CEO เตรียมตัวอย่างไร ในยุคที่อนาคตกำลังไล่ล่าด้วยหุ่นยนต์ปัญญาประดิษฐ์

  • 143
  •  
  •  
  •  
  •  

ในยุคที่อนาคตกำลังไล่ล่าพวกเรา คนไทยหลายคนคุ้นเคยกับคำว่า “ยุคของหุ่นยนต์” มานานพอสมควรแล้ว และการเข้ามาของหุ่นยนต์ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นเรื่องที่ท้าทายฝีมือคนทำงานอย่างมาก เพราะหุ่นยนต์สามารถทำงานได้ในปริมาณมาก ไม่รู้สึกเหน็ดรู้เหนื่อย และไม่จู้จี้ขี้บ่น แต่เมื่อปัญญาประดิษฐ์ (AI) เข้ามาช่วยเสริมทำให้หุ่นยนต์มีศักยภาพมากขึ้น มีความคิดและการตัดสินใจที่ชาญฉลาดมากขึ้น มนุษย์ก็ต้องยิ่งปรับตัวมากขึ้นด้วยเช่นกัน

เมื่อเข้าสู่ยุคของหุ่นยนต์ที่ฉลาดมากขึ้นเข้ามาครองตลาดแรงงาน ดูเหมือนผู้บริหารระดับ CEO จะต้องเตรียมพร้อมรับมือกับอนาคตที่กำลังเข้ามาในระยะประชิดนี้ และเตรียมรับมือด้วยกลยุทธ์ 2 ประการได้แก่

ประการแรก คือ ต้องยอมรับว่าหุ่นยนต์ทำงานได้จริง ช่วยลดต้นทุนในการจ้างงาน งานวิจัยหลายชิ้นบอกว่า หุ่นยนต์สามารถสร้างมูลค่าได้มหาศาล โดยเฉพาะในมุมของแรงงาน และอื่น ๆ เช่น เข้ามาช่วยในงานลูกค้าสัมพันธ์ ปรับปรุงและพัฒนากระบวนการทางอุตสาหกรรม เสริมศักยภาพงานในแง่ของความรู้ และช่วยให้พบคำตอบในงานวิจัยต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็วกว่าที่มนุษย์จะทำได้

ประการถัดมา คือ ผู้บริหารต้องทำแผนปฏิบัติงาน (Action Plan) โดยที่แผนดังกล่าวควรจะรวมถึง ภาพแห่งโอกาสด้านกลยุทธ์และยุทธวิธีสำหรับบริษัทของตัวเอง แบบพิมพ์เขียวที่บอกว่าคนในองค์กรจะทำงานให้ราบรื่นและใกล้ชิดกับหุ่นยนต์ได้อย่างไร และความมุ่งมั่นในการพูดคุยและอภิปรายในประเด็นโลกของการทำงานในอนาคตที่ต้องอยู่กับหุ่นยนต์ตลอดเวลาอีกด้วย

CEO เตรียมตัวอย่างไร ในยุคที่อนาคตกำลังไล่ล่าด้วยหุ่นยนตร์ปัญญาประดิษฐ์
CEO เตรียมตัวอย่างไร ในยุคที่อนาคตกำลังไล่ล่าด้วยหุ่นยนต์ปัญญาประดิษฐ์

หุ่นยนต์ทำอะไรได้บ้าง

หลายคนที่ยังไม่คุ้นชินกับภาพของหุ่นยนต์ที่จะเข้ามาทำงานร่วมกับมนุษย์ อาจจะตั้งคำถามว่า หุ่นยนต์จะเข้ามาทำอะไรได้บ้าง และจะเข้ามาแทนที่งานของมนุษย์ได้อย่างไร

