข้อยกเว้นสำหรับธุรกิจประเภทใดประเภทหนึ่ง
เรื่องนี้ NOSTRA Logistics ในฐานะผู้ให้บริการโซลูชันโลจิสติกส์ ได้วิเคราะห์ถึง 5 ความท้าทายที่เกิดขึ้นจากพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปและรูปแบบธุรกิจที่ซับซ้อนขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการต้องเร่งปรับตัว…
ลดต้นทุนการขนส่ง
เพราะ เทคโนโลยีและข้อมูล กำลังมีบทบาทครั้งใหญ่ในการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมของการบริหารจัดการงานขนส่งและกลุ่มรถในอุตสาหกรรมการขนส่งและโลจิสติกส์ ประโยชน์ที่เห็นชัดเจน คือ องค์กรที่สามารถบริหารจัดการต้นทุนได้ดีกว่าจะได้เปรียบบนสนามแข่งขัน การใช้ข้อมูลเพื่อวิเคราะห์และวางแผนงานจัดส่งสินค้าและบริหารบุคลากร เพื่อลดค่าใช้จ่ายสิ้นเปลืองต่าง ๆ จึงมีความสำคัญ ซึ่งค่าใช้จ่ายเหล่านั้นต่างมีที่มาจากการวางแผนการวิ่งรถ เช่น การวางแผนการจัดสินค้าและการใช้รถ การเลือกเส้นทางขนส่งที่ใช้ระยะทางและเวลาน้อยที่สุด การขับรถในระดับความเร็วที่เหมาะสม เพื่อประหยัดน้ำมัน การขับรถถูกวิธีไม่เร่งกระชากหรือเร็วเกินกำหนด ก็ประหยัดน้ำมันเชื้อเพลงได้มากและสามารถยืดเวลาและรักษาประสิทธิภาพของเครื่องยนต์ให้มีคุณภาพที่ยาวนานขึ้น
การบริหารจัดการกับข้อมูลจำนวนมหาศาล
เทคโนโลยีและข้อมูลจะกลายเป็นฮีโร่ที่เข้ามาช่วยผู้ประกอบการธุรกิจขนส่งได้เกือบ 100% ประเทศไทยได้มีการออกกฎเรื่องการติดตั้ง GPS ในรถโดยสารและรถขนส่งเพื่อติดตามและเพิ่มความปลอดภัยบนท้องถนนมาได้ 2-3 ปีแล้ว ดังนั้นเทคโนโลยีจีพีเอสอาจจะไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่หลังจาก NOSTRA Logistics เปิดตัวโซลูชัน NOSTRA Telematics ซึ่งทำได้มากกว่าแค่การติดตามรถแบบ GPS ทั่วไป ก็พบว่าบริษัทขนส่งหลายแห่งให้ความสนใจและเริ่มนำเทคโนโลยี Telematics เข้าไปทดลองใช้ในการจัดการงานขนส่ง เพื่อใช้สื่อสารระหว่างรถขนส่งสินค้าและผู้ควบคุมงานจัดส่ง สามารถรับและส่งข้อมูลต่าง ๆ เช่น ตำแหน่งรถ ความเร็วในการขับรถ การหยุดนิ่ง-จอด การเบรก การแซง ปริมาณน้ำมันที่เหลือ อุณหภูมิห้องเก็บความเย็น ฯลฯ รวมถึงใช้เทคโนโลยีอื่น เช่น IoT, Cloud Service, Big Data Analytics เพื่อการรับ-ส่งข้อมูล การจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลในแบบเรียลไทม์ ทำให้ได้ Big Data นำมาวิเคราะห์ในทุกวันเพื่อการวางแผนการใช้รถและประเมินพฤติกรรมการขับรถเพื่อการปรับปรุงให้เกิดประสิทธิภาพและความปลอดภัยสูงสุด อีกทั้งช่วยลดต้นทุนค่าใช้จ่ายลงได้จากการติดตามและวางแผนการใช้รถที่เหมาะสม
Customized Services เพื่อความต้องการเฉพาะ
ธุรกิจแต่ละประเภทมีความต้องการหรือความมุ่งเน้นของลูกค้าแตกต่างกัน เทคโนโลยีจึงต้องสามารถพัฒนาและต่อยอดเพื่อให้ตรงตามความต้องการและสามารถแก้ไขปัญหาของธุรกิจแต่ละประเภทได้ จีไอเอสได้มีการออกแบบโซลูชันที่เหมาะสมกับธุรกิจหรือการทำงานของลูกค้าเฉพาะกลุ่ม เช่น โซลูชันสำหรับองค์กรที่มีรถรับ-ส่งพนักงานที่เรียกว่า Bus on Mobile Service (BOMs) โดยใช้เทคโนโลยีผสานกันระหว่างระบบติดตามรถด้วย GPS Tracking, Telematics, IoT และ Big Data Analytics เพื่อให้ผู้บริหารจัดการรถรับส่งพนักงาน และพนักงานผู้ใช้รถสามารถติดตามข้อมูลรถได้แบบเรียลไทม์ผ่านระบบ NOSTRA Logistics ทำงานครอบคลุมตั้งแต่ติดตามและตรวจสอบตำแหน่งรถ ณ ปัจจุบัน ตลอดจนรายงานสรุปต่าง ๆ
