ต้องอยู่ติดบ้าน ทำคนไทยใช้เน็ตเปลี่ยนไป ? เช็คพฤติกรรมลูกค้าบรอดแบนด์ เมื่อ COVID-19 ทำให้คนติดจอ – ดีไวซ์ต่อเน็ตเพียบ

  • 1
  •  
  •  
  •  
  •  

Thai public spend more time online

พฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตในช่วง 2 ปีของการแพร่ระบาด COVID-19 ทำให้เราได้เห็นความต้องการใช้งานอินเทอร์เน็ตและพฤติกรรมบนออนไลน์ ที่เพิ่มขึ้นจากเดิมอย่างน่าสนใจ ประเด็นนี้สอดคล้องกับสถิติการใช้งานของลูกค้า AIS Fibre ซึ่งแม้จะไม่ได้เป็นภาพรวมของอุตสาหกรรมบรอดแบนด์ แต่ก็สามารถสะท้อนการใช้งานอินเทอร์เน็ตโดยเฉพาะเน็ตบ้านของคนไทยได้อย่างน่าสนใจ ดังนี้

(หมายเหตุ: สถิติดังกล่าวเป็นการใช้งานผ่าน AIS Fibre ในช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้น)

 

– เดิมลูกค้า AIS Fibre จะมีการใช้งานหนาแน่นช่วง Weekend และเบาบางช่วง Weekday / Daytime แต่ช่วง COVID-19 ทำให้กลายเป็นการใช้งานหนาแน่นทั้ง 7 วัน และมีปริมาณการใช้งานเพิ่มขึ้นกว่า 40% ภายใต้การแพร่ระบาดทั้ง 3 ระลอก

– ไม่ใช่แค่ปริมาณการใช้เน็ตบ้านที่เพิ่มขึ้น แต่จำนวนดีไวซ์ที่ใช้งานแต่ละครัวเรือนก็เพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว

– จำนวนดีไวซ์ที่เชื่อมต่อกับเน็ตบ้านเพิ่มขึ้น เฉลี่ย 10 เครื่องต่อครัวเรือน

จากเดิมเฉลี่ยที่ 5 เครื่องต่อครัวเรือน โดยพบว่ามีดีไวซ์ที่ใช้เน็ตบ้านต่อครัวเรียน คือ 1-4 เครื่อง เฉลี่ย 37%, 5-9 เครื่อง เฉลี่ย 28%, 10-14 เครื่อง เฉลี่ย 14%, 15-19 เครื่อง เฉลี่ย 8%, 20-24 เครื่อง เฉลี่ย 5%

– พื้นที่ที่มีการใช้งานเพิ่มขึ้นมากที่สุด คือ กรุงเทพฯ และปริมณฑล

รองมาคือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางตอนบนและภาคกลางตะวันตก โดยสังเกตว่าพื้นที่เหล่านี้ถูกจัดอยู่ในกลุ่มพื้นที่สีแดงเข้มแทบทั้งสิ้น จึงทำให้มีความต้องการใช้งานเน็ตบ้านมากขึ้น ขณะที่ ภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ ก็มีการเติบโตรองลงมา

– พฤติกรรมการใช้เน็ตบ้านที่โดดเด่นที่สุด ทั้งปริมาณการใช้เน็ตและจำนวนผู้ใช้งาน คือ การใช้แอปพลิเคชันกลุ่ม Conference และ Entertainment

รวมถึง เกมออนไลน์ และ E-commerce ก็เพิ่มขึ้น จากเทรนด์ Live Streaming ที่เกิดขึ้นทั้งฝั่งผู้ขายและผู้ซื้อAIS Fibre

 

– โดยการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานของลูกค้า AIS Fibre พบว่า 10 แอปพลิเคชันที่มีปริมาณการใช้อินเทอร์เน็ตสูงสุด คือ AIS PLAY, YouTube, Netflix, Facebook, TikTok, Instagram, LINE, Twitch, Twitter, iTunes

หากแบ่งตามกลุ่ม Entertainment จะพบว่าแพลตฟอร์มที่ลูกค้า AIS Fibre ใช้งานนานที่สุด คือ Facebook, YouTube, Instagram, TikTok, Netflix, AIS PLAY, iTunes, LINE TV, TikTok Live, Disney+ Hotstar

ส่วน Top 5 ทีวีดิจิทัลที่มีการรับชมผ่านแอป AIS PLAY และกล่อง PLAYBOX สูงสุด คือ ช่อง 3HD, ช่องไทยรัฐทีวี, ช่อง Mono, ช่อง 7HD, ช่อง ONE โดยคอนเทนต์ส่วนใหญ่ที่นิยมรับชม คือ ข่าวสาร ละคร ภาพยนตร์