ทั้งนี้ ตัววัดชี้วัดความสำเร็จในการใช้หุ่นยนต์เข้ามาทำงานคือผลประกอบการทางธุรกิจที่มาจากการทำงานของหุ่นยนต์ รวมถึง การลดต้นทุนการผลิต โดยเฉพาะค่าแรงในการจ้างมนุษย์ ผู้เชี่ยวชาญยังบอกอีกว่า หุ่นยนต์จะเข้ามาปรับเปลี่ยนโลกการทำงานของเราและแทรกซึมเข้ามาอยู่ในแผนกต่าง ๆ เช่น แผนกฉุกเฉินของโรงพยาบาล แผนกซ่อมบำรุงเครื่องบิน แผนกผลิตน้ำมันและก๊าซ ร้านโชว์ห่วย และบริษัทโบรกเกอร์อสังหาริมทรัพย์

อาจยังมีข้อสงสัยว่า แล้วแผนกเหล่านี้จะเปลี่ยนแปลงไปขนาด หากนำหุ่นยนต์เข้ามาช่วยเสริมการทำงาน

ผู้เชี่ยวชาญยังบอกอีกว่า นอกจากหุ่นยนต์จะช่วยลดต้นทุนการผลิตแล้ว การนำหุ่นยนต์เข้ามาช่วยงานสามารถสร้างผลประโยชน์ในแง่ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นผลกำไร ความคุ้มค่าและอื่น ๆ อีกมากมาย ในแต่ละแผนกได้ เช่น ผลประโยชน์ในแผนกฉุกเฉินของโรงพยาบาลจะสูงขึ้นร้อยละ 15 ในส่วนของการซ่อมบำรุงรักษาเครื่องบินจะสูงขึ้นร้อยละ 25 และในส่วนของอสังหาริมทรัพย์เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 90

ในแง่ของคนทำธุรกิจ การที่หุ่นยนต์เข้ามาชดเชยแรงงานมนุษย์และช่วยลดต้นทุนการผลิตก็ถือว่าคุ้มค่ามากแล้ว แต่ผลประโยชน์ที่ได้จากการทำงานของหุ่นยนต์ถือว่าคุ้มค่าและคุ้มทุนกว่ามาก เช่น ในอุตสาหกรรมผลิตน้ำมันและก๊าซ หุ่นยนต์เข้ามาช่วยเสริมแกร่งในช่วงระหว่างกระบวนการผลิต กระตุ้นกำลังการผลิตให้สูงขึ้น และสร้างความปลอดภัยต่อชีวิตมนุษย์และทรัพย์สิน งานเหล่านี้ ไม่ต้องเอามนุษย์เข้ามาทำก็ได้ เพราะงานกว่าร้อยละ 85 สามารถนำเอาหุ่นยนต์มาทำแทนได้ทั้งนั้น และตัวอย่างงานที่หุ่นยนต์สามารถทำแทนมนุษย์ได้มีดังนี้

  • สร้างความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกับลูกค้า

เช่น บริษัท Affectiva ในบอสตัน สหรัฐอเมริกาให้หุ่นยนต์ช่วยวิเคราะห์อารมณ์และสีหน้าของลูกค้าที่มีปฏิกิริยาต่อโฆษณา และคอนเทนท์ดิจิตอลอื่น ๆ ผ่านเว็บแคม

Citibank จับมือกับ Persado ซึ่งเป็นสตาร์ทอัพที่ใช้ AI ในการเลือกภาษาที่จะใช้กับผู้รับอีเมลทุกครั้งที่มีการทำแคมเปญผ่านอีเมล ผลคือ อัตราการเปิดอีเมลสูงถึงร้อยละ 70 และอัตราการคลิกสูงถึง 114

และบริษัท Kraft ที่ใช้แพล็ตฟอร์มบิ๊กดาต้าที่นำเอา  AI เข้ามาช่วยสร้างแบรนด์ Philadelphia Cream Cheese โดยทำให้เข้าใจความต้องการของลูกค้าที่ตรงจุดมากขึ้น

 

