“พันคน พันร้าน” ส่องกลยุทธ์ “ร้านเพชร” สู้ COVID-19 เปลี่ยนพนักงานขายเป็น “KOLs” สร้างรายได้ถล่มทลาย

  • 622
  •  
  •  
  •  
  •  

jewelery

แน่นอนว่าสถานการณ์ช่วงนี้ทำให้ธุรกิจออฟไลน์ต้องหยุดชะงักไปในทันที กลายเป็นวิกฤตที่แบรนด์ต่าง ๆ ต้อง Transform สู่ออนไลน์อย่างเร่งด่วน หากพูดถึงความพร้อมก็ต้องยอมรับว่ามีทั้งแบรนด์ที่ตั้งรับสถานการณ์ได้ดี และแบรนด์ที่ยังปรับตัวไม่ทันจนเกิดเป็นวิกฤตซ้ำสอง แต่ไม่ใช่กับชาวจีน

เพราะในวิกฤตที่ธุรกิจไม่สามารถเปิดให้บริการหน้าร้านได้ตามปกติ บรรดาร้านค้าเครื่องประดับ ค้าเพชรพลอย แนวมัลติแบรนด์อย่าง Shenzhen” ได้ปรับตัวอย่างรวดเร็วด้วยการหันมาค้าขายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ แถมยังเปลี่ยน “พนักงานขาย” ให้กลายเป็น KOLs” เข้าสู่แวดวงอินฟลูเอนเซอร์เต็มตัว กับไอเดียแบบ Thousand People, Thousand Stores” ด้วยการเปิดช่องทางขายออนไลน์ 1 คนต่อ 1 ร้านค้า เพียงเท่านี้ก็ทำให้แบรนด์เพิ่มโอกาสขายสินค้าได้มากมาย ยิ่งเมื่อมีการ Live แนะนำสินค้า ก็ยิ่งทำให้สินค้ามีโอกาสผ่านสายตาผู้บริโภคได้มากขึ้นนั่นเอง

จะว่าไป…เรื่องนี้ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับธุรกิจหลาย ๆ ประเภทในจีน รวมถึงวงการเครื่องประดับ โดยเฉพาะแบรนด์ไฮเอนด์ ที่เคยต้องขายผ่านหน้าร้านที่ตกแต่งอย่างสวยหรู เพื่อช่วยเสริมมูลค่าสินค้าและความรู้สึกของลูกค้าที่เข้ามาเลือกซื้อ ขณะที่การพลิกช่องทางมาขายสินค้ามีมูลค่าอย่างเพชรพลอยผ่านออนไลน์นั้น กลับช่วยให้แบรนด์ได้มียอดขาย พนักงานยังมีงานทำ พร้อม ๆ กับการขยายฐานลูกค้าสู่กลุ่มวัยรุ่นได้มากขึ้น สร้างการรับรู้กับกลุ่ม Gen Z ที่มีกำลังซื้ออีกด้วย หรือแม้แต่การนำเสนอของสวย ๆ งาม ๆ ให้ผู้คนที่กำลังเบื่อจากการเก็บตัวอยู่บ้านได้สะดวกกับการช้อปเครื่องประดับ กับราคาเริ่มต้นที่ 1,000 หยวน หรือประมาณ 4,700 บาท แต่สินค้าราคาแพงอย่างแหวนเพชร 5.01 กะรัต ที่ขายในราคา 99,000 หยวน (ประมาณ 460,000 บาท) ก็มีขายผ่านออนไลน์นะ แถมขายได้ซะด้วย!

และในเมื่อการขายออนไลน์ทำให้โอกาสในการเข้าถึงลูกค้ามีมากขึ้น ทางบริษัทจึงเสนอ “เพิ่มค่าคอมมิชชั่น” ให้กับพนักงาน จากเดิมที่เคยได้ราว ๆ 3% เมื่อตอนขายผ่านหน้าร้าน เป็น 10-15% หากขายผ่านออนไลน์ได้! แน่นอนว่าตัวเลขนี้ก็เป็นแรงผลักดันครั้งสำคัญที่ทำให้เหล่าพนักงานเต็มใจปรับรูปแบบเป็นการขายผ่าน Live และแอปช้อปออนไลน์ต่าง ๆ ซึ่งแนวทางดังกล่าวได้ผลตอบรับดีเกินคาด จนทำให้แบรนด์มียอดขายถึง 2,000 ชิ้น คิดเป็นรายได้กว่า 2 ล้านหยวน หรือเกือบ 9.3 ล้านบาท

แบบนี้คงต้องเรียกว่า Win-Win กันทุกฝ่าย ผู้บริโภคได้ช้อป พนักงานขายยังมีรายได้ (แถมอาจจะมากขึ้นกว่าเดิม) และแบรนด์ก็ยังอยู่รอด! ท่ามกลางวิกฤต COVID-19

 

ที่มา : insideretail


  • 622
  •  
  •  
  •  
  •  
Ms.นกยูง
เมื่อโลกไม่เคยหยุดหมุน เราก็ไม่ควรหยุดเรียนรู้... ชวนคุณมาทำความรู้จักหลากหลายเรื่องราว ทั้งสาระและสีสันบนโลกดิจิทัลไปพร้อมกัน