น่าห่วง! เด็กไทยติดสมาร์ทโฟน เสี่ยงภัยออนไลน์สูงกว่าค่าเฉลี่ยโลก เกือบครึ่งถูกคุกคามจาก Cyber bullying

  • 88
  •  
  •  
  •  
  •  

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า) ออกมาเปิดเผยถึงพฤติกรรมบนโลกออนไลน์ของเด็กไทยพบว่า ปัจจุบันเด็กไทยใช้อินเทอร์เน็ตถึง 35 ชม. สูงกว่าค่าเฉลี่ยโลก 3 ชม. ส่วนใหญ่ใช้อินเทอร์เน็ตผ่านสมาร์ทโฟน (73%) รองลงมาคือคอมพิวเตอร์ของโรงเรียน (48%) โดยใช้สำหรับโซเชียลมีเดีย (98%) สูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกถึง (12%) ปรากฏการณ์ดังกล่าวเป็นผลมาจากการเติบโตที่รวดเร็วของเทคโนโลยีและขาดความรู้ความเข้าใจในการใช้อย่างเหมาะสม ผลที่ตามมาอาจกลายดาบสองคมคุกคามตัวเด็กโดยไม่รู้ตัว

28954208_161595813848

ภัยจากโลกออนไลน์ที่ส่งผลกระทบต่อตัวเด็กมากที่สุด 4 ประเภทคือ

  1. Cyber bullying (49%)
  2. การเข้าถึงสื่อลามกและพูดคุยเรื่องเพศกับคนแปลกหน้าในโลกออนไลน์ (19%)
  3. ติดเกม (12%)
  4. ถูกล่อลวงออกไปพบคนแปลกหน้า (7%)

Cyber bullying คือ การกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ เช่น การใช้คำหยาบคาย การคุกคามทางเพศ การตัดต่อภาพล้อเล่น การแอบอ้างสร้างข้อมูลเท็จ โดยการสร้างความเกลียดชังดังกล่าว เปรียบเสมือนภัยสังคมชนิดหนึ่งไม่แตกต่างจากการถูกรังแกในชีวิตจริง หากเด็กถูกกระทำบ่อยๆ อาจส่งผลต่อสภาพจิตใจอย่างรุนแรง ไม่ว่าจะเป็นอาการเก็บตัว วิตกกังวล โรคซึมเศร้า หรือถึงขึ้นตายตัวตาย เป็นต้น

สำหรับกิจกรรมที่เด็กไทยชอบทำเมื่อเข้าใช้อินเทอร์เน็ต 5 อันดับดังนี้

  1. การดูวีดิโอออนไลน์ (73%)
  2. การค้นหาข้อมูล (58%)
  3. การฟังเพลง (56%)
  4. การเล่นเกม (52%)
  5. การรับส่งอีเมล์หรือแชทข้อความผ่านแอปพลิเคชั่นบนมือถือ (42%)

ทั้งนี้ โซเชียลมีเดียที่เด็กไทยนิยมใช้มากที่สุด ได้แก่ YouTube (77%), Facebook (76 %), Line (61%), Instagram (24%), Twitter (12%) และ Snapchat (4%)

ผลสำหรวจดังกล่าวใช้ชื่อว่า “The 2018 DQ Impact Study” ถูกจัดทำขึ้นในระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนธันวาคม ปี 2560 โดยใช้กลุ่มตัวอย่างของเด็กและเยาวชนไทยที่มีอายุ ระหว่าง 8 ถึง 12 ปี จำนวน 1,300 คน ทั่วประเทศผ่านแบบสำรวจออนไลน์ DQ Screen Time Test ที่ใช้วิเคราะห์พฤติกรรมของเด็กทั่วโลก พบโอกาสเสี่ยงภัยจากออนไลน์ถึง (60%) ขณะที่ค่าเฉลี่ยทั่วโลกอยู่ที่ (56%)

อย่างไรก็ตาม การใช้อินเทอร์เน็ตในวัยเด็กเป็นเรื่องที่ผู้ปกครองควรให้ความสำคัญอย่างใกล้ชิด อาธิ สังเกตพฤติกรรมหลังเล่นโซเชียลว่าเปลี่ยนไปจากเดิมมากน้อยแค่ไหน พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้เด็กได้พูดคุยในสิ่งที่ต้องเผชิญ

ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก DEPA Thailand


  • 88
  •  
  •  
  •  
  •