  • ปรับปรุงการดำเนินงานในด้านอุตสาหกรรม

เช่น บริษัท GE นำเอาเครื่องมือพยากรณ์เพื่อซ่อมบำรุงที่เรียนรู้ด้วยหุ่นยนต์มาใช้ ซึ่งช่วยให้ต้นทุนการผลิตในส่วนของโอเปอเรชันและการซ่อมบำรุงลดลงถึงครึ่งหนึ่ง และช่วยให้ทุนที่ได้จัดสรรไว้สามารถนำมาต่อยอดได้อีก

บริษัท Rio Tinto นำรถบรรทุกขนาดใหญ่และเครื่องเจาะที่ขับเคลื่อนด้วยหุ่นยนต์มาช่วยงานในเหมืองแร่เมืองพิลบารา ประเทศออสเตรเลีย ผลที่ได้คือ ช่วยเพิ่มกำลังการผลิตสูงขึ้นร้อยละ 10-20 และช่วยลดการใช้พลังงานให้ต่ำลง และช่วยสร้างความปลอดภัยให้กับพนักงานบริษัทอีกด้วย

 

  • เสริมแกร่งให้งานประเภทเอกสาร

เช่น ปัจจุบันมีการใช้หุ่นยนต์ที่เป็นซอฟต์แวร์มาช่วยจัดการดูแลเรื่องของการบริหารและจัดเก็บข้อมูลบัตรประชาชนของผู้ใช้ และทำงานที่มีกฎตายตัวหรืองานซ้ำ ๆ เช่น ตรวจสอบอีเมล งานคำนวณ งานสร้างเอกสารและรายงาน และงานตรวจสอบไฟล์ต่าง ๆ

นอกจากหุ่นยนต์จะสามารถทำงานในปริมาณที่มากและถูกต้องแม่นยำแล้ว ผลที่ได้คือ มีการสร้างเอกสาร เช่น การทำธุรกรรมต่าง ๆ เพื่อการตรวจสอบ การปฏิบัติตามกฎหมาย และการวิเคราะห์ต้นตอของปัญหา ในขณะเดียวกัน สถาบันการเงินจำนวนมากและบริษัทอื่น ๆ ก็ใช้หุ่นยนต์เพื่อเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลอีกด้วย

 

  • เสริมศักยภาพงานการเกษตรกรรม

เช่น บริษัท Land O’Lakes’ WinField United รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเมล็ดพันธุ์พืชต่าง ๆ ในสหรัฐอเมริกา เพื่อช่วยให้เกษตรกรได้ตัดสินใจว่าจะปลูกอะไรในฤดูกาลต่อ ๆ ไปตลอดทั้งปี นอกจากนี้ หุ่นยนต์ยังช่วยแนะนำเมล็ดพันธุ์ ดินและอาหารบำรุงพันธุ์พืชที่น่าซื้อ และยังแนะความเป็นไปได้ถึงผลผลิตหลังจากปลูกด้วยเมล็ดพันธุ์ที่แนะนำได้อีกด้วย

ในขณะเดียวกัน โมเดล Black Book ของบริษัท Coca-Cola ใช้อัลกอลิธึมในการพยากรณ์อากาศและการให้ผลผลิตทางการเกษตร เพื่อแจ้งกลับไปยังฝ่ายแผนจัดซื้อว่าจะสามารถผลิตอะไรต่อยอดจากข้อมูลตรงนี้ได้ โมเดลที่ทำงานด้วยหุ่นยนต์นี้ยังช่วยแจ้งเจ้าของโครงการอย่างทันท่วงทีหากดินฟ้าอากาศไม่เป็นใจและทำลายพืชพันธุ์ที่เพาะปลูกได้อีกด้วย

 

  • เสริมธุรกิจในระดับมหภาคและทำให้เร็วขึ้น

ศักยภาพของหุ่นยนต์ที่เสริมแกร่งด้วยปัญญาประดิษฐ์ ช่วยให้เราทำธุรกิจในระดับที่ใหญ่ยิ่งขึ้นไปได้ง่ายขึ้น ช่วยกระตุ้นกำลังการผลิต และกำจัดข้อผิดพลาดได้แม่นยำ นอกจากนี้ ยังสร้างโอกาสให้งานวิจัยและพัฒนาในอนาคตอีกด้วย

