หนทางเอาตัวรอดของธุรกิจในยุคที่ Digital Business ผูกขาดเศรษฐกิจโลก

  • 6
  •  
  •  
  •  
  •  

ทุกวันนี้เราหนีไม่พ้นการใช้แอปฯจากบริษัทเทคฯยักษ์ใหญ่อย่าง Google, Facebook, Microsoft หรือ Apple ฯลฯ แค่ตื่นนอนหลายคนก็เปิดมือถือก่อนอย่างแรก เพื่อดูว่าเกิดอะไรขึ้นตอนเราหลับอยู่ บริษัทที่เป็น Digital Business พวกนี้ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี ข้อมูลของคนใช้งาน (User) และที่สำคัญคือเครือข่ายของผู้ใช้งาน เพื่อเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเข้าใจผู้ใช้งานว่ายังมีอย่างอื่นอีกหรือไม่ที่ผู้ใช้งานต้องการ

จากนั้น Digital Business พวกนี้ก็จะเอาสิ่งที่ได้จากการวิเคราะห์เอาไปพัฒนาสินค้าและบริการใหม่ๆต่อไปเพื่อตอบโจทย์ผู้ใช้บริการทั้งหน้าเดิมและหน้าใหม่ จากนั้นบริษัทฯก็เก็บข้อมูล เอาไปวิเคราะห์ พัฒนาบริการเดิมให้ดีขึ้นและเปิดบริการใหม่ๆ มีคนใช้งานและมีคนให้บริการมากขึ้นเรื่อยๆ

จนในที่สุดบริษัทดิจิทัลที่เป็นศูนย์กลางของข้อมูลมหาศาลก็สามารถทำรายได้ติดอับดับต้นๆของโลก

 

ธุรกิจที่ยังไม่ปรับตัวเป็น Digital Business จะเสียเปรียบ

อย่างที่บอกไปว่า Digital Business เมื่อมีข้อมูลใหม่ๆ ก็จะเปิดบริการใหม่ๆ หมายความว่าบริษัทพวกนี้ไม่สนใจว่าตัวเองอยู่ Industry ไหนกันแน่ แต่สนใจว่าตัวเองได้สร้างเครือข่ายไปถึงไหนมากกว่า Ailbaba เป็นตัวอย่างที่ชัดเจน เรื่มแรกเป็นบริษัท E-commerce

แต่ด้วยความเป็น Digital Business อย่างที่บอก Ailbaba เก็บข้อมูลลูกค้า แล้วไปเปิดบริการใหม่เป็น Ant Financial ให้บริการทางการเงิน แข่งกับธนาคารฯ หากธนาคารไม่ปรับตัวอยู่เฉยๆก็มีโอกาสเสียเปรียบหรืออาจถูก Disrupt  ไปเลยก็ได้

Traditional Business ที่ไม่ใช่แค่ไม่รู้จักเก็บและบริหารจัดการพฤติกรรมของลูกค้า แถมยังยึดติดกับ Industry ของตัวเอง ก็อาจจะไม่รอดจากการขยายเครือข่าย ข้อมูลและบริการใหม่ๆของ Digital Business ก็ได้

ข้อแตกต่างข้อหนึ่งระหว่าง Traditional  Business และ Digital Business ที่ชัดเจนคือต้นทุนที่เพิ่มขึ้นเมื่อต้องขยายกิจการรองรับลูกค้าที่มากขึ้น

ยกตัวอย่างเช่น ร้านอาหารทั่วไปที่มีหน้าร้าน หากลูกค้าติดใจชอบมากินอาหารที่ร้านจนคนแน่นไม่พอให้บริการ ก็ต้องขยายสาขา ต้นทุนพื้นที่ ต้นทุนสร้างร้าน ต้นทุนพนักงานใหม่ก็เพิ่มขึ้นมาเป็นเงาตามตัว ความสามารถในการทำกำไรก็ลดลง

แต่ถ้าเป็น Digital Business อย่าง Grab หรือ Line Man จะเป็นอย่างที่ผมเกริ่นไปตั้งแต่ต้นเลย ยิ่งมีคนใช้บริการ ยิ่งได้เปรียบ เพราะ Grab หรือ Line Man เอาข้อมูลลูกค้าไปปรับปรุงบริการ และแตกบริการใหม่ๆไปเรื่อยๆ

จริงๆ Grab เองเริ่มจากเป็นตัวกลางเชื่อเครือข่ายแท็กซี่กับเครือข่ายผู้โดยสารซึ่งก็เป็นผู้บริโภคอาหารเช่นกัน Grab จึงแตกบริการใหม่เป็น Grab Food ส่วน Line Man ก็เป็นบริการใหม่ที่แตกจาก Line Chat

 

การผูกขาดของเศรษฐกิจก็ทำให้ Digital Business ต้องลำบากในภายหลัง

ลำพังแค่ในบ้านเรา ร้านขายของชำก็มีธุรกิจเจ้าใหญ่มาเปิดแข่งข้างๆก็ลำบากแล้ว หากมีธุรกิจดิจิทัลแข่งมาเปิดบริการใหม่ๆแข่งกับธุรกิจ SME ในบ้านเราจริงๆ ร้านค้าที่ไม่ปรับตัวจะลำบาก พูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ ธุรกิจดิจิทัลไม่กี่เจ้าจะไม่ใช่แค่ผูกขาดแค่ Industry เดียว แต่สามารถผูกขาดเศรษฐกิจได้เลย

