ในยุคที่ภัยจากโรคร้ายพัฒนาไปตามเทคโนโลยี โรคภัยต่างๆ จึงไม่สามารถตรวจพบได้ง่ายๆ จนกว่าจะมีอาการ ซึ่งบางครั้งอาการที่พบก็อาจอยู่ในขั้นที่เรียกว่ารักษาได้ยาก และคงจะดีกว่านี้หากมีการค้นพบโรคก่อนที่จะแสดงอาการให้เห็น แต่ในความเป้นจริงยังไม่มีวิทยาการนั้นเกิดขึ้น
แต่ด้วยการศึกษาโดยทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดร่วมกับ University of California, Berkeley ในการพัฒนาเซ็นเซอร์ที่สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลของเหงื่อ เพื่อทำการวัดองค์ประกอบของโมเลกุลเพื่อนำข้อมูลไปวิเคราะห์และวินิจฉัยโรคผ่านทางสมาร์ทโฟน ด้วยเทคโนโลยีเซ็นเซอร์บนอุปกรณ์ใหม่นี้จึงไม่จำเป็นต้องให้ผู้ป่วยนั่งนิ่งๆ เป็นเวลานานเพื่อเก็บรวบรวมเหงื่อเหมือนในปัจจุบัน
Carlos Milla รองศาสตราจารย์กุมารเวชศาสตร์จากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด กล่าวว่า เซ็นเซอร์ดังกล่าวจะติดเข้าไปในอุปกรณ์สวมใส่ โดยแบ่งระบบออกเป็น 2 ส่วนประกอบไปด้วยตัวเซ็นเซอร์และไมโครโพรเซสเซอร์ที่มีความยืดหยุ่นสูง ซึ่งตัวเซ็นเซอร์จะสัมผัสกับผิวผู้ใช้งานช่วยกระตุ้นต่อมเหงื่อและตรวจจับโมเลกุลและไอออน โดยระดับไอออนคลอไรด์ที่สูงจะเป็นตัวบ่งชี้ถึงโรคทางพนธุกรรม ขณะที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงสามารถบ่งบอกถึงโรคเบาหวานได้
ปกติวิธีการตรวจสอบเหงื่อผู้ป่วยจะต้องนั่งเป็นเวลา 30 นาที เพื่อให้ขั้วไฟฟ้ากระตุ้นต่อมเหงื่อในผิวหนังสำหรับการทดสอบ เมื่อเปรียบเทียบกับเทคโนดลยีดังกล่าวแล้ว ตัวเซ็นเซอร์ตรวจสอบเหงื่อจะเป็นตัวกระตุ้นให้ผิวสร้างปริมาณเม็ดเหงื่อเพื่อใช้ประเมิน โดยข้อมูลที่ได้จะถูกส่งไปยังเซิร์ฟเวอร์เพื่อวิเคราะห์หาผลลัพธ์ผ่านสมาร์ทโฟน ซึ่งใช้เวลาในการตลรวจสอบแบบ Real Time เทคโนโลยีดังกล่าวยังสามารถวัดระดับกลูโคสในเหงื่อเพื่อตรวจสอบโรคเบาหวาน
ปัจจุบันเทคโนโลยีนี้ยังอยู่ในขั้นตอนของการพัฒนาเพื่อให้สามารถใช้งานควบคู่กับอุปกรณ์สวมใส่ในปัจจุบัน อย่าง Smartwatch เป็นต้น ซึ่งจะช่วยให้อุปกรณ์สวมใส่นอกจากจะสามารถช่วยตรวจสอบข้อมูลในการออกกำลังกายและการเต้นของหัวใจแล้ว ยังสามารถตรวจวินิจฉัยโรคคร่าวๆ สำหรับผู้ที่รักสุขภาพ
Source: Xinhua