ถ้าสิ่งที่องค์กรต้องระวังในช่วงนี้คือปัญหาเรื่อง ‘การลาออกครั้งใหญ่’ (Great Resignation) หรือปัญหาของสภาวะไม่มีใจทุ่มเททำงานของพนักงาน (Quiet Quitting) ทำให้เกิดการวิเคราะห์ว่าสาเหตุของเทรนด์ทั้ง 2 นี้เกิดจากอะไร เป็นไปได้หรือไม่ว่า หากไม่อยากให้เกิดปัญหาทั้งสองที่ว่ามานี้ คนเป็นผู้นำหรือหัวหน้างานก็ควรจะต้องเริ่มที่จะต้องฟังเสียงของลูกน้องหรือสต๊าฟในทีมแล้วว่าพวกเขาไม่พอใจเรื่องอะไร หรือเราพลาดเรื่องอะไร เพื่อไม่ทำให้เกิดความไม่พอใจเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และเราจะยกระดับความรู้สึกการมีส่วนร่วมได้อย่างไร
ค่อนข้างชัดเจนว่า เทรนด์การทำงานรูปแบบใหม่ ความคิดของคนรุ่นใหม่ ทำให้รูปแบบการดูแลพนักงานเดิมไม่ตอบโจทย์แล้ว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการให้เงินเดือน สวัสดิการ สิทธิประโยชน์รูปแบบเก่าๆ ไม่เพียงพอที่จะสร้างแรงกระตุ้นให้กับพนักงานในปัจจุบันได้อีกต่อไป
แล้วคำตอบคืออะไร? หลายฝ่ายเห็นตรงกันว่า สิ่งแรกที่ควรเริ่มเลยก็คือ การเปิดใจรับฟังพนักงาน โดยไม่เอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง อย่างไม่เห็นแก่ตัว เพื่อให้เห็นว่าการมีส่วนร่วม ความทุ่มเท และความมุ่งมั่นในการทำงาน จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อ เพื่อนร่วมงานและผู้นำสร้างความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งและจริงใจ
‘Generous listening’ การฟังอย่างใจที่เปิดกว้าง คืออะไร?
‘Generous listening’ ซึ่งว่ากันว่าเป็นทักษะที่จำเป็นอย่างยิ่ง ที่คนเป็นหัวหน้างานหรือคนเป็นเจ้านายจำเป็นอย่ายิ่งนั้น คือเป็นทักษะที่ดีในการฟังตัวเอง ฟังซึ่งกันและกัน และฟังอย่างเอื้ออาทรด้วย ที่สำคัญคือ ฟังอย่างเอื้ออาทรคือการที่เราทำความเข้าใจกันในแบบปัจเจกบุคคล เชื่อมโยงกับความปรารถนาดีต่อกันในฐานะมนุษย์ สำคัญคือ วัตถุประสงค์ในการฟังอย่างเปิดใจรับนั้น คือการที่ต้องทำความเข้าใจด้วยความเข้าอกเข้าใจนำไปสู่การทำงานร่วมกันที่ดีขึ้น
Generous listening in the workplace การฟังอย่างใจที่เปิดกว้าง เกิดขึ้นในที่ทำงานได้อย่างไร
การฟังอย่างใจที่เปิดกว้าง ในที่ทํางานไม่ใช่เรื่องง่าย ที่ผ่านมามาส่วนใหญ่จะคุ้นเคยกันในรูปแบบคำสั่งหรือนโยบายจากบนลงล่าง เป็นการสื่อสารที่มั่นคงสั่งตรงลงมาจากผู้นำ ผ่านการพูดหรือการแสดงออกที่ชัดเจนมากกว่ารูปแบบที่ยกระดับการฟังใหม่ มากไปกว่านั้นเรายังพบว่าได้เดินทางมาถึงจุดเปลี่ยนที่สำคัญแล้ว โดยเฉพาะในช่วงโควิด-19 ที่ผ่านมา ผู้นำมีโอกาสสำคัญในการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมและสร้างสิ่งที่ดีร่วมกันให้กับองค์กร ผู้นำมีการยกระดับการฟังที่เปิดกว้างมากขึ้นและสร้างระบบที่ส่งเสริมความหลากหลายทางความคิด ซึ่งทำให้พนักงานรู้สึกว่าตัวเองมคุณคา และเติมเต็มศักยภาพของตัวเองได้ดี
มีงานวิจัยที่กล่าวถึง การตอบสนองของผู้ที่รับฟัง และการประสางานของการฟังบทสนทนา พบว่านอกจากการฟังจะช่วยส่งเสริมความเข้าใจและปรับปรุงความจำให้กับผู้พูดได้แล้ว ในสถานที่ทำงานมันยังช่วงส่งเสริมประสิทธิภาพการทำงานและความรู้ในเนื้องานของพนักงานให้ดีขึ้นด้วย มากไปกว่านั้นยังปรับปรุงความเป็นอยู่ที่ดีและความปลอดภัยทางจิตใจโดยการลดความเหนื่อยหน่ายองความอ่อนเพลียทางอารมณ์และความเครียดลงได้ ทำให้พนักงานรู้สึกปลอดภัยและมีคุณค่าสร้างความสัมพันธ์ที่แท้จริงและปลูกฝังความไว้เนื้อเชื่อใจในองค์กรอีกด้วย
