แน่นอนว่าพวกเราอยู่ในยุคดิจิทัลเต็มตัว การดำเนินชีวิตในแต่ละวันต้องพึ่งพาดิจิทัลอย่างมาก นอกเหนือประเด็นการเติบโตของธุรกิจออนไลน์ สิ่งที่จำเป็นต้องรู้ก็คือ เศรษฐกิจดิจิทัล หรือ Digital Economy นั่นเอง ซึ่งล่าสุด Google ได้ร่วมกับ Temasek และ Bain & Company จัดทำรายงานเศรษฐกิจดิจิทัลเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ฉบับที่ 6 (e-Conomy SEA Report – Roaring 20’s: The SEA Digital Decade) ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลจาก 6 ประเทศ คือ ไทย เวียดนาม ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย โดยสรุปเป็นข้อมูลที่น่าสนใจ ได้ดังนี้…
– ความเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภคในช่วง COVID-19 คือ การใช้ดิจิทัลเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและมีจำนวนมากขึ้น โดยปีนี้ ในภูมิภาค SEA มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้น 40 ล้านคน
– ผู้บริโภคเข้าสู่วิถีใหม่ที่เรียกว่า Digital Consumer คือ มีการจับจ่ายเกี่ยวกับบริการออนไลน์อย่างจริงจัง ไม่ใช่แค่ใช้ออนไลน์เพื่อความบันเทิงหรือสื่อสารเพียงอย่างเดียว
– ปัจจุบัน ภูมิภาค SEA มีผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต 440 ล้านคน และมี 350 ล้านคนในจำนวนนี้ (80%) เป็น Digital Consumer ซึ่งเคยใช้บริการออนไลน์อย่างน้อย 1 รายการ
– ก่อนการแพร่ระบาดของ COVID-19 ในภูมิภาค SEA มีผู้บริโภคกลุ่ม Digital Consumer ประมาณ 290 ล้านคน แต่ในปี 2563 มีจำนวน Digital Consumer เพิ่มขึ้น 40 ล้านคน และในช่วงครึ่งแรกของปี 2564 ก็เพิ่มขึ้นอีก 20 ล้านคน ส่วนประเทศไทยมี Digital Consumer รายใหม่เกิดขึ้นถึง 9 ล้านคน
– โดย 9 ใน 10 ของ Digital Consumer ชาวไทย เคยซื้อสินค้าออนไลน์แล้วอย่างน้อย 1 ครั้ง ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนราว 90% สูงกว่าค่าเฉลี่ยของภูมิภาค SEA ซึ่งอยู่ที่ 80%
– พฤติกรรมแบบ Digital Consumer ของคนไทย เพิ่มขึ้น 18% ในช่วง COVID-19 (แบ่งเป็น 11% ในปี 2563 และ 7% ในช่วงครึ่งแรกของปี 2564) แม้จะเป็นตัวเลขระดับสูง แต่ไทยยังเป็นรองจากฟิลิปปินส์ซึ่งเพิ่มขึ้น 20%
– ในอดีต บริการออนไลน์จะมีการใช้งานหลักอยู่ในกลุ่มหัวเมือง แต่ในยุค COVID-19 พบว่า Digital Consumer รายใหม่มา ‘นอกเมือง’ มากถึง 60% ตั้งแต่ปี 2563 และเพิ่มเป็น 67% ในช่วงครึ่งแรกของปี 2564
– มีการใช้งานบริการออนไลน์กลุ่มต่าง ๆ มากขึ้น โดยเฉพาะอีคอมเมิร์ซ 4 กลุ่ม เช่น Apparel (เครื่องแต่งกาย), Beauty (ความงาม), Electronics (อิเล็กทรอนิกส์) และ Groceries (สินค้าอุปโภคบริโภค) รวมถึงกลุ่ม Food delivery (บริการส่งอาหาร) ที่เติบโตสูงสุดเพราะมีมาตรการล็อกดาวน์, Ride-hailing (บริการเรียกรถ), VDO (วิดีโอ), Music (ดนตรี)
– คนไทยใช้บริการออนไลน์มากขึ้น โดยปี 2563 ใช้งานเฉลี่ย 2.1 บริการ แต่ในปี 2564 เพิ่มขึ้นเป็น 4 บริการ
– 9 ใน 10 ผู้บริโภคชาวไทยที่เคยใช้บริการออนไลน์ในกลุ่มต่าง ๆ เมื่อปี 2563 ยืนยันว่าจะยังคงใช้บริการต่อไปในปี 2021 เพราะสะดวกและเป็นบริการที่มีประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต โดยกลุ่มที่มีสัดส่วนถึง 99% คือ Beauty และ Food delivery ตามด้วย Music (97%), Groceries (96%), Apparel (95%), VDO (94%), Electronics (93%) และ Ride-hailing (92%)
นอกจากนี้ ยังเป็นครั้งแรกที่รายงาน e-Conomy SEA Report ได้ทำการเก็บข้อมูลจาก ผู้ค้าดิจิทัล (Digital merchants) โดยเน้นผู้ประกอบธุรกิจแบบ B2C ที่มีพนักงานน้อยกว่า 100 คน และใช้ออนไลน์เป็นช่องทางขายอยู่แล้ว ซึ่งได้ข้อมูลที่น่าสนใจ ว่า…
– 1 ใน 3 ของผู้ค้าดิจิทัลในประเทศไทย เชื่อว่าธุรกิจของพวกเขาจะไม่สามารถผ่านช่วง COVID-19 ไปได้ หากไม่ได้ใช้แพลตฟอร์มดิจิทัล (ทั้งช่องทางสื่อสารและช่องทางขาย)