ตัวอย่างเช่น กระบวนการคัดสรรโมเดลที่เรียนรู้ได้ด้วยหุ่นยนต์ของบริษัท GlaxoSmithKline ช่วยให้บริษัทวิเคราะห์โมเดลขนาดใหญ่และซับซ้อนได้ภายในไม่กี่สัปดาห์ ในขณะที่กระบวนการแบบดั้งเดิมต้องใช้เวลาในการวิเคราะห์โมเดลกันนานนับหลายเดือน

อีกตัวอย่างเช่น บริษัท Nissan ประหยัดเวลาได้ถึงครึ่งจากงานออกแบบผลิตภัณฑ์ไปยังการะบวนผลิตสุดท้าย ทั้งนี้ได้อานิสงส์จากงานดิจิทัลและหุ่นยนตร์

และบริษัท BMW ช่วยลดเวลาในการใช้เครื่องจักรลงอย่างมากในโรงงานบางแห่ง เพราะได้งานซ่อมบำรุงสภาพของเครื่องจักรด้วยปัญญาประดิษฐ์เข้ามาช่วย ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยให้เกิดเศรษฐกิจใหม่ ๆ ด้วยการลงทุนที่ไม่มาก

 

เมื่อหุ่นยนต์เข้ามามีบทความ CEO อย่างคุณจะรับมืออย่างไร

แน่นอนว่า CEO ต้องมีแผนปฏิบัติงานที่ชัดเจน เมื่อต้องทำงานร่วมกับหุ่นยนต์ แต่แผนที่จะออกมาควรโดดเด่นและดึงเอากลยุทธ์เหล่านี้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของแผนด้วย ได้แก่

  • ทัศนะเชิงกลยุทธ์และยุทธวิธีสำหรับโอกาสต่าง ๆ

ผู้บริหารจะต้องจัดทำแผนและจัดลำดับความสำคัญสิ่งที่จะช่วยให้การทำงานประสบความสำเร็จด้วยการทำงานกับหุ่นยนต์ ประการแรก ผู้บริหารต้องวิเคราะห์ระบบธุรกิจปัจจุบันของตัวเองเสียก่อนว่า ส่วนใดที่จะได้รับประโยชน์จากการลงแรงงานคนลง และจากการปรับปรุงความเร็ว คุณภาพ ความยืดหยุ่นและบริการของงานได้บ้าง

อย่างไรก็ตาม การวิเคราะห์คุณค่าที่จะได้จากการทำงานของหุ่นยนต์มักจะส่งผลที่ตามมาคือจะต้องมีการออกแบบกระบวนงานใหม่ทั้งหมดเพื่อให้เหมาะกับการทำงานที่มีหุ่นยนต์มาร่วมอยู่ในกระบวนการ

สิ่งที่สำคัญประการถัดมาคือ ผู้บริหารจะต้องมองให้ทะลุกระบวนการทางธุรกิจที่มีอยู่ โดยเริ่มจาก หุ่นยนต์จะเข้ามาช่วยงานมนุษย์ได้อย่างไร เพื่อที่จะช่วยในการตัดสินใจที่ยิ่งใหญ่ขึ้น คำถามสำคัญคือ คู่แข่งหรือผู้เล่นที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกันกับคุณใช้หุ่นยนต์มาแข่งกับธุรกิจของคุณอย่างไร เช่น ในวงการการขนส่ง การท่องเที่ยวและแวดวงค้าปลีกแล้ว ข้อมูลและงานด้านการวิเคราะห์ช่วยให้บริษัทในอุตสาหกรรมเหล่านี้ดำเนินกิจการได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น กว่าการทำงานโดยใช้กระบวนการดั้งเดิม การเพิ่มเอาหุ่นยนตร์เข้ามาช่วยในงานดังกล่าวจะเป็นการเพิ่มโอกาสในการสร้างธุรกิจให้เติบโตยิ่งขึ้น

