[บทความนี้เป็น Advertorial]
Cryptocurrency คืออะไร กระบวนการใช้มันเป็นอย่างไร
“เงินดิจิทัล” หรือ Cryptocurrency ถือเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่จะมาเปลี่ยนแปลงโลกนี้ภายในอีกไม่กี่ปีนี้ และเงินสกุลดิจิทัลจะเกี่ยวข้องกับ Cashless Society และ Blockchain ซึ่งสองสิ่งนี้จะกลายเป็นสิ่งสำคัญในอนาคตอันใกล้
หากเรามีอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงที่สามารถรองรับธุรกรรมทางการเงินที่ต้องใช้ข้อมูลมากมายมหาศาล งานธุรกรรมต่าง ๆ ที่เคยต้องใช้ “มนุษย์” ในการทำงาน ก็จะสามารถเปลี่ยนมาใช้ “คอมพิวเตอร์” เทคโนโลยีควอนตัมทำงานแทน
โดยสรุปแล้ว Cryptocurrency คือ เงินดิจิทัล ที่จะทำให้ธุรกรรมทางการเงินง่ายขึ้น ปลอดภัยขึ้น และเป็นแหล่งการเติบโตของ “สินทรัพย์” ยุคใหม่ในอนาคต
Cryptocurrency มีผลต่อโลกในปัจจุบันอย่างไร
หากจะกล่าวถึงผลกระทบต่อโลกของ Cryptocurrency ในโลกปัจจุบันคงต้องเน้นไปที่เทคโนโลยี Block Chain หลายคนคงคิดว่า “มันจะสำคัญอะไร” แต่ทำไมธนาคารขนาดใหญ่ในโลก รวมทั้งประเทศไทยก็เริ่มสนใจสกุลเงินดิจิทัลเหล่านี้ (เช่น Bitcoin, ethereum เป็นต้น) ที่จริงแล้วสิ่งที่น่าสนใจอาจไม่ใช่สกุลเงิน แต่เทคโนโลยี Blockchain ต่างหากที่น่าติดตามยิ่ง
เทคโนโลยี Blockchain นั้นถูกพัฒนาให้ดีขึ้นจากแนวคิดของระบบธนาคารแบบเดิม ๆ โดยระบบธนาคารแบบเดิมจะใช้วิธีการบริหารจัดการแบบรวมศูนย์ หรือ Centralized Ledger คือ การที่ธนาคารเป็นผู้ที่เก็บข้อมูลลูกค้า และรายการเดินบัญชี (Ledger)
ถ้าเราอยากรู้ความเคลื่อนไหวของบัญชีก็ต้องนำสมุดบัญชีไปคัดลอง หรือที่เรียกกันว่า Up Book Bank ซึ่งเราจะเห็นเฉพาะข้อมูลของตัวเอง และธนาคารก็มีภาระกิจที่จะต้องทำการระบุตัวตนของลูกค้าเอง หรือ Known Your Customer ทำให้คนที่ไม่ใช่เจ้าของบัญชีไม่สามารถขอเบิกถอนเงินออกจากบัญชีได้ง่าย ๆ
โครงสร้างแบบ Centralized Ledger ทำให้ธนาคารเป็นตัวกลางในการทำธุรกรรมให้กับลูกค้า แต่การทำงานด้วยระบบนี้จะทำให้ทางการสามารถเห็นความเคลื่อนไหวของเงินในบัญชี และตรวจสอบได้ง่าย ซึ่งก็ทำให้มั่นคงแข็งแรงในระดับหนึ่ง จนเกิดโปรแกรมเมอร์คนหนึ่งที่เริ่มต้นคิดระบบใหม่ขึ้นมา
โปรแกรมเมอร์คนนี้ใช้แนวคิดว่า “ไม่ต้องมีตัวกลาง” อะไรมาควบคุมระบบทางการเงิน แต่จะใช้โปรแกรม Algorithm ที่มีเสถียรภาพแบบเดียวกันของทุกคนในเครือข่าย โดยการทำธุรกรรมทุกอย่างที่เกิดขึ้นต้องให้ทุกคนรับรู้ แล้วบันทึกธุรกรรมทุกอย่างเก็บใน “Block” และบันทึกต่อ ๆ ไปเป็นลูกโซ่ เรียกว่า “Blockchain” นั่นเอง
ระบบใหม่นี้ทำให้ตัวกลางอย่างธนาคาร “หายไปทันที” ซึ่งธนาคารแบบเดิมที่ใช้ระบบรวมศูนย์ Centralized นั้นอาจไม่รวดเร็ว แต่ระบบใหม่อย่าง Blockchain ใช้ระบบการเก็บข้อมูลแบบกระจาย หรือ Distributed Ledger โดยทุกข้อมูลจะเชื่อมโยงกันทั้งระบบ ถ้ามีรายการใหม่ ๆ เข้ามาในระบบ ทุกระบบจะรับรู้ และต้องการการตรวจสอบข้อมูลทั้งเครือข่ายที่เรียกว่า Consensus Network จึงทำให้เกิดการ “ขุด” เงินดิจิทัลขึ้น เช่น การขุด Bitcoin เป็นต้น
