ในโลกที่มีการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างไม่มีวันหยุด การไม่เตรียมพร้อมสำหรับรับเมืองเทคโนโลยีใหม่ ถือเป็นจุดอ่อนที่ส่งผลกระทบต่อการลงทุนและเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งภาครัฐและเอกชนจึงผสานความร่วมมือในการแก้ปัญหาความไม่พร้อมของประเทศไทยในการใช้เทคโนดลยีใหม่ที่จะมาถึง
จากการสำรวจพบมีการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่อยู่ 99.5% ของจำนวนประชากรทั้งหมด โดยแบ่งเป็นผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ตสูงถึง 77.5% โดยส่วนใหญ่ใช้งานเพื่อความบันเทิง72% ขณะที่ใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อสร้างรายได้มีเพียง 28%
โดยในงานสัมมนา “ผ่าทางตัน 5G คลื่นความถี่นำไทยสู่ 4.0 อย่างยั่งยืน” ได้มีการกล่าวถึงเทคโนโลยี 5G มี่กำลังจะเกิดขึ้นทั่วโลกในเร็วๆ นี้ ว่าประเทศไทยจำเป็นต้องเตรียมความพร้อมอย่างมากสำหรับเทคโนโลยี 5G ซึ่งสามารถรับส่งข้อมูลในปริมาณที่มากมายด้วนความเร็วสูง นั่นจึงทำให้อินเตอร์เน็ตสามารถทำอะไรได้มากกว่าแค่การนำมาใช้เพื่อความบันเทิงเพียงอย่างเดียว คาดการณ์กันว่าประเทศไทยจะสามารถเริ่มใช้เทคโนโลยี 5G อย่างเป็นทางการได้ในช่วงปี 2020
ด้าน นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) หนึ่งในวิทยากรผู้ร่วมเสวนาบนเวทีชี้ว่า 5G คือเทคโนโลยีที่จะเข้ามาแก้ไขปัญหาของ 3G และ 4G คุณสมบัติอย่างหนึ่งของของ 5G จะต้องรองรับการใช้งานกว่า 1,500 ล้านยูสเซอร์ให้ได้
นอกจากนี้ยังมี 3 สิ่งสำคัญที่เทคโนโลยี 5G ต้องทำได้ในระดับมาตรฐานทั่วไป คือ ต้องสามารถรองรับการใช้งานอุปกรณ์ถึง 1 ล้านชิ้นต่อ 1 ตารางกิโลเมตร ช่วยให้สามารถครอบคลุมการใช้งานได้อย่างครบถ้วนทุกอุปกรณ์ ที่สำคัญต้องสามารถรับส่งข้อมูลได้ด้วยความเร็วระดับ 1Ms หรือน้อยกว่า เนื่องจากอุปกรณ์ที่ใช้กับเทคโนโลยี 5G จะไม่ได้มีแค่สมาร์ทโฟนเพียงอย่างเดียว เช่น รถยนต์ไร้คนขับหรือระบบรักษานอกโรงพยาบาล ซึ่งการรับส่งข้อมูลที่ช้าไปเพียงเสี้ยววินาทีอาจเกิดผลกระทบต่อความชีวิตได้
ไม่เพียงเท่านี้เทคโนโลยียังต้องรองรับปริมาณการรับส่งข้อมูลที่มหาศาล เช่นการรับชมคอนเท้นต์วิดีโอที่มีความละเอียดสูง โดยในอนาคตคาดการณ์กันว่า ความละเอียดมาตรฐานของคอนเท้นต์วิดีโอจะอยู่ในระดับ 4K ซึ่งจำเป็นต้องมีการรับส่งที่มีปริมาณมาก
ในส่วนของการเตรียมตัวนั้น ผู้ประกอบการต่างชาติมองว่าประเทศไทยควรจะต้องมีการเตรียมตัวอย่างมาก เนื่องจากความต้องการใช้ข้อมูลของประเทศไทยมีสูง หากไม่มีการเตรียมรับมือก็อาจเกิดวิกฤติข้อมูลขึ้นได้ สอดรับกับ นพ.ประวิทย์ที่มองว่า ทั้ง 3 ส่วนจำเป็นต้องเตรียมความพร้อมร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในการจัดเตรียมคลื่นความถี่เพื่อให้พร้อมสำหรับการประมูล 5G ในอนาคต และมีแนวโน้มว่าจำนวน MHz ที่จะเปิดให้มีการประมูลอาจจะมากกว่า 100MHz ต่อราย