ตัวอย่างเช่น Uber เติบโตอย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องมีกองทัพรถยนต์ของตัวเอง นอกจากนี้ Uber ยังใช้หุ่นยนต์กระตุ้นงานจัดการมนุษย์ ด้วยผู้จัดการแค่คนเดียวแต่บริหารคนขับได้นับพัน

 

  • แผนในการนำเอาหุ่นยนต์มาใช้ในที่ทำงาน

งานเกือบทุกอย่างบนโลกมีศักยภาพในการนำเอาหุ่นยนต์มาแทนที่ได้ และงานบางอย่าง สามารถแทนที่ด้วยหุ่นยนต์ 100 เปอร์เซ็นต์ ดูอย่างร้านของเสื้อผ้าในห้างสรรพสินค้าที่ไม่จำเป็นต้องใช้คนเลยก็ได้ หุ่นยนต์ยังสามารถบริหารจัดการสินค้าคงคลังเองได้ด้วยข้อมูลรูปแบบจากการขายที่เก็บสะสมไว้

อย่างไรก็ตาม ความก้าวหน้าของการนำเอาหุ่นยนต์มาใช้ในที่ทำงานในอนาคตจะเป็นงานด้านเทคนิคมากขึ้น ต้นทุนในการพัฒนาและการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ โดยเชื่อมโยงกับ ประโยชน์ที่ได้ กฎเกณฑ์ต่าง ๆ และการยอมรับทางสังคม เป็นแค่ปัจจัยหนึ่งที่จะบอกว่า จะมีการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคของหุ่นยนต์ช้าเร็วเพียงใด งานวิจัยหลายชิ้นบอกว่า การจะนำเอาหุ่นยนต์เข้ามาใช้ในที่ทำงานแบบเต็มตัวอาจต้องใช้เวลานับศตวรรษ เพราะการที่มนุษย์จะยอมรับในการทำงานร่วมกับหุ่นยนต์นั้นต้องใช้เวลากันพอสมควร

ในอนาคต บริษัทต่าง ๆ จะต้องมองหาแรงงานที่มีความสามารถในการทำงานกับหุ่นยนต์ นับตั้งแต่ตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญในด้านประสาทสัมผัสของหุ่นยนต์ไปจนถึงเทคโนโลยีการจดจำรูปแบบต่าง ๆ หรือกระบวนการทางภาษาแบบธรรมชาติ ไปจนถึง Data Scientists ที่สามารถแปลผลและรวมเอาข้อมูลจำนวนมหาศาลของข้อมูลเข้าด้วยกันได้ หุ่นยนต์ที่สามารถสร้าง ฝึกและซ่อมหุ่นยนต์ปัญญาประดิษฐ์ได้

แน่นอน แรงงานมนุษย์ในอนาคตจะต้องปรับตัว โดยต้องเสริมทักษะใหม่ ๆ ที่หุ่นยนต์ยังทำไม่ได้ให้กับตัวเอง และต้องเรียนรู้ที่จะทำงานร่วมกับหุ่นยนต์ให้ได้ เช่น ในบริษัท BMW ที่แรงงานมนุษย์ยังต้องเข้ามาช่วยงานประกอบประตูรถยนต์ร่วมกับหุ่นยนต์ โดยหุ่นยนต์จะช่วยในการประกอบตัวยึดของประตูรถยนต์ ซึ่งเป็นงานที่ต้องอาศัยความแม่นยำ แรงกำลังและการกดอย่างต่อเนื่อง เป็นต้น

 