Cryptocurrency มีแนวโน้มว่าจะเป็นอย่างไรต่อไปในอนาคต โลกจะเปลี่ยนแปลงเพราะสิ่งนี้อย่างไร
เทคโนโลยีที่จะปฏิวัติโลกจริง ๆ ไม่ใช่สกุลเงินดิจิทัล แต่เป็น Blockchain เพราะคุณสมบัติของความรวดเร็ว โปร่งใส ต้นทุนต่ำ ไม่ต้องมีตัวกลาง นอกจากจะใช้ในการโอนเงินดิจิทัลอย่าง Bitcoin แล้ว ยังสามารถนำไปทำประโยชน์หลายอย่าง
ประโยชน์ด้านการเป็น Cashless Society … การใช้เทคโนโลยี Blockchain จะช่วยให้สังคมไร้เงินสดเป็นจริงเร็วขึ้น ที่ผ่านมาเราคงเคยประสบปัญหาทุก ๆ สิ้นเดือน เมื่อเราต้องโอนเงินผ่าน Internet Banking ที่ระบบจะล่มเนื่องจากมีคนใช้บริการเป็นจำนวนมากพร้อม ๆ กัน ด้วยระบบธนาคารเป็นศูนย์กลางทำให้เวลามีข้อมูลมารวมกันทีเดียวมาก ๆ ในเวลาเดียวกันจะเกิดปัญหาระบบล่มได้อย่างง่ายดาย
แต่หากเราใช้ Blockchain เข้ามาแทนที่ระบบเดิม จะหมดปัญหาทันที เนื่องจากข้อมูลไม่ต้องรวมศูนย์ผ่านคนกลางอีกต่อไป เรื่องระบบล่ม … ลืมไปได้เลย
ประโยชน์ด้านการซื้อขายหุ้น … การซื้อขายหุ้นเป็นอะไรที่ต้องใช้ความปลอดภัยสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การการชำระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์แบบ Net Settlement หากใช้เทคโนโลยี Blockchain เข้ามาช่วยจะทำให้ปลอดภัย และรองรับธุรกรรมได้เป็นอย่างดี
ประโยชน์ด้านอื่น ๆ … งานที่ต้องการความโปร่งใส ตรวจสอบได้ เช่น การทำ Settlement ระหว่างประเทศทำให้ได้เวลาในการ Processing ที่สั้นลง และต้นทุนต่ำ การสร้างสกุลเงินดิจิทัลอื่น ๆ การยืนยันความเป็นเจ้าของโฉนดที่ดิน การแลกเปลี่ยนความเป็นเจ้าของของสินทรัพย์มีค่าต่าง ๆ และอีกมากมายที่สามารถเปลี่ยนโลกทั้งใบแบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน
ข้อสรุป และข้อคิดก็คือ … การกำเนิดเกิดขึ้นของ Cryptocurrency นั้น เบื้องหลังมีเทคโนโลยี Blockchain ที่สามารถเปลี่ยนโลกได้ทั้งใบ ด้วยเทคโนโลยีที่กระจายข้อมูลแบบแม่นยำ และปลอดภัยสูง ทำให้ระบบเดิมที่ต้องรวมศูนย์ไปยังธนาคาร หรือหน่วยงานต่าง ๆ อาจจะถูกทำลายไปอย่างถาวร
ด้วย “จุดอ่อน” ของระบบเก่าที่ไม่สามารถรองรับธุรกรรมที่เข้ามามากมายในเวลาเดียวกันได้ ซึ่งสังคมในยุคต่อไปธุรกรรมลักษณะนี้จะมากขึ้นเรื่อย ๆ ข้อมูลจะทับถมจนระบบเดิมต้องยกเลิกไปเองและให้ระบบใหม่อย่าง Blockchain เข้ามาทดแทนในที่สุด
สรุปแล้วระบบใหม่อย่าง Blockchain จะค่อยๆเข้ามาทดแทนระบบเก่าทีละนิด ผู้ที่สนใจก็ต้องศึกษาและเลือกใช้อย่างชาญฉลาด โดยสามารถศึกษาข้อมูล และติดตามข่าวสารเพิ่มเติมจากหน่วยงานภาครัฐอย่าง สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล
เพียงเข้าไปได้ที่ http://www.depa.or.th
[บทความนี้เป็น Advertorial]