การบริหารบุคลากร
เนื่องจากแรงงานหนุ่มสาวไม่นิยมทำงานในองค์กรที่ไม่เห็นความสำคัญของการใช้เทคโนโลยี ธุรกิจจึงต้องนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยบริหารจัดการเวลาทำงานของบุคลากร เพื่อทำให้องค์กรมีเครื่องมือที่ใช้จัดบริหารจัดการเรื่องต่าง ๆ และสามารถติดตามรถได้แบบเรียลไทม์ ทั้งยังสามารถวัดผลจากเกณฑ์ที่กำหนดหรือ KPI สำหรับพนักงานได้ด้วย
การปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังต่าง ๆ
จากพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปตั้งแต่ปี 2559 ที่ภาครัฐมีโครงการมั่นใจทั่วไทย สนับสนุนให้ผู้ประกอบการขนส่งด้วยรถโดยสารและรถบรรทุกตั้งแต่ 10 ล้อขึ้นไป ติดตั้งระบบ GPS Tracking โดยข้อมูลจากกรมขนส่งทางบกพบว่าเดือนมกราคม 2561 ปัจจุบันมีรถโดยสารและรถบรรทุกที่ติดตั้งระบบ GPS Tracking และเชื่อมโยงข้อมูลกับศูนย์บริหารจัดการเดินรถระบบ GPS ของกรมการขนส่งทางบกจำนวนทั้งสิ้นประมาณ 316,562 คัน นอกจากนี้กรมการขนส่งทางบกรณรงค์ให้ผู้บริโภคเลือกใช้บริการเดินรถของผู้ประกอบการที่มีความเป็นมืออาชีพ ประวัติการเดินรถดี มีการตรวจสภาพความพร้อมของรถและพนักงานขับรถเพื่อความปลอดภัยตามที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด มีการติดตั้ง GPS Tracking เพื่อการตรวจสอบพฤติกรรมการขับขี่และการใช้ความเร็วของรถได้แบบเรียลไทม์ ทำให้ผู้ประกอบการการขนส่งต้องตื่นตัวในการนำเทคโนโลยีเข้ามาพัฒนาการให้บริการของตนเองทัดเทียมกับผู้ให้บริการรายอื่นในตลาด
คุณปิยวดี หงษ์ภักดี ผู้อำนวยการส่วนผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ บริษัท จีไอเอส จำกัด ในกลุ่มบริษัทซีดีจี ระบุว่า จาก 5 ความท้าทายดังกล่าว ทำให้ธุรกิจโลจิสติกส์เริ่มปรับตัวมาใช้เทคโนโลยีมากขึ้นกว่า 30% โดยกรณีศึกษาของบริษัทขนส่งยักษ์ใหญ่ของประเทศไทยพบว่าการติดตั้ง Connected GPS ทำให้บริษัทสามารถลดการใช้เชื้อเพลิงได้เกือบ 40% ด้วยปัจจัยดังกล่าวกรมการขนส่งทางบกจึงได้ออกกฎข้อบังคับให้รถบรรทุกและรถโดยสารสาธารณะทุกคันต้องติดตั้งระบบ Connected GPS ภายในปี 2562 ซึ่งเป็นปัจจัยสนับสนุนสำคัญในการเร่งใช้เทคโนโลยีดังกล่าว โดยภาพรวมธุรกิจโลจิสติกส์ของประเทศไทยเมื่อปี 2561 ที่ผ่านมา มีการติดตั้งระบบแล้วกว่า 30% ซึ่งยังคงเหลืออีกกว่า 70% ที่จะต้องเร่งดำเนินการติดตั้งระบบ Connected GPS
ในสมรภูมิ Digital Disruption เครื่องมือหรือเทคโนโลยีที่จะมีบทบาทช่วยเพิ่มศักยภาพให้แก่ธุรกิจขนส่ง ได้แก่ ระบบจัดการงานขนส่งและคลังสินค้าด้วย Connected GPS, Telematics, IoT, Big Data Analytics, Cloud Computing ทำให้การบริหารจัดการธุรกิจมีประสิทธิภาพทั้งเวลา ความเร็ว ความถูกต้อง และมีต้นทุนที่ต่ำลง ทั้งยังเป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ผลการดำเนินงานและพฤติกรรม เช่น ประสิทธิภาพในการใช้รถ และพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยีที่สามารถป้องกันความเสี่ยงที่เกิดจากปัจจัยต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