เอกชนผู้ให้บริการอิยเตอร์เน็ตจำเป็นต้องเตรียมแพ็คเกจสำหรับการใช้งานข้อมูลให้เหมาะสมกับความต้องการใช้ของผู้ใช้บริการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเตรียมแพ็คเกจที่ราคาไม่สูงเกินไป เพื่อไม่ให้เกิดภาระค่าใช้จ่ายของผู้บริโภค ขณะที่ภาครัฐเองก็ต้องให้ความสำคัญและเข้าใจเทคโนโลยี 5G รวมถึงการให้ความรู้กับประชาชนถึงประโยชน์ของเทคโนโลยี 5G ในด้านอื่นๆ นอกเหนือจากการชมคอนเท้นต์วิดีโอด้วยความละเอียดสูง
ยิ่งไปกว่านั้นเทคโนโลยี 5G จะไม่ได้จำกัดเพียงการใช้งานระหว่างบุคลต่อบุคคลเท่านั้น แต่อนาคตเทคโนโลยีจะเป็นการเชื่อมต่อข้อมูลระหว่างเครื่องจักรกับเครื่องจักร และจะเข้ามามีบทบาทกับชีวิตประวันของคนมากขึ้น ดังนั้น5 สิ่งที่ต้องเตรียมตัวนับจากนี้คือ เรื่องการเตรียมความพร้อมด้านทรัพยากรโดยฉพาะคลื่นความถี่, การแผนงานในการรองรับกับสิ่งที่เกิดขึ้นหลังเทคโนโลยี 5G ถูกใช้งานอย่างจริงจัง, กฎ กติกาและมารยาทต่างๆ ในการใช้งาน 5G, เทคโนโลยีที่จะเกิดขึ้นในอนาคตรองรับเทคโนโลยี 5G และการเตรียมเรื่องการคุ้มครองผู้บริโภคทั้งในด้านโทรคมนาคมและด้านอื่นๆ
ฝั่ง นายลาร์ส โอเคะ นอร์ลิ่ง ประธานเจ้าหน้าที่ บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (DTAC) เห็นว่าประเทศไทยกำลังเข้าสู่ความท้าทายของ 5G เทคโนโลยีดิจิทัลที่กำลังกำหนดมาตรฐานใหม่ของการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูงอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน โดยจะผสานเทคโนโลยีดิจิทัลและการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตไร้สายความเร็วสูงกับอุปกรณ์สิ่งของทุกสรรพสิ่ง หรือเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตสรรพสิ่ง (IoT) มาสู่นวัตกรรมใช้ให้เกิดประโยชน์กับคุณภาพชีวิตมากที่สุด ดีแทคได้เดินหน้าสนับสนุนประเทศไทยไปสู่สังคมเศรษฐกิจดิจิทัล รวมถึงร่วมผลักดันและร่วมมือกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐที่เป็นผู้ออกกฎหมายและกำหนดนโยบาย ภาคเอกชน และภาคสังคมต่างๆ
สำหรับวิสัยทัศน์ของรัฐบาลในการสร้างเศรษฐกิจดิจิทัลนั้น ได้มุ่งส่งเสริมให้เกิดประโยชน์กับประเทศชาติ ประชาชน เศรษฐกิจ รวมทั้งเพิ่มโอกาสการแข่งขันทางธุรกิจในภูมิภาค โดยดีแทคได้ร่วมมุ่งเน้นที่จะสรรหาแผนงานในอนาคต ซึ่งสามารถปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อจะนำประเทศไทยไปสู่สังคมดิจิทัลอย่างสมบูรณ์แบบภายในปี พ.ศ. 2563
Copyright © MarketingOops.com