  • “ที่ทำงานในอนาคต” จะยังเป็นยังเกิดขึ้นต่อไป

บริษัทหลายแห่งเริ่มนำเอาหุ่นยนต์เข้ามาช่วยเสริมการผลิต และแน่นอน ศักยภาพก็จะไปได้ไกลได้ทั่วโลก งานวิจัยบอกว่า หุ่นยนต์จะช่วยเพิ่มการเติบโตในแง่ของกำลังการผลิตได้ถึงร้อยละ 0.8 และ 1.4 ซึ่งจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้อีกทาง นอกจากนี้ หุ่นยนตร์ยังถูกนำมาใช้กับงานอื่น ๆ อีกเช่น ในเรื่องการเปลี่ยนแปลงด้านสภาพภูมิอากาศ และการเกิดขึ้นใหม่หรือการกระจายของเชื้อโรค ตัวอย่างเช่น

นักวิจัยจาก มหาวิทยาลัยแม็คมาสเตอร์ และ มหาวิทยาลัยแวนเดอร์บิลท์ ในสหรัฐอเมริกา ใช้คอมพิวเตอร์วิเคราะห์การรักษาที่มีประสิทธิภาพที่สุดให้กับผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมและผู้ป่วยอื่น ๆ

ปัจจุบันการนำเอาหุ่นยนต์เข้ามาช่วยงานมนุษย์ได้รับผลตอบรับอย่างดีในเชิงบวก แต่คำถามที่ตามมาก็มีอยู่ว่า แล้วการจ้างงานและรายได้ของแรงงานมนุษย์ล่ะ ใครจะรับผิดชอบ

ในอดีต มีการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้เช่นกัน แต่ไม่ได้มีงานวิจัยใด และไม่ปรากฏว่ามีการเลิกจ้างงานหรือตกงานจำนวนมหาศาล เช่น ในระหว่างปี 1900 และ 1970 เมื่อเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรมแล้ว แรงงานในภาคเกษตรกรรมในสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 40 มาอยู่ที่น้อยกว่าร้อยละ 2 แต่แรงงานที่ตกงานเหล่านี้ ก็ได้ทำงานใหม่ในภาคอุตสาหกรรมใหม่ ๆ แทน รวมถึงภาคการผลิตด้วย ในช่วงเวลานี้ รายได้ของแรงงานในสหรัฐอเมริกาก็สูงขึ้น ตามไปด้วยกำลังการผลิตที่สูงขึ้นเช่นกัน และในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา งานจำนวน 1 ใน 3 ที่เคยมีในช่วง 25 ปีก่อนในสหรัฐอเมริกา ปัจจุบันไม่หลงเหลืออยู่แล้ว

ไม่มีใครรู้แน่ ๆ ว่า ประวัติศาสตร์ด้านแรงงานและการจ้างงานจะกลับมาซ้ำรอยหรือไม่ จะที่แน่ ๆ ผู้บริหารระดับ CEO ทั้งหลายจะต้องเตรียมรับมือกับการจ้างงานและใช้แรงงานโดยมีหุ่นยนต์เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของสถานประกอบการ ผู้บริหารที่ชาญฉลาดจะต้องมีแบบพิมพ์เขียวสำหรับที่ทำงานที่มีหุ่นยนตร์เข้ามาทำงานด้วย และสิ่งแรกที่ต้องเข้าใจคือ ทักษะใดบ้างที่สถานประกอบการในอนาคตจำเป็นต้องมี และส่วนใดของที่ทำงานหรือสถานประกอบการที่ต้องเตรียมโละทิ้งเพราะความล้าสมัย ทั้งนี้ ทักษะสำคัญของผู้บริหารคือการมองทะลุกำแพงของบริษัท และสามารถเข้าร่วมสานเสวนากับผู้บริหารอื่น ๆ เพื่อให้ช่วยสร้างและเห็นภาพสถานที่ทำงานในอนาคตได้

 

แปลและเรียบเรียงจาก mckinsey.com


  • 143
  •  
  •  
  •  
  •  
Lilly
วณิชชา สุมานัส