ผลที่ตามมาคือความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจที่รุนแรงกว่าเดิม

แต่ถึงอย่างนั้น การที่ธุรกิจดิจิทัลผูกขาดเศรษฐกิจ ในระยะยาวแล้วไม่เป็นผลดีแน่นอน การทำแบบนั้นเป็นการทำให้เครือข่ายของธุรกิจของตัวเองอ่อนแอลง และในที่สุดผลร้ายก็ย้อนกลับเข้าหาตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นผลกระทบทางการเงินหรือทางเศรษฐกิจ

Microsoft เป็นตัวอย่างที่ชัดเจน ในสมัยก่อนที่  Microsoft ผูกขาดลงทุนผลิด Software เองจนทำให้ Software Community นั้นอ่อนแอลง แต่ต่อมาเมื่อมี Cloud Service ทำให้เกิด Software Community ขึ้นมาแข่ง และมีคู่แข่งของ Microsoft คอยสนับสนุน Community  ด้วย ทำให้ Microsoft ถึงกับต้องเปลี่ยน Business Model เพื่อให้บริการ Cloud Service ด้วยเช่นกัน

 

แล้วเราจะอยู่รอดอย่างไรในยุคที่ Digital Business ผูกขาดเครือข่าย ข้อมูล และรายได้

เราจะเห็นว่า ผู้บริโภคเองก็คอยตรวจสอบและเรียกร้องในความไม่ยุติธรรมของการดำเนินการของ Digital Business ได้เหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นกรณี Fake News บน Facebook การที่ AirBnB มีอัลกอริธึ่มที่ลำเอียงในการนำเสนอ Host ที่เหยียดเชื้อชาติและสีผิว

ตรงนี้เป็นเพียงจุดเริ่มต้นเล็กๆที่ทำให้ธุรกิจดิจิทัลจะต้องหันมาปกป้องผู้บริโภคที่เป็นเครือข่ายของตัวเอง ฝ่ายธุรกิจดิจิทัลก็ต้องเป็นส่วนหนึ่งของวิธีแก้ไขปัญหา หลังๆเราจะเห็น Facebook ไล่ปิดบัญชีปลอม และมีการยืนยันข้อเท็จจริงของข่าวที่เผยแพร่บน Facebook เป็นต้น

 

 

ส่วนธุรกิจรายย่อย จากที่เคยเป็นคู่แข่งไม่ว่าทางตรงไม่ก็ทางอ้อม ก็ต้องหันมาจับมือกันหันมาเป็น Digital Business รู้จักใช้เครื่องมือดิจิทัลในการรวมข้อมูล และวิเคราะห์พฤติกรรมลูกค้า ให้เป็นศูนย์รวมข้อมูลของผู้บริโภคบ้าง

โดยเฉพาะธุรกิจอย่างเช่นรถยนต์หรือพวกส่วนประกอบต่างๆ เพราะในอนาคตเมื่อรถยนต์อัตโนมัติเข้ามา ตัวรถเพียงอย่างเดียวอาจไม่สำคัญเท่ากับประสบการณ์การนั่งรถ ทำให้ซอฟท์แวร์ต่างๆในรถกลายเป็นเรื่องสำคัญกว่าตัวรถ การที่ผู้ผลิตรถยนต์ต้องจับมือกันเพื่อแชร์ข้อมูลลูกค้า หาพาร์ทเนอร์พัฒนาซอฟท์แวร์จึงกลายเป็นเรื่องที่ดีก็ได้

และไม่ใช่แค่ผู้บริโภคและฝ่ายธุรกิจเท่านั้นที่จะช่วยแก้ไขปัญหาการผูกขาดของ Digital Business ฝ่ายอื่นๆก็ด้วย เช่นภาครัฐที่ออกกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนตัวของผู้บริโภค การมี Open Source Service ที่ทุกคนสามารถเข้าไปพัฒนาคอนเทนต์หรือซอฟท์แวร์ได้ได้อย่างเสรีเพื่อคานอำนาจธุรกิจดิจิทัล Multihoming ที่เป็นปัญหาใหญ่ของธุรกิจดิจิทัลที่ผู้บริโภคสามารถหันไปใช้บริการธุรกิจดิจิทัลเจ้าอื่นได้ไม่ยาก

ก็ทำให้ผู้บริโภคมีอำนาจต่อรอง Digital Business มากขึ้นเช่นกัน

 

Copyright by MarketingOops.com


  • 6
  •  
  •  
  •  
  •  
Sarunjade
แชร์มุมมองเกี่ยวกับ Digital Marketing, Digital Business และ Technology เท่าที่รู้ สามารถติชมหรืออยากให้เจาะลึกเรื่องไหนเป็นพิเศษ ส่งเมลมาเลยที่ contact@oopsnetwork.co.th