ส่วนการใช้แอปกลุ่ม Conference พบว่าการใช้งานเพิ่มขึ้น 50% และแอปที่มีจำนวนผู้ใช้เพิ่มขึ้นอย่างมาก คือ Google Meet ตามด้วย Zoom, Microsoft Teams, Web EX, Skype, Slack, Google Classroom, Seesaw, Class Dojo, VIP Kid

เกมออนไลน์ อาจมีจำนวนผู้ใช้งานเพิ่มขึ้นไม่มาก แต่มีปริมาณการใช้เน็ตบ้านมากขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง ทั้งที่ใช้งานบนคอมพิวเตอร์และบนมือถือ

– ขณะที่ พฤติกรรมการซื้อสินค้าผ่านออนไลน์ที่เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน คือ Online Shopping และ Food Delivery

โดย 5 แอปยอดนิยมของลูกค้า AIS Fibre คือ SHOPEE, Lazada, JD Central, Kaidee, ShopAt24

ส่วน Food Delivery คือ Grab, LINE MAN, Robinhood, Food Panda, Gojek

 

ส่วนธุรกิจเน็ตบ้านของ AIS Fibre คุณกิตติ งามเจตนรมย์ หัวหน้าฝ่ายงานบริหารธุรกิจฟิกซ์ บรอดแบนด์ AIS อัพเดทว่า AIS Fibre เริ่มทำตลาดในปี 2015 ให้บริการใน 12 จังหวัด มีลูกค้าราว 40,000 ราย จากจำนวนผู้ใช้บรอดแบนด์รวม 6.23 ล้านรายทั่วประเทศในขณะนั้น ซึ่งคิดเป็นอัตราเข้าถึงอินเทอร์เน็ตเฉลี่ย 29% ของครัวเรือน โดยมีการคาดการณ์ว่าในปี 2021 จำนวนผู้เข้าถึงอินเทอร์เน็ตจะคิดเป็น 57% ของครัวเรือน หรือประมาณ 12.98 ล้านราย

คุณกิตติ งามเจตนรมย์ หัวหน้าฝ่ายงานบริหารธุรกิจฟิกซ์ บรอดแบนด์ AIS
คุณกิตติ งามเจตนรมย์ หัวหน้าฝ่ายงานบริหารธุรกิจฟิกซ์ บรอดแบนด์ AIS

อย่างไรก็ตาม AIS Fibre มีลูกค้าครบ 1 ล้านราย ในปี 2019 และขยายบริการครบ 77 จังหวัด ในปี 2020 โดยภาพรวมจำนวนผู้ใช้ AIS Fibre เติบโตเฉลี่ย 4% ต่อปี และเพิ่มขึ้นเป็น 5% ในปี 2020 ขณะที่ ภาพรวมตลาดบรอดแบนด์เติบโตราว 10-15% ต่อปี เติบโตจากพฤติกรรม Work From Home และ Learn From Home

ด้านรายได้ ในช่วงไตรมาส 2 / 2021 AIS Fibre สามารถทำรายได้ 2,038 ล้านบาท เติบโต 6.2% เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา ขณะที่ ตลาดรวมเติบโตอยู่ที่ 2.6% แต่หากคิดเป็นรายได้ช่วงครึ่งปีจะพบว่า AIS Fibre ทำรายได้รวมอยู่ที่ 3,957 ล้านบาท เติบโต 21.1% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2020 ส่วนมูลค่ารวมตลาดบรอดแบนด์อยู่ที่ 32,686 ล้านบาท เติบโตราว 8.7%

และหากเทียบเป็นส่วนแบ่งการตลาด ปัจจุบัน AIS Fibre มีสัดส่วน 13.5% เป็นอันดับ 4 ของตลาด เติบโตจากปีที่ผ่านมา 1.5% โดยเชื่อว่า AIS Fibre อาจขยับเป็นอันดับ 3 ในตลาดได้ภายในปี 2022

นอกจากเป้าหมายเป็น Innovation Brand ล่าสุด AIS Fibre จะสร้างมาตรฐานใหม่ให้งานบริการอุตสาหกรรมบรอดแบนด์ไทยด้วยกลยุทธ์ Service Innovation เพื่อสร้างความยั่งยืนมากกว่าการแข่งขันด้านราคา แต่จะเป็นการมอบบริการคุณภาพทุกขั้นตอนภายใน 24 ชั่วโมง ทั้งการติดตั้ง การติดต่อ การแก้ไขปัญหา รวมถึง มีแพ็กเกจและความร่วมมือกับพันธมิตรต่าง ๆ ที่ตรงกับความต้องการของลูกค้า และมีบริการที่คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ใช้ ตามคอนเซปต์…เร็วกว่า ดีกว่า ง่ายกว่า


  • 1
  •  
  •  
  •  
  •  
Ms.นกยูง
เมื่อโลกไม่เคยหยุดหมุน เราก็ไม่ควรหยุดเรียนรู้... ชวนคุณมาทำความรู้จักหลากหลายเรื่องราว ทั้งสาระและสีสันบนโลกดิจิทัลไปพร้อมกัน