ทราบข้อดีกันไปมากแล้ว ถ้าเช่นนั้นเราจะมีวิธีการอย่างไรบ้างที่จะทำให้เราสามารถฟังในแบบ Generous listening ได้
วิธีในการฟังแบบ Generous listening
อยู่กับปัจจุบัน
ในการที่จะรับฟังคนอื่นได้นั้น อย่างแรกก่อนเลย คุณต้องเคลียร์ใจของตัวเองก่อน ให้ระวังความรู้สึกและความผิดหวังของกันและกันวางเอาไว้ก่อน จากนั้นมุ่งไปที่สิ่งที่คนๆ นั้นพูดทั้งหมด อย่าพยายามกำหนดคำตอบของคุณในขณะที่ผู้พูดกำลังพูด เพราะการทำหลายอย่างทั้งคิดคำตอบและการฟังไปพร้อมกัน จะทำให้เกิดความสับสนและจะทำให้หลงทาง ขจัดสิ่งรบกวนต่างๆ ออกไปจากตัว เช่น วางมือจากคีย์บอร์ด หรือวางโทรศัพท์ลงก่อน พร้อมหันตัวเองหรือเก้าอี้เข้าหาผู้พูด
วางอคติลง
การฟังอย่างใจที่เปิดกว้าง เป็นการปฏิบัติตนในความเข้าอกเข้าใจและเห็นอกเห็นใจผู้อื่น เมื่อคุณฟังอย่างไม่เห็นแก่ตัว คุณจะมีความแข็งขันในการมองโลกผ่านมุมมองของผู้อื่น พร้อมกับเข้าใจความคิดและความรู้สึกของพวกเขา ที่สำคัญ สิ่งนี้จะไม่เกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์เลยหากว่าคุณนำอคติส่วนตัวมาด้วย หรือบางฝ่ายมีกำแพงที่ปิดกั้นมุมมองของกันและกันอยู่ ดังนั้น การฟังในรูปแบบนี้ควรที่จะเริ่มต้นบทสนทนาบนจิตใจที่ขาวสะอาด เสนอความกล้าหาญในการแสดงความเห็นอกเห็นใจต่อกันและกัน ซึ่งบางทีอาจจะทำให้คุณประหลาดใจก็ได้ว่า บางครั้งก็อาจจะเคยมีประสบการณ์ร่วมกันมาก่อน หรือเราอาจจะมีตัวตนบางอย่างที่คล้ายคลึงกันก็ได้
ฟังเพื่อเรียนรู้
เราทุกคนมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เรานําประสบการณ์ที่แตกต่างกันของแต่ละคนมาสู่ที่ทํางาน โดยแต่ละคนมีภูมิหลังการศึกษาและความรู้ที่แตกต่างกัน คุณไม่สามารถรู้ได้ว่าคุณอาจเรียนรู้อะไรจากการฟังใครสักคนได้เลย ดังนั้น ความสงสัยใครรู้หรือการเรียนรู้จากคนอื่นเป็นเรื่องที่ดี ดังนั้น ควรเปิดโอกาสฟังและเรียนรู้จากผู้อื่นด้วย นี่คือความรู้แบบได้เปล่าที่ไม่ต้องสแวงหาจากที่ไหนเลย นอกจากนี้ ยังช่วยให้คุณสร้างความสัมพันธ์ที่แท้จริงและลึกซึ้งยิ่งขึ้นกับคนในองค์กรด้วย
อย่าขัดจังหวะ
ผู้นำที่ดีควรต้องเคารพเพื่อนร่วมงานและทีม และมีความอยากรู้อย่างแท้จริงเกี่ยวกับสิ่งที่คนในทีมต้องการที่จะแบ่งปัน และไม่ควรไปขัดขวางการสนทนาหรือขัดสมาธิของคนร่วมทีม ที่สำคัญ ผู้นำที่ดีต้องเอาใจใส่และใส่ใจในการปรับตัวให้เข้ากับจังหวะและอารมณ์พื้นฐานของผู้คนในทีม การฟังอย่างใจกว้าง ฟังอย่างไม่เห็นแก่ตัว คือการเปิดสัญญาณที่ละเอียดอ่อนของคนในทีม ซึ่งหากคุณทำได้ก็จะกลายเป็นผู้นำที่ดี มากไปกว่านั้นคือคุณจะสามารถสร้างทีมที่แข็งแกร่งได้ด้วย.
สุดท้ายแล้ว การฟังอย่างใจที่เปิดกว้าง จะสร้างให้เกิดความเปลี่ยนแปลงได้นั้น สิ่งสำคัญที่สุดเลยคือไม่ได้แค่รับฟังเพียงอย่างเดียว แต่ก็ควรฟังแล้วนำมาปรับปรุงแก้ไข ตามสิ่งที่ได้รับฟังมาด้วย นั่นจะทำให้คุณกลายเป็น Boss ที่น่ารักของลูกน้อง แต่เหนือสิ่งอื่นใดเลยคือจะทำให้องค์กรของคุณเติบโตอย่างยั่งยืน
Source
https://www.weforum.org/agenda/2023/01/generous-listening-work-skills-leadership-davos23/