– ผู้ค้าดิจิทัลชาวไทยมีอัตราการใช้บริการ Digital financial สูง ทั้ง Digital payments (92%), Digital remittance (76%), Digital insurance (75%), Digital lending (73%) ซึ่งไทยมีการใช้งานสูงกว่าค่าเฉลี่ยของภูมิภาค SEA อย่างน่าสนใจ
– โดยเฉพาะ Digital lending ถือเป็นเทรนด์ที่ผู้ค้าดิจิทัลชาวไทยใช้งาน (73%) สูงกว่าค่าเฉลี่ยภูมิภาค SEA (58%) อย่างน่าสนใจ
– โดย 82% ของผู้ค้าดิจิทัลชาวไทยเชื่อว่ายอดขายมากกว่าครึ่งหนึ่งจะมาจากทางออนไลน์ ภายในอีก 5 ปีข้างหน้า
มูลค่าเศรษฐกิจดิจิทัล
– เศรษฐกิจดิจิทัลของ SEA ในปี 2564 จะมีมูลค่า 174,000 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นการเติบโต 49% และมีมูลค่า 363,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เติบโต 20% ในปี 2568
– ส่วนประเทศไทย มีมูลค่า 30,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เติบโต 51% และเป็น 56,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เติบโต 17% ในปี 2568
– หากแบ่งกลุ่มจะพบว่า มูลค่าอีคอมเมิร์ซไทยในปี 2564 อาจมีมูลค่า 21,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เติบโต 68% และมีมูลค่า 35,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เติบโต 14% ในปี 2568
ส่วนการท่องเที่ยวออนไลน์ในปี 2564 อาจมีมูลค่า 2,800 ล้านเหรียญสหรัฐ เติบโต 8% และมีมูลค่า 8,500 ล้านเหรียญสหรัฐ เติบโต 32% ในปี 2568
การขนส่งและอาหารในปี 2564 อาจมีมูลค่า 2,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เติบโต 37% และมีมูลค่า 5,200 ล้านเหรียญสหรัฐ เติบโต 26% ในปี 2568
สื่อออนไลน์ (VDO – Gaming – Music) ในปี 2564 อาจมีมูลค่า 4,500 ล้านเหรียญสหรัฐ เติบโต 29% และมีมูลค่า 7,900 ล้านเหรียญสหรัฐ เติบโต 16% ในปี 2568
– ขณะที่ บริการทางการเงินดิจิทัลของภูมิภาค SEA นั้น มีการเติบโตในทุกส่วน โดย Digital payments มีมูลค่าสูงสุดในปี 2564 ที่ 707,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เติบโต 9% และมีมูลค่าถึง 1,169,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เติบโต 13% ในปี 2568
การระดมทุน
– ปี 2563 ในภูมิภาค SEA มียูนิคอร์นทั้งสิ้น 12 ตัว แต่ในช่วงครึ่งแรกของปี 2564 เพิ่มเป็น 23 ตัว โดยในช่วง 1 ปีครึ่งที่ผ่านมา ประเทศไทยก็มียูนิคอร์นทั้งสิ้น 3 ตัว (Flash, Ascend Money, Bitkub)
– เทรนด์ที่เกิดขึ้นกับยูนิคอร์น คือ ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงกลุ่มอีคอมเมิร์ซ มาร์เก็ตเพลส หรือฟินเทค แต่ยังขยายไปยังกลุ่มโลจิสติกส์ และอื่น ๆ ทำให้มีความน่าสนใจยิ่งขึ้น
– นักลงทุนต่างมองภูมิภาค SEA เป็นเป้าหมายการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนงดงามในระยะยาว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคธุรกิจอีคอมเมิร์ซและบริการด้านการเงินดิจิทัลที่ยังคงดึงดูดเม็ดเงินลงทุนส่วนใหญ่ การลงทุนในเศรษฐกิจดิจิทัลไทยในปี 2564 คาดว่าจะอยู่ในระดับสูงเป็นประวัติการณ์เช่นเดียวกับปี 2563
ภาพรวม Digital Decade ของ SEA
– ภูมิภาค SEA กำลังเข้าสู่ทศวรรษแห่งดิจิทัล (Digital Decade) โดยคาดว่าเศรษฐกิจิทัลของภูมิภาค SEA อาจมีมูลค่าสินค้ารวม (GMV) ถึง 1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2573 และไทยเองก็อาจเติบโตถึง 5.5 เท่า จากปี 2564
– ปัจจัยสนับสนุนให้ภูมิภาค SEA เข้าสู่ทศวรรษแห่งดิจิทัล กับมูลค่า GMV ถึง 1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ นอกจากการใช้อีคอมเมิร์ซ บริการขนส่งและอาหาร หรือซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคผ่านออนไลน์แล้ว ก็ยังมาจากเทรนด์ของ Healthtech และ Digital Payments ซึ่งทุกส่วนจะมีการใช้งานมากขึ้น มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาพัฒนาบริการให้สามารถตอบโจทย์ได้ดีขึ้น